About the Journal

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

            วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์วารสารวิชาการระดับชาติ จัดพิมพ์เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจ ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ตลอดจนเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาการ ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม) แต่ละฉบับจะตีพิมพ์บทความ 10 - 20 บทความ โดยบทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะผ่านการกลั่นกรองคุณภาพจากกองบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 คน โดยไม่เปิดเผยชื่อทั้งสองทาง (Double - blind Peer review) ผลการพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นที่สุด ทั้งนี้เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นของผู้เขียนแต่ละคน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องคิดเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์           

 

เกี่ยวกับผลงานที่จะรับ

  1. 1. เป็นบทความในกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภาษาและวรรณกรรม กฎหมาย ศิลปะการแสดง ดนตรี นาฏศิลป์ ทัศนศิลป์ จิตรกรรม มานุษยวิทยา สังคมวิทยา คติชนวิทยา โบราณคดี รัฐศาสตร์ จิตวิทยา อาชญาวิทยา ปรัชญา ศาสนา และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. 2. บทความที่จะส่งเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ (ถ้าได้รับการตอบรับที่จะให้ลง) หรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสาร รายงาน การประชุมทางวิชาการ หรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน
  3. 3. รับพิจารณาบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยบทความภาษาไทยต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนบทความภาษาอังกฤษต้องมีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใส่บทคัดย่อภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ
  4. 4. หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์
  5. 5. ต้นฉบับต้องได้รับการกลั่นกรองจากกองบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน โดยผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double - blind Peer review)
  6. 6. กองบรรณาธิการจะไม่คืนต้นฉบับให้เจ้าของบทความ

ประเภทของผลงานที่รับพิจารณา

  1. 1. บทความวิชาการ (Article)
  2. 2. บทความวิจัย (Research Article)
  3. 3. บทความปริทัศน์ (Review Article)
  4. 4. วิจารณ์หนังสือ (Book Review)
  5. 5. จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to the Editor) เพื่อแสดงความคิดเห็นสนับสนุนหรือโต้แย้งความเห็นของนักวิจัยอื่น ๆ ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจ

 

การจัดเตรียมต้นฉบับ

  1. 1. บทความทุกเรื่องต้องมีชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนไม่เกิน 3 คน หากเกินให้ใช้คำว่า และคณะ
  2. 2. บทความทุกเรื่องต้องมีบทคัดย่อและคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อมีความยาวไม่เกิน 250 คำ คำสำคัญ (Keywords) ของเรื่อง ไม่เกิน 5 คำ
  3. 3. ต้นฉบับที่จัดส่ง ต้องพิมพ์บนกระดาษขนาด A4 เว้นระยะขอบ 1.5 x 1.5 นิ้วใส่เลขกำกับมุมบนขวาทุกหน้า ยกเว้นหน้าแรก ใช้แบบอักษร TH Sarabun PSK ขนาดตัวอักษร 16 Point
  4. 4. ชื่อเรื่องและชื่อผู้เขียนจัดกึ่งกลางหน้ากระดาษใช้ตัวอักษรตัวหนา โดยบรรทัดแรกเป็นชื่อเรื่องขนาดตัวอักษร 20 Point บรรทัดต่อมาเป็นชื่อผู้เขียนขนาดตัวอักษร 18 Point หากมีผู้เขียนหลายคน ใส่เครื่องหมายจุลภาค (Comma) และเชิงอรรถระบุ ตำแหน่งทางวิชา สังกัดผู้เขียน และ E-mail ขนาดตัวอักษร 12 Point
  5. 5. เอกสารอ้างอิง บรรณานุกรมเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย ใช้การอ้างอิงตามแนวเอพีเอ (APA - American Psychological Association: APA 6th Edition) เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือหรือแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตก็ได้ ทั้งนี้ผู้เขียนเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมดในการตีพิมพ์บทความ บทความที่มีการอ้างอิงไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับการส่งต่อเพื่อพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจนกว่าการอ้างอิงเอกสาร
    จะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง
  6. 6. หากมีภาพ กราฟ หรือตาราง ที่ใส่ประกอบไว้ในเนื้อเรื่อง ต้องมีชื่อ คำอธิบาย ที่มา และเลขกำกับ ตัวอักษรที่ใช้ TH Sarabun PSK ขนาดตัวอักษร 12 Point ชื่อภาพใส่ไว้ใต้ภาพ ชิดขอบซ้ายของภาพ และชื่อตารางใส่ด้านบน ชิดขอบซ้าย
  7. 7. ความยาวของบทความ ภาพ ตาราง และเอกสารอ้างอิง ไม่ควรเกิน 15 หน้า กระดาษ A4
  8. 8. บทความทุกเรื่องต้องส่งในรูปแบบ Word และ PDF ผ่านระบบ Thaijo (https://www.tcithaijo.org/index.php/jhsc/login)

 

รูปแบบของบทความ

          บทความวิชาการ/ บทความปริทัศน์/บทวิจารณ์หนังสือ

  1. 1. ชื่อเรื่อง (Title)
  2. 2. บทคัดย่อ (Abstract)
  3. 3. คำสำคัญ (Keywords)
  4. 4. บทนำ (Introduction)
  5. 5. เนื้อหา (Substance)
  6. 6. บทสรุป (Conclusion)
  7. 7. เอกสารอ้างอิง (Reference)

            บทความวิจัย

  1. 1. ชื่อเรื่อง (Title)
  2. 2. บทคัดย่อ (Abstract)
  3. 3. คำสำคัญ (Keywords)
  4. 4. บทนำ (Introduction)
  5. 5. วัตถุประสงค์ (Research Objectives)
  6. 6. วิธีการวิจัย (Research Methodology)
  7. 7. ผลการวิจัย (Results)
  8. 8. อภิปรายผลการวิจัย (Discussion)
  9. 9. บทสรุป (Conclusion)
  10. 10. เอกสารอ้างอิง (Reference)

 

เอกสารอื่นที่ต้องแนบมาพร้อมกับต้นฉบับ

            แบบเสนอผลงานเพื่อลงพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งผู้เขียนและผู้เขียนร่วมทุกท่านต้องลงนามยืนยัน


จัดส่งมายัง :
     

                        www.tci-thaijo.org

                        Search: Journal of Humanities and Social Sciences Suratthani Rajabhat University

 

การอ้างอิงเอกสาร

รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อเรื่อง

            ในกรณีที่ต้องการระบุแหล่งที่มาของข้อมูล ให้ใช้วิธีการอ้างอิงแทรกในเนื้อเรื่อง ดังนี้

 

  1. 1. อเนก นาคะบุตร /(2545,/น./9 - 12) กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นพลังแห่งการพัฒนา เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่เป็นความรู้อย่างบูรณาการ...

            Prawase W. (1998,/p./9 - 12)

            ...มีการออกกฎหมายห้ามกินพลู สั่งตัดต้นหมากทิ้งเพื่อปฏิรูปประเทศให้เป็นอารยชน (Wutthichai K.,/2015,/p./49) 

 

 

 

  1. 2. …ขณะที่หมากแห้งส่งไปยัง เกาหลี แคนาดา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นผู้รับซื้อรายใหญ่ของไทย (เว็บเตอร์,/1999)

(Agricultural Product Promotion and Management Office,/year)

 

  1. 3. ...ซึ่งลูกหลานสายโนราได้ตั้งหิ้งบรรพบุรุษไว้บูชาระลึกถึงสืบต่อกันมา ดังคำบอกเล่าของ (นาถนรัตน์/นามเอก,/สัมภาษณ์:/22/พฤษภาคม/2562)

                (Ploy/T.,/Interview:/15th/February/2017)

 

รูปแบบบรรณานุกรม/เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

  1. 1. หนังสือ

ชื่อนามสกุลผู้เขียน.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์.

 

ไพศาล เหล่าสุวรรณ.//(2535).//หลักพันธุ์ศาสตร์.//กรุงเทพฯ:/ไทยวัฒนาพานิช.

Buckley,/R.C.//(1993).//Rural Development Participation.//Ithaca:/Cornell

            University.

 

  1. 2. บทความ

ชื่อนามสกุลผู้เขียน.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร.//ปีที่พิมพ์(ฉบับ),/เลขหน้า.

สุนี/รักษาเกียรติศักดิ์.//(2538).//คอมพิวเตอร์กับงานวิจัย.//

            วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา.//8(2),/62-65.

Clayton,/S.N.//(2015).//Buddhadasa Bhikkhu’s Viewpoints

            on Dealing with Teenagers.//Journal of Humanities and Social

            sciences.//23(43),/85-104. 

 

  1. 3. วิทยานิพนธ์

ชื่อนามสกุลผู้เขียนวิทยานิพนธ์.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์.//ระดับของวิทยานิพนธ์/

            ชื่อปริญญา.//สถานที่พิมพ์:/ชื่อสถานศึกษา.

ไพโรจน์/นาคโรจน์.//(2555).//การสอนภาษาอังกฤษ.//วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต/สาขาวิชาภาษาอังกฤษ.//
กรุงเทพฯ:/มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

Kanlata/Kulsuwan.//(2010).//Buddhadasa Bhikkhu’s Discourses and Teachings.//Thesis of Master of Arts,
Program in Philosophy.//Chiang Mai:/Chiang Mai University.   

 

  1. 4. สิ่งพิมพ์จากอินเทอร์เน็ต

ชื่อนามสกุลผู้เขียนบทความ.//(ปี,/เดือน/วันที่โพสต์ข้อความ).//ชื่อบทความ.//

            [ออนไลน์].//เข้าถึงได้จาก/http://www…/[ปี,/เดือน/วันที่เข้าถึงบทความ].

เสน่ห์/จามริก.//(2542,/มีนาคม/6).//นโยบายกลวิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน.//[ออนไลน์].//เข้าถึงได้จาก/http://www.songpak16.com./[2559,/เมษายน/12].

Baroto/Tavip,/Indrojarwo Sabar and Ellya Zulaikha.//(n.d.).//Visual design study of city branding of Surabaya as a national creative industry center with MDS method.//[Online].//Retrieved form http://personal.its.ac.id/files/pub/3234./[2017, May 4].  

 

  1. 5. บทความจากหนังสือพิมพ์

ชื่อนามสกุลผู้เขียนบทความ.//(ปี,/เดือน/วันที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อหนังสือพิมพ์.//

            เลขหน้า.

ดวงกมล/เกรียงไกร.//(2538,/มกราคม/8).//การเมือง.//โพสทูเดย์.//น./8-9

Schwartz,/J.//(1993, September 30).//Obesity affects economic social status. 

            The Washington Post.//pp. A1-A5.

 

  1. 6. บุคลานุกรม

ชื่อนามสกุลผู้ให้สัมภาษณ์/(ผู้ให้สัมภาษณ์)/ชื่อนามสกุลผู้สัมภาษณ์/(ผู้สัมภาษณ์).//ณ/

            ชื่อหมู่บ้าน/หมู่ที่/ตำบล/อำเภอ/จังหวัด.//เมื่อวันที่/วัน/เดือน/ปีที่สัมภาษณ์.

ฤทัยทิพย์/ศรีแสง/(ผู้ให้สัมภาษณ์)/รัชนีกร/มากธรรม/(ผู้สัมภาษณ์).//

            ณ/บ้านสวย/หมู่/2/ตำบลบัวทอง/อำเภอเมือง/

            จังหวัดเชียงใหม่.//เมื่อวันที่/9/กันยายน/2556.

Kaew/Kamdee/(Interviewee/Udee/Meesuk/(Interviewer).// 

            At/Ban/Thongkam,/Moo/11,/Sawan/sub - district,/Muang/district,

            Suratthani/province.//On/9th/July/2016.

 

หมายเหตุ      /  หมายถึงระยะเว้นวรรค 1 ครั้ง

                  // หมายถึงระยะเว้นวรรค 2 ครั้ง

 

 

จัดส่ง   1. ต้นฉบับบทความ

  1. แบบฟอร์มอมผู้เขียนหลัก
  2. แบบฟอร์มอมผู้เขียนร่วม

มายัง : 1. https://www.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/index

  1. E-mail : jhs.sru@gmail.com

 

                        สำนักงานกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

                        อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
                        คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

                        272 หมู่ 9 ต.ขุนทะเล อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี 84100

                        เบอร์โทรติดต่อ 0 - 7791- 3386                    

                        www.tci-thaijo.org

 

จริยธรรมการตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

            จริยธรรมการตีพิมพ์ทางวิชาการของผู้เกี่ยวข้องในส่วนต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการรักษามาตรฐานทางวิชาการ ผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ในส่วนต่าง ๆ จึงต้องมีความรับผิดชอบตามหน้าที่ของตนเอง เพื่อทำให้วารสารมีคุณภาพและมีมาตรฐานทางวิชาการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จึงกำหนดจริยธรรมการตีพิมพ์ ดังนี้

 

            จริยธรรมของผู้เขียน

  1. 1. ผลงานที่ส่งให้พิจารณาในวารสารต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการอื่นๆ
  2. 2. ไม่มีส่วนใดของผลงานวิชาการที่คัดลอกงานวิชาการ (plagiarism) ของตนเองและผู้อื่น และมีการอ้างอิงทางวิชาการอย่างถูกต้องตามที่วารสารกำหนด
  3. 3. ไม่สร้างข้อมูลเท็จในผลงานทางวิชาการ
  4. 4. ผู้เขียนทุกชื่อที่ปรากฏในบทความเป็นผู้มีส่วนสำคัญในผลงานวิชาการ และไม่ได้ตัดชื่อบุคคลใดที่มีส่วนกัับผลงานวิชาการออกจากบทความ
  5. 5. ผู้เขียนทุกคนต้องเห็นชอบกับต้นฉบับของบทความ และเห็นชอบให้ส่งต้นฉบับให้วารสารพิจารณาตีพิมพ์ โดยส่งหลักฐานแสดงความเห็นชอบมาพร้อมต้นฉบับ
  6. 6. บทความจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสัตว์ทดลอง กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์รับพิจารณาเฉพาะงานวิจัยที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ทดลองเท่านั้น
  7. 7. ผู้เขียนต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
  8. 8. ผู้เขียนต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)

จริยธรรมของบรรณาธิการวารสาร

  1. 1. แนะนำการจัดเตรียมต้นฉบับ และรายละเอียดที่จำเป็นอื่น ๆ ที่ผู้เขียนต้องปฎิบัติตามให้รับทราบโดยทั่วกัน
  2. 2. มีประกาศเกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราการเก็บค่าธรรมเนียมให้ผู้เขียนรับทราบอย่างชัดเจน
  3. 3. พิจารณาคุณภาพของบทความวิชาการอย่างเป็นธรรม ไม่ล่าช้า และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร
  4. 4. ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น
  5. 5. ไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาแล้ว
  6. 6. ไม่ปฎิเสธการตีพิมพ์บทความเพียงเพราะสงสัยว่ามีการกระทำความผิดจริยธรรม ควรตรวจสอบหลักฐานให้ชัดเจนก่อน และแจ้งให้ผู้เขียนชี้แจงก่อนปฎิเสธบทความ
  7. 7. ไม่มีการแสดงเจตนาให้มีการอ้างอิงผลงานจากวารสารเพื่อเพิ่มจำนวนการอ้างอิงของวารสาร
  8. 8. ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน ผู้ประเมินบทความ และผู้บริหาร
  9. 9. หากพบข้อมูลว่าบทความฉบับใดมีการคัดลอก ให้ผู้เขียนชี้แจงเพื่อประกอบการพิจารณา เมื่อตรวจสอบว่ามีการคัดลอกจริงต้องยุติกระบวนการพิจารณาทันที
  10. 10. ต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการประเมินและการตีพิมพ์บทความที่ตนเป็นผู้เขียนหรือมีประโยชน์เกี่ยวข้อง

           

            จริยธรรมของผู้ประเมิน

  1. 1. ไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ตนเป็นผู้ประเมิน
  2. 2. หากพบว่าตนเองมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบทความที่ประเมิน ให้ปฎิเสธการประเมิน
  3. 3. ประเมินบทความด้วยความเป็นธรรม ปราศจากอคติ รอบคอบ และให้ข้อเสนอแนะที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์
  4. 4. ส่งผลการประเมินตามเวลาที่กำหนด

           

บรรณานุกรม

ศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย (TCI).  (2562).  ประกาศศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
            (TCI) เรื่อง การประเมินด้านจริยธรรม/จรรยาบรรณวารสารวิชาการไทยในฐาน
            ข้อมูล TCI. 
[ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก https://tci-thailand.org/?p=2966.
            [2563, มิถุนายน 13].

สำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  (2562).  จริยธรรมการตีพิมพ์.  [ออนไลน์]. 
            เข้าถึงได้จาก https://www.research.chula.ac.th. [2563, ,มิถุนายน 13].

วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 
            มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.  (2015). จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงาน
            วิจัย. 
[ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.
            php/swurd/Publication_Ethics. [2563, มิถุนายน 13].

วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  (2015). 
            จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics). 
            [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/abc/
            about. [2563, มิถุนายน 13].

 

 

- การสมัครเป็นสมาชิกวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

   เพื่อลงตีพิมพ์เป็นผลงานทางวิชาการ

  1. เล่มละ 150 บาท
  2. สมาชิกประเภทรายปี 250 บาท (จำนวน 2 เล่ม/ปี)
  3. สมาชิกราย 3 ปี 700 บาท (จำนวน 2 เล่ม/ปี)

 

- การขอสมัครเป็นสมาชิกวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

   เพื่อตีพิมพ์ขอสำเร็จการศึกษา จำนวน 2,500 บาท