ฟื้นสังคมศาสตร์: ทำไมการวิจัยทางสังคมจึงล้มเหลวและจะทำให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร (Making social science matter: why social iniquity fails and how it can succeed again.)

Authors

  • กฤษณะ ทองแก้ว Suratthni Rajabhat University

Abstract

หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้จัดแบ่งสาระออกเป็นสองส่วน เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านได้เข้าใจ โดยเริ่มที่ ส่วนแรก ทำไมสังคมศาสตร์จึงล้มเหลว? สงครามแห่งศาสตร์: อะไรคือทางออก? (The Science Wars: a way out) ศาสตราจารย์ฟริเบียร์ เบ๊นท์ (Professor Bent Flyvbjerg) ได้นำเสนอ “สงครามแห่งศาสตร์” (The science war) ว่านำมาสู่บรรยากาศของการแข่งขันเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งทุนการวิจัย ขณะที่มิเชล ฟูโก้ (Michel Foucault) เรียกสิ่งนี้ว่า “การเมืองว่าด้วยเรื่องความจริงของสังคม” (Society’s truth politics) จากนั้นเบ๊นท์ก็ได้นำเสนอทางออกให้แก่สงครามแห่งศาสตร์โดยการพัฒนาแนวคิดการ ตีความของอริสโตเติ้ลว่าด้วยเรื่อง“ปัญญาเชิงปฏิบัติ” (phronesis) ที่เขาหมายถึงว่า“สภาวะความจริงที่มีเหตุผลและสามารถกระทำการได้ที่เกี่ยว ข้องกับสิ่งต่างๆ ทั้งที่ดีและไม่ดีสำหรับมนุษย์” อนึ่งแท้จริงแล้วก็มีความหมายครอบคลุมคำว่าญาณวิทยา(Epistemology) ที่หมายถึงความรู้ องค์ความรู้ด้วย เบ๊นท์ ได้กล่าวว่า สงครามแห่งศาสตร์ คือ ปฏิบัติการทางสังคม (Social practice) ที่ได้มาจากเทคนิค (techne) เพื่อประกอบการสร้างขอบฟ้าแห่งความรู้(Episteme) ตามยุคสมัยนั้นๆ ซึ่งเริ่มด้วยการวิพากษ์วิจารณ์สำนักแบบการรับรู้-เรียนรู้นิยม (Cognitivism) สำนักคิดแบบธรรมชาติ (Naturalism) จะเป็นการนำเสนอให้เห็นสาเหตุที่ว่าทำไมสังคมศาสตร์ จึงยังไม่เคยที่จะสามารถพัฒนา หรือไม่สามารถสร้างทฤษฎีที่เป็นการอธิบายและคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตซึ่งเป็น ความใฝ่ฝันอุดมการณ์และเอกลักษณ์ของวิทยาศาสตร์ได้

Downloads

Published

2014-11-26

How to Cite

ทองแก้ว ก. (2014). ฟื้นสังคมศาสตร์: ทำไมการวิจัยทางสังคมจึงล้มเหลวและจะทำให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร (Making social science matter: why social iniquity fails and how it can succeed again.). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 3(2), 201–208. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/53