มนต์รักอ่าวทองคำ และ ลูกสาวแห่งขุนทะเล นวนิยายรัก โลภ โกรธ หลง ของ ปริทรรศ หุตางกูร (The Magical of The Golden Bay and The Daughter of Kun Taleh Love, Greed, Anger and Lust Stories by Paretas Hutanggura)

Authors

  • ทิสวัส ธำรงสานต์ Faculty of Liberal Arts and Science, Kasetsart University. (Kamphaeng Saen Campus)

Keywords:

มนต์รักอ่าวทองคำ, ลูกสาวแห่งขุนทะเล, นวนิยาย, โลภ, โกรธ, หลง, ปริทรรศ หุตางกูร

Abstract

มนต์รักอ่าวทองคำ” และ “ลูกสาวแห่งขุนทะเล” เป็นนวนิยายสองเล่มล่าสุดของ ปริทรรศ หุตางกูร[1] และเป็นนวนิยายที่นำเสนอที่มีความคล้ายคลึงและสอดรับกับความเป็นไปของสังคมได้อย่างชัดเจน แตกต่างเพียงแค่ที่มาหรือไอเดียในการแต่ง สำหรับ มนต์รักอ่าวทองคำ นั้น ชื่อของนวนิยายเหมือนกำลังจะบอกเป็นนัยว่า เป็นนวนิยายแนวรัก ผสมความโรแมนติก โดยสังเกตจากคำว่า ‘มนต์รัก’ ที่หมายถึง ความรักที่น่าหลงใหลของตัวละครหนุ่มสาว และจากรูปภาพหน้าปกที่มีรูปชายหนุ่มกำลังอุ้มหญิงสาว พร้อมกับฉากหลังที่น่าจะหมายถึง อ่าวทองคำ ตามชื่อของนวนิยาย ส่วน ลูกสาวแห่งขุนทะเล ได้รับการสนับสนุนจากโครงการผลิตวรรณกรรมจากการสัมผัสเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ให้นักเขียนลงพื้นที่จริง ได้สัมผัสกับชุมชนนั้น ๆ แล้วสร้างแรงบันดาลใจจากสิ่งที่ได้พบเห็น ผลิตออกมาเป็นผลงานวรรณกรรม[2] แม้ชื่อเรื่องจะไม่ได้เน้นเรื่องราวของความรักและที่มาของการประพันธ์จะเน้นเรื่องของการสำนึกรักบ้านเกิดหรือชุมชน แต่การดำเนินเนื้อเรื่องก็ยังมีกลิ่นอายของความรักปรากฏให้เห็น


      [1] ผลงานเล่มอื่นเช่น รวมเรื่องสั้น แม่มดบนตึก เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ปี พ.ศ.2545 และนวนิยายเรื่อง ลูกสาวฤษี เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ปี พ.ศ. 2549

      [2] นักเขียนที่ร่วมผลิตงานวรรณกรรมในโครงการนี้ ได้แก่ แดนอรัญ แสงทอง (เรื่อง อตีเตกาเล) มาโนช พรหมสิงห์ (เรื่อง สายรุ้งกลางซากผุกร่อน) เรวัตร พันธุ์พิพัฒน์ (เรื่อง สวนโลก) จเด็จ กำจรเดช (เรื่อง ประเทศมือสอง)  และวีรพงษ์ สุนทรฉัตรวัฒน์ (เรื่อง อนุสรณ์สถาน)

Downloads

Published

2014-12-25

How to Cite

ธำรงสานต์ ท. (2014). มนต์รักอ่าวทองคำ และ ลูกสาวแห่งขุนทะเล นวนิยายรัก โลภ โกรธ หลง ของ ปริทรรศ หุตางกูร (The Magical of The Golden Bay and The Daughter of Kun Taleh Love, Greed, Anger and Lust Stories by Paretas Hutanggura). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 6(2), 225–234. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/128