เหวียตเกี่ยว : ครอบครัวเลื่อนชั้นเพราะหิ้งบูชาแผ่นดิน (Viet kieu : Family mobility based on the motherland shrine)

Authors

  • กฤษณะ ทองแก้ว Lecturer in the Faculty of Education, Suratthani Rajabhat University and Ph.D.Candidate in Sociology, Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University.
  • สมศักดิ์ ศรีสันติสุข Department of Anthropology and Sociology, Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University.
  • วิยุทธ์ จำรัสพันธุ์ Department of Anthropology and Sociology, Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University.

Keywords:

ครอบครัว, หิ้งบูชาแผ่นดิน, เหวียตเกี่ยว, เลื่อนชั้นขึ้น, เลื่อนชั้นลง, Family, Motherland shrine, Viet Kieu, Upward mobility, Downward mobility

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ “เพื่อศึกษารูปแบบการเลื่อนชั้นทางสังคมของครอบครัวชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม” ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตการณ์ การบันทึกประวัติชีวิต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสัมภาษณ์กลุ่ม ผลวิจัยพบว่า ครอบครัวปฐมและครอบครัวสร้างของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในสังคมไทยนั้นมีความเชื่อมโยงกันและกัน เพราะสถานภาพของครอบครัวปฐมนั้นมีความผูกพันกับสถานภาพของครอบครัวสร้างที่เลื่อนชั้นทางสังคม กล่าวคือ ถ้าหากครอบครัวสร้างเลื่อนชั้นขึ้นครอบครัวปฐมก็เลื่อนขึ้นตามมาเช่นกัน และในขณะเดียวกันถ้าหากครอบครัวสร้างเลื่อนชั้นลงครอบครัวปฐมก็มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน โดยเงื่อนไขที่สำคัญของครอบครัวชาวไทยเชื้อสายเวียดนามคือความเชื่อมั่นและการถ่ายทอดคำสั่งสอนจากหิ้งบูชาแผ่นดิน ที่มีคำสั่งสอนของโฮจิมินห์ให้ยึดถือปฏิบัติตาม จนกลายเป็นสามัญการของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในสังคมไทย ดังนั้นครอบครัวปฐมที่ยึดมั่นคำสอนจากหิ้งบูชาแผ่นดินจะส่งผลให้ครอบครัวสร้างเลื่อนชั้นขึ้น ส่วนครอบครัวปฐมที่ไม่ยึดมั่นคำสอนจากหิ้งบูชาแผ่นดินจะส่งผลให้ครอบครัวสร้างเลื่อนชั้นลง เมื่อเปรียบเทียบจากครอบครัวปฐมนั้นเอง

This article is a part of Ph.D. Dissertation entitled “Social mobility of the Viet Kieu family in Thai society” The article aimed to investigate patterns of social mobility in the Viet Kieu family. The study was conducted by qualitative approach, and the data were collected by life history interview, observation, and group interview.

The results revealed that orientation family and procreation family of Viet Kieu family in Thailand had relationship among each other. Family status of both families would mobilize in the same way. Conditions which influenced on family mobility were the trust and doctrine from the motherland shrine which relied on Ho Chi Minh’s practice. Therefore, the orientation family that adhered to the motherland shrine would have better status in society. On the other hand, procreation family that did not adhere to the motherland shrine would have degenerate status in society, comparing to the orientation family.

Downloads

Published

2014-12-25

How to Cite

ทองแก้ว ก., ศรีสันติสุข ส., & จำรัสพันธุ์ ว. (2014). เหวียตเกี่ยว : ครอบครัวเลื่อนชั้นเพราะหิ้งบูชาแผ่นดิน (Viet kieu : Family mobility based on the motherland shrine). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 6(2), 157–174. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/125