ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของนักเรียนหญิงช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึก (Factors Contribute to Verbal Aggressive Behaviors of Secondary School Female Students under the Office of Suratthani Educational Service Area 1)

Authors

  • จิราพร ไชยเชนทร์ Silpakorn University

Keywords:

ความสนใจในการเลือกรับสื่อที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจา, ประสบการณ์การถูกลงโทษทางวาจา, พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของนักเรียนหญิง, พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของบุคคลในครอบครัว, พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของเพื่อนสนิท

Abstract

 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับประสบการณ์การถูกลงโทษทางวาจา พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของบุคคลในครอบครัว พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของเพื่อนสนิท ความสนใจในการเลือกรับสื่อที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจา และพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของนักเรียนหญิงช่วงชั้น ที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของนักเรียนหญิง จำแนกตาม ระดับชั้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สภาพครอบครัว เศรษฐกิจของครอบครัว และระดับการศึกษาสูงสุดของมารดาหรือบุคคลที่ทำหน้าที่แทนมารดา 3) ประสบการณ์การถูกลงโทษทางวาจา พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของบุคคลในครอบครัว พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของเพื่อนสนิท ความสนใจในการเลือกรับสื่อที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจา เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าว ทางวาจาของนักเรียนหญิง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 จำนวน 356 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One– Way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสบการณ์การถูกลงโทษทางวาจา พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของบุคคลในครอบครัว พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของเพื่อนสนิท ความสนใจในการเลือกรับสื่อที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจา และพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของนักเรียนหญิงช่วงชั้นที่ 3 อยู่ในระดับปานกลาง

2. นักเรียนหญิงช่วงชั้นที่ 3 ที่มีสภาพครอบครัวต่างกัน มีพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อจำแนกตาม ระดับชั้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เศรษฐกิจของครอบครัว และระดับการศึกษาสูงสุดของมารดาหรือบุคคลที่ทำหน้าที่แทนมารดา ไม่พบความแตกต่าง

3. พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของบุคคลในครอบครัว และความสนใจในการเลือกรับสื่อที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจา สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของนักเรียนหญิงช่วงชั้นที่ 3 ได้ร้อยละ 73.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001


    The purposes of this research were: 1) to study the level of experience of
being verbally punished, verbal aggressive behaviors in the family, verbal aggressive behaviors of friends, attending to media representing verbal aggressive behaviors and verbal aggressive behaviors of the secondary school female students under the office of Suratthani Educational Service Area 1, 2) to compare the verbal aggressive behaviors as classified by grade level, academic achievement, family status, family economic status and education level of mothers 3) to identify the experience of being verbally punished, verbal aggressive behaviors in the family, verbal aggressive behaviors of friends and attending to media representing verbal aggressive behaviors as predictors of verbal aggressive behaviors. Samples were 356 secondary school
female students under the Office of Suratthani Education Service Area1 derived by a multi - stage random sampling technique. Instruments used were questionnaires constructed by the researcher. Data were analyzed for percentage (%), mean ( X ),

standard deviation (S.D.), One M Way ANOVA and the Stepwise Multiple Regression Analysis.

   The results found that:
   1. Experience of being verbally punished, verbal aggressive behaviors in the
family, verbal aggressive behaviors of friends, attending to media representing verbal aggressive behaviors and verbal aggressive behaviors of female students were at the middle level.
  2. The verbal aggressive behaviors of female students of different family
status were statistically different at a level of .05. However, when they were classified by grade level, academic achievement, family economic status and education level of mother, there were no significant different.
  3. Verbal aggressive behaviors in the family, attending to media representing
verbal aggressive behaviors predicted the verbal aggressive behaviors of female
students at a percentage of 73.7, with a statistical significant level of .001.

 

Downloads

Published

2014-11-25

How to Cite

ไชยเชนทร์ จ. (2014). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาของนักเรียนหญิงช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึก (Factors Contribute to Verbal Aggressive Behaviors of Secondary School Female Students under the Office of Suratthani Educational Service Area 1). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 2(2), 227–250. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/38