เงื่อนไขสำคัญในการจัดการร่วมด้านการจัดการขยะ กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าขยะเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

Authors

  • พสุวดี พลพิชัย

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเงื่อนไขสำคัญในการจัดการร่วมด้านการจัดการขยะ กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าขยะเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เป็นการศึกษาการกำหนดกติกาในการบริหารจัดการร่วมในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดของ Elinor OStrom (1990) ประกอบด้วย 8 ประการ ได้แก่ 1) ความชัดเจนของขอบเขตสิทธิชุมชน (Boundaries)  2) ความสอดคล้องกับกติกาชุมชน(Congruence) 3) การมีส่วนร่วมในการปรับปรุงกฎ กติกา (Collective-Choice Arrangements) 4) การสอดส่องที่มีประสิทธิภาพ (Effective Monitoring) 5) การลงโทษอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Gradual Sanctions) 6) กลไกการจัดการความขัดแย้ง (Conflict Resolution Mechanisms)  7) รัฐให้การยอมรับในสิทธิของชุมชน (Recognition of Rights) 8) การจัดการทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับกฎหมายของชุมชน (Law) รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-Depth Interview) จากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งทั้ง 3 ภาคส่วนล้วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการขยะในเทศบาลนครภูเก็ต กล่าวคือภาครัฐเป็นผู้ดำเนินงานตามนโยบายการกำจัดขยะและสิ่งแวดล้อม ภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการเผาขยะและผลิตกระแสไฟฟ้าตามสัญญาสัมปทาน และภาคประชาชนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนที่กระทบต่อความเป็นอยู่

___________________________________________________________________________

 

  1. พสุวดี พลพิชัย*

* นักศึกษาปริญญาเอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

* Doctoral Degree Student,  Department of Public Administration,  Faculty of Humanities and Social Sciences,  Khon Kaen University

 

  1. วิยุทธ์ จำรัสพันธ์

** อาจารย์ประจำสาขารัฐประศาสนศาตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

** Assistant Professor Dr. Viyouth Chamruspanth,  Department of Public Administration,   Faculty of Humanities and Social Sciences,  Khon Kaen University

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            ผลการศึกษา พบว่าการจัดการร่วมด้านการจัดการขยะของโรงไฟฟ้าขยะเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ทั้ง 3 ภาคส่วนได้แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ได้ร่วมกันบริหารจัดการภายใต้เงื่อนไข 5 ประการ ได้แก่ 1) ความชัดเจนของขอบเขตสิทธิชุมชน (Boundaries) 2) การสอดส่องดูแลที่มีประสิทธิภาพ (Effective Monitoring) 3) การลงโทษอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Gradual Sanctions) 4) การยอมรับในสิทธิของชุมชน (Recognition of Rights) 5) การจัดการทรัพยากรที่เชื่อมโยงและสอดคล้องกับกฎหมายชุมชนหรือระบบที่ใหญ่กว่า (Law) ในส่วนของเงื่อนไขที่ไม่ปรากฏในพื้นที่ คือ 1) การมีส่วนร่วมในการปรับปรุงกฎ กติกา (Collective-Choice Arrangements) 2) ความสอดคล้องกับกติกาชุมชน (Congruence) 3) กลไกการจัดการความขัดแย้ง (Conflict Resolution Mechanisms)  

Additional Files

Published

2020-06-30

How to Cite

พลพิชัย พ. . . (2020). เงื่อนไขสำคัญในการจัดการร่วมด้านการจัดการขยะ กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าขยะเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 12(1), 156–188. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/1091