บริบทการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย (The Instructional Context of Thai as a Foreign Language, Bachelor7s Degree Programs in Thailand)

Authors

  • วรพงศ์ ไชยฤกษ์ Payap University, Chiang Mai

Keywords:

บริบทการเรียนการสอน, ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ

Abstract


งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรวิชาภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ระดับปริญญาตรี (2) ศึกษาสภาพ และ ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ระดับปริญญาตรี และ (3) วิเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาที่แต่ละสถาบันใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ระดับปริญญาตรี ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย จำนวน 6 สถาบัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ หัวหน้าภาค/สาขา หรือประธานโปรแกรม ผู้สอน และนักศึกษา จำนวนทั้งหมด 296 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ตารางวิเคราะห์หลักสูตร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และ แบบสังเกตการณ์จัดการเรียนการสอน ผลการวิจัยพบว่า

1. ทุกสถาบันบริหารหลักสูตรภายใต้หลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต โดยจำแนกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ เป็นหลักสูตรที่ทางสถาบันในประเทศไทยจัดเอง และ เป็นความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ (Collaboration) หลักสูตรแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละสถาบัน โดยจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรระหว่าง 122-148 หน่วยกิต

2. ผู้บริหารส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งบริหารหลักสูตรภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศน้อย ด้านผู้สอนมีความเห็นว่าหลักสูตรวิชาภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติที่เปิดสอนในปัจจุบันเหมาะสมกับผู้เรียนและผู้สอนดีแล้ว ซึ่งผู้สอนที่เคยได้รับการอบรม ประชุม สัมมนาเกี่ยวกับการวางแผนการสอนอยู่ในระดับมาก ส่วนเทคนิคการสอนที่ผู้สอนใช้ในระดับมากคือ รูปแบบที่เน้นข้อมูล สื่อและอุปกรณ์การสอนที่ผู้สอนใช้เป็นอันดับแรกคือ สื่อมัลติมีเดีย เช่น ซีดี วิดีโอ ดีวีดี เทป ส่วน ผู้สอนมีความพร้อมในการวัดและประเมินผลอยู่ในระดับปานกลาง ด้านปัญหาพบว่าผู้ร่างหลักสูตรและผู้นำหลักสูตรไปใช้เข้าใจวัตถุประสงค์ของหลักสูตรไม่ตรงกัน และหลักสูตรที่จัดทำขึ้นยากเกินไปและเกินความสามารถของนักศึกษา และผู้สอนไม่มีประสบการณ์การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศทำให้มีปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และอาจารย์ไม่มีเวลาในการทำแผนการสอนและสื่อการเรียนการสอนเพราะภาระงานมากเกินไปและสภาพห้องเรียนแคบเกินไปไม่เหมาะสมที่จัดกิจกรรมบางประเภท

3. แนวทางที่ผู้บริหารหลักสูตรและผู้สอนใช้ในการแก้ไขปัญหาคือประชุมปรึกษาหารือและนำเอาวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมาคุยกัน และเชิญผู้เขียนหลักสูตรมาร่วมประชุมด้วย เพื่อจะได้เข้าใจตรงกันระหว่างผู้ร่างหลักสูตรและผู้นำหลักสูตรไปใช้ตลอดจนลดชั่วโมงสอนของอาจารย์ไม่ให้เกินภาระงาน และหน่วยงานสนับสนุนให้คณาจารย์เข้าร่วมอมรมสัมมนาเพิ่มพูนความรู้ในทุกๆ ด้านเกี่ยวกับการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ


     The purposes of the study were (1) to analyze the Thai as a foreign language curricular of bachelors degree programs taught in Thailand; (2) to explore the status and problems occurred in offering the programs; and (3) to investigate how each of the six institutions coped with the problems. The 296 participants consisted of three groups: heads of the departments or leaders of the programs, instructors, and students. The instruments used to collect data were curriculum analysis table, interview, questionnaire, and observations. The results revealed that (1) all institutions offered the programs under the Obachelor of artsP degree, and could be divided into two types: a program offered by a Thai institute only and a program that was collaborated by a Thai institute and a foreign institute. The overall credits required varied from 122 to 148. (2) Program administrators had little experiences in managing the Thai as a foreign language program. Instructors believed that the curricular were appropriate for students. The rate of attending workshops,conferences, and seminars was high. Instructional approach used was mostly informational. Instructors mostly used CDs, video-casettes, DVD, and tape recorders as instructional technology. Their knowledge regarding evaluation and assessments was at a medium level. The problems they were confronting were that program designers and users did not share common understandings of the curricular. The curricular were too difficult for students; instructors had little experiences in teaching Thai as a foreign language, which led to problems in arranging learning activities;teaching loads were high; therefore, some instructors did not have enough time for planning and preparing instructional materials; and classrooms were too narrow, and therefore not appropriate for some activities. (3)The approaches that the administrators and instructors had used were meetings to find the solutions for problems, decreasing teaching loads, and training instructors to increase knowledge about teaching Thai as a foreign language.

Downloads

Published

2014-11-25

How to Cite

ไชยฤกษ์ ว. (2014). บริบทการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย (The Instructional Context of Thai as a Foreign Language, Bachelor7s Degree Programs in Thailand). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 2(2), 197–226. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/40