เรื่องเล่าและการเล่าเรื่องโนราจากความทรงจำของชุมชนลุ่มทะเลสาบสงขลาตอนล่าง

Authors

  • รื่นฤทัย รอดสุวรรณ

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องเล่าโนราและนำเสนอภาพวาดเรื่องเล่าโนราจากความทรงจำของคนลุ่มทะเลสาบสงขลาตอนล่าง  โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลาตอนล่าง 2 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านท่าจีน และชุมชนวัดคูเต่า จากผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่ม รวม 58 คน โดยใช้วิธีการ สังเกต การสัมภาษณ์ และการทำแผนที่แบบมีส่วนร่วม แนวคิดที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือแนวคิดเรื่องเล่าและความทรงจำร่วม  สำหรับการนำเสนอภาพวาดเรื่องเล่าโนราใช้แนวคิดการสร้างสรรค์จิตรกรรม  ผลการวิจัยพบว่า  เรื่องเล่าโนราในพื้นที่ชุมชนบ้านท่าจีนมีความสัมพันธ์กับความเชื่อเรื่องทวด  ในขณะที่เรื่องเล่าโนราของชุมชนวัดคูเต่าเป็นเรื่องโนราประชันโรงที่มุ่งเน้นความบันเทิงเป็นหลัก  เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบเรื่องเล่าโนราสะท้อนให้เห็นว่าปฏิบัติการโนราภายใต้ความเชื่อและพิธีกรรมในชีวิตประจำวันของคนก่อให้เกิดความยั่งยืนมากกว่าโนราที่เน้นเพื่อความบันเทิง  สำหรับเรื่องเล่าโนราจากความทรงจำที่สื่อผ่านภาพวาดจะเป็นเครื่องมือในการบันทึกความทรงจำที่เป็นรูปธรรมของคนลุ่มทะเลสาบสงขลาตอนล่างสืบไป

Additional Files

Published

2020-06-30

How to Cite

รอดสุวรรณ ร. . (2020). เรื่องเล่าและการเล่าเรื่องโนราจากความทรงจำของชุมชนลุ่มทะเลสาบสงขลาตอนล่าง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 12(1), 104–127. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/1089