พจนานุกรมภาษาฝรั่งเศส - ไทย ของพระสังฆราช กืออาซ

Authors

  • นิยะดา เหล่าสุนทร Suratthni Rajabhat University

Abstract

พจนานุกรมเป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นหาความหมายของศัพท์ ที่มาของศัพท์ และสมัยที่ใช้ศัพท์นั้นอีกด้วย ในแทบทุกประเทศที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมและวิชาการ ต่างก็มีพจนานุกรมในภาษาของตนเพื่อเอื้อประโยชน์ที่จะเข้าใจภาษาให้ลึกซึ้ง ในเมืองไทยเราคงต้องยอมรับว่าพจนานุกรมที่กระทำตามมาตรฐานสากลเป็นผลงานของ ชาวต่างประเทศทั้งสิ้น โดยเริ่มแต่มิชชันนารี เทเลอร์ โจนส์ ได้รวบรวมคำไทยและจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2389 ในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่เป็นที่น่าเสียใจที่พจนานุกรมฉบับนี้ไม่ได้ตีพิมพ์ หลังจากนั้นมาอีก 7 ปี ใน พ.ศ. 2397 พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ประมุขมิสซังสยามในระหว่าง พ.ศ. 2384 - 2405 ผู้ซึ่งเป็น “มิตรที่ดี สนิทสนม และจริงใจ” ต่อสยามประเทศ ได้ตีพิมพ์พจนานุกรมเล่มสำคัญของท่านที่มีชื่อว่า สัพะ พะจะนะ พาสาไท เป็น 4 ภาษา คือ ไทย ลาติน ฝรั่งเศส และอังกฤษ เป็นครั้งแรกที่ฝรั่งเศส โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระเจ้าจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 รูปแบบของการทำพจนานุกรมนี้แบ่งเป็น 5 แถว แถวแรกเป็นศัพท์ภาษาไทย แถวที่ 2 เป็นการออกเสียงคำ แถวที่ 3 เป็นศัพท์ในภาษาลาติน แถวที่ 4 เป็นศัพท์ในภาษาฝรั่งเศส และแถวสุดท้ายเป็นคำแปลในภาษาอังกฤษ การเรียงลำดับอักขรวิธีนั้นใช้ตัวอักษรภาษาลาตินจาก A ถึง Z เป็นหลัก พระสังฆราชได้เขียนบันทึกไว้ว่าท่านได้ใช้เวลานานถึง 10 ปี ในการเรียบเรียงพจนานุกรมฉบับนี้ แต่ไม่มีการบันทึกว่าท่านมีผู้ช่วยหรือไม่ ตัวอย่างการเก็บศัพท์ในพจนานุกรม สัพะ พะจะนะ พาสาไท

Downloads

Published

2014-11-26

How to Cite

เหล่าสุนทร น. (2014). พจนานุกรมภาษาฝรั่งเศส - ไทย ของพระสังฆราช กืออาซ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 3(1), 51–58. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/56