คติไตรภูมิกับการสร้างพระเมรุและพระเมรุมาศ (The Concept of Trai Bhum Related to Building a Crematorium and the Royal Funeral Pyre)

Authors

  • ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์ Department of Thai, Faculty of Humanities, Naresuan University.
  • ภูศิษฐ์ แสวงกิจ Department of History, Faculty of Social Sciences, Naresuan University.
  • นิพัทธพงศ์ พุมมา MN Phisanulok Travel & tour Co, Ltd.

Keywords:

ไตรภูมิ, เขาพระสุเมรุ, พระเมรุมาศ, Tri Bhum, SuMein and the royal funeral pyre.

Abstract

การจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงสร้างพระเมรุมาศ และ / หรือพระเมรุ เป็นราชประเพณี ที่แฝงคติความเชื่อแบบพราหมณ์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมุติเทพ ซึ่งสถิตบนเขาพระสุเมรุ อันล้อมรอบด้วยเขาสัตบริภัณฑ์ และเมื่อจุติลงมายังมนุษยโลกเป็นสมมุติเทพ เมื่อสวรรคตจึงตั้ง พระบรมศพบนพระเมรุมาศ หรือพระเมรุ เพื่อเป็นการส่งพระศพพระวิญญาณกลับสู่เขาพระสุเมรุดังเดิม ทั้งนี้ความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุปรากฏในไตรภูมิ เป็นเรื่องของภูมิจักรวาล มีลักษณะเป็นที่อยู่ของเทวดา ตีนเขาเป็นป่าหิมพานต์ อนึ่งจากความคิดนี้จึงได้จำลองพระเมรุมาศ พระเมรุ เป็นเสมือนเขาพระสุเมรุและสัตบริภัณฑ์เพื่อส่งเสด็จสู่ทิพยวิมาน โดยสถานที่ประกอบพิธีเดิมนั้นมักเรียกกันว่า ทุ่งพระเมรุ ซึ่งปัจจุบัน คือ ท้องสนามหลวง

The ceremony of Cremation to build the royal funeral pyre and/or crematorium is the tradition from the latent belief Brahman.  The king is a fictional deity who dwells on Mount Meru which is surrounded by Mount Sattaboripan. When the king advented down to secular humanism, he became a fictional deity. After he died, his body was  put on the royal funeral pyre or crematorium to return his body and spirit to Mount Meru. Hence, Mount Meru is the belief in Trai Bhum as a matter of cosmic landscape where the angels dwell. The foothill is Himmapanta Forest. From this concept, the crematorium was simulated as Mount Meru and Mount Sattaboripan to ascended the king to the immortal court.  Besides, in the past, the place for holding this ceremony was often referred to as Thung Phra Meru, which is currently called Sanamluang.

Downloads

Published

2014-12-16

How to Cite

รอดทรัพย์ ณ., แสวงกิจ ภ., & พุมมา น. (2014). คติไตรภูมิกับการสร้างพระเมรุและพระเมรุมาศ (The Concept of Trai Bhum Related to Building a Crematorium and the Royal Funeral Pyre). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 6(2), 33–46. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/119