การเสริมสร้างพลังทุนของชุมชนสู่ความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ :กรณีศึกษากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน (The Empowerment’s Pattern of the Saving Group for Production Credit for Sustainable Development of the Community in Upper Southern Region in

Authors

  • ภมรรัตน์ สุธรรม Suratthni Rajabhat University

Keywords:

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต, การพัฒนาที่ยั่งยืน, การเสริมสร้างพลัง, Empowerment Saving Group for Production Credit Sustainable Development

Abstract


การวิจัยรูปแบบการเสริมสร้างพลังกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ของชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพลวัตของชุมชนกับกระบวนการพัฒนาสู่การพึ่งตนเองของชุมชน 2) ศึกษาประเมินสถานการณ์และกระบวนการพัฒนาของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 3) ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับศักยภาพของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ซึ่งเป็นปัจจัยแหล่งทุนในการผลิต 4) ศึกษากลยุทธ์การเสริมสร้างพลังกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ของชุมชน และ 5) ศึกษารูปแบบ การเสริมสร้างพลังกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสู่การพัฒนาที่เข้มแข็งยั่งยืนพึ่งตนเองได้ของชุมชน การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบการวิจัยศึกษาปรากฏการณ์ของสังคม (Social Phenomenon) โดยศึกษาวิจัยในพื้นที่จริงของภาคใต้ตอนบน(สุราษฎร์ธานี กระบี่ และระนอง) เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยประยุกต์ (PAR) ใช้เทคนิคการประเมินผลแบบเสริมพลัง เทคนิค SWOT Analysis ในการวิเคราะห์และพัฒนาศักยภาพขององค์กรแบบเสริมพลัง ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
บริบทของชุมชนที่ศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนในภาพรวม พบว่า ในอดีตที่ผ่านมาประมาณ 50 ปี พื้นที่ภาคใต้ตอนบนมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ เหมืองแร่ สัตว์ป่า พืชพันธุ์ธัญญาหาร สามารถพึ่งตนเองได้ในด้านปัจจัยสี่ เป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพ หลังจากการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาฯได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตจากการผลิตเพื่อยังชีพเป็นการผลิตเพื่อขายแบบทุนนิยม ทำให้มีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ศักยภาพในการพึ่งตนเองของชุมชนชนบทลดน้อยลง ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ยังมีลักษณะความเป็นชนบทอยู่ การประกอบอาชีพส่วนใหญ่เป็นภาคการเกษตร พืชเศรษฐกิจส่วนใหญ่ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ นอกจากนั้นมีอาชีพรับจ้าง ค้าขาย และทำการประมง ในพื้นที่จังหวัดระนอง ชุมชนส่วนใหญ่ยังมีต้นทุนทางสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนา ที่สำคัญคือความเป็นเครือญาติ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในชุมชน
ด้านการประเมินสถานการณ์และกระบวนการพัฒนาของกลุ่มออมทรัพย์ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนในภาพรวม พบว่า กระบวนการก่อเกิดกลุ่มออมทรัพย์ฯแต่ละกลุ่ม ส่วนใหญ่ได้รับแนวคิดและการสนับสนุนจากหน่วยงานพัฒนาชุมชน เมื่อประเมินกลุ่มโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้างและกระบวนการทำงานของกลุ่มออมทรัพย์ฯ ด้านการบริหารเงินทุนและทรัพยากร ด้านการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กร ด้านผลประโยชน์ต่อสมาชิกและชุมชน ผลการประเมิน พบว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านทับพรุอยู่ในระดับก้าวหน้า สำหรับกลุ่มออมทรัพย์ฯ บ้านควนม่วง บ้านเชี่ยวขวาน บ้านบางเน่าและบ้านหาดส้มแป้นอยู่ในระดับปานกลาง และกลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านหาดทรายแดง อยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง
ด้านการวิเคราะห์เกี่ยวกับศักยภาพของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในภาพรวม พบว่า จุดแข็งที่สำคัญ ได้แก่ ด้านกรรมการที่มีวิสัยทัศน์ มีความพร้อมและกล้าตัดสินใจในการทำงาน มีความรับผิดชอบสูง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ทำงานโปร่งใสตรวจสอบได้ ด้านสมาชิกมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่ม มีความรับผิดชอบ มีความสามัคคี มีคุณธรรม กลุ่มมีการบริหารจัดการให้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และหลากหลาย มีการจัดสวัสดิการหลากหลายรูปแบบ กลุ่มยึดหลักคุณธรรม 5 ประการในการดำเนินงาน ด้านการดำเนินธุรกิจของกลุ่มฯที่มีความหลากหลาย และนำผลกำไรมาจัดสวัสดิการให้สมาชิกและชุมชน กลุ่มที่มีศักยภาพและมีจุดแข็งครบทุกด้าน คือกลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านทับพรุ ได้รับการยอมรับให้เป็นต้นแบบในการศึกษาดูงานจากกลุ่มชุมชนอื่นๆและได้รับรางวัลดีเด่นหลายรางวัล ด้านจุดอ่อน พบว่าบางกลุ่ม มีจุดอ่อนด้านกรรมการ ด้านสมาชิก ด้านสถานที่ทำการ และด้านการบริหารจัดการ ด้านโอกาสในการพัฒนา ได้แก่การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกในการศึกษาดูงานและฝึกอบรมทั่วประเทศ การได้รับการสนับสนุนทางด้านวิชาการและงบประมาณ ด้านอุปสรรคหรือข้อจำกัดในการพัฒนาได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ปัจจัยด้านการเมืองท้องถิ่น ปัจจัยด้านอบายมุขทั้งในและนอกชุมชน
ด้านกลยุทธ์การเสริมสร้างพลังกลุ่มออมทรัพย์ฯในภาพรวม มี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม โดยการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการและสมาชิก 2) การสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชน สามารถพึ่งตนเองได้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) ด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการเมืองการปกครองท้องถิ่น 4) การเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการจัดการความรู้ ด้านวิชาการ และเทคโนโลยี
ด้านรูปแบบการเสริมสร้างพลังกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ของชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ได้รูปแบบ คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์บริบทของชุมชนที่ศึกษาและสถานการณ์การดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์ฯแบบมีส่วนร่วม โดยวิธีสนทนากลุ่ม (Focus Group) ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มออมทรัพย์ฯแบบมีส่วนร่วม ด้วยเทคนิค SWOT วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาของกลุ่มออมทรัพย์ฯ ขั้นตอนที่ 3 กำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนา จุดแข็ง ขยายโอกาส แก้ไขจุดอ่อนและกำจัดอุปสรรค โดยเริ่มจากการพัฒนาศักยภาพคน พัฒนาด้านการบริหารจัดการ พัฒนาการจัดทำกิจกรรม พัฒนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปสู่การพึ่งตนเอง ขั้นตอนที่ 4 อบรม ให้ความรู้ ศึกษาดูงาน จัดเวทีเพื่อจัดทำแผนนำไปสู่การลงมือปฏิบัติ และมีการประเมินผล ในแต่ละกลยุทธ์แต่ละกิจกรรม ขั้นตอนที่5 สรุปบทเรียนจากการลงมือปฏิบัติตามแผนงาน กิจกรรม ขั้นตอนที่ 6 แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์กับองค์กรเครือข่าย ลงมือปฏิบัติซ้ำเพื่อเสริมสร้างพลังให้กลุ่มเข้มแข็งในระยะเวลาที่เหมาะสม นำไปสู่การพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ สังคม จิตใจ การเมืองการปกครองและด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน

    The study of the empowerment pattern of the saving group for production
credit for sustainable development of the community in upper southern region in Thailand has five objectives: 1) to study the dynamic of community and
community development process for self-reliance in upper southern region in
Thailand; 2) to evaluate the situation and development process of the saving
group for production credit in upper southern region in Thailand; 3) to analyze
the potential of saving group for production credit; 4) to study the empowerment strategy to build sustainable development and self-reliance for the saving group of production credit in upper southern region in Thailand; and 5) to study the empowerment pattern to build sustainable development and self-reliance for the saving group of production credit in upper southern region in Thailand.

       Research methodology employed was a qualitative research by studying
on the social phenomenon in upper southern area; Surat Thani, Krabi and
Ranong provinces. The operation of this research was the process of
participatory action research or PAR, which applied SWOT Analysis and
Empowerment Evaluation to empower the potential of the saving group for
production credit. The findings were as follows:
      1. The overall of a community context in upper southern area in Thailand; this area was plentiful with natural resources in the past. The communities could use the natural resources for their self-reliance living. After the National Economics and Social Development plan had been used, the country itself changed the way of production from subsistence to export. A lot of natural resources had been destroyed and made less potential self-reliance living for the local. Nowadays, most of the people in this area changed their way of living from the rural to suburban lifestyle. The main occupation in the area was agriculture; rubber, oil palm and orchard plantation. Most of the communities still had social capitals such as kindred relationship, sacrifice and responsibility which useful to community development.

     2. The Evaluation of the situation and development process of the saving
group for production credit in upper southern region in Thailand found that most of the saving groups for production credit established their groups by using the Community Development Department’s concept. The evaluation was then classified into four categories: 1) organization structure and management
process; 2) saving fund and resources management; 3) the ability of organization development; and 4) the benefits for members and communities. The methodology used was participatory evaluation process. The results of the
evaluation were the saving group for production credit in Ban Thub Phru was in
the progressive level. Another group; Ban Khuan Muang, Ban Chiew Kwan, Ban Bang Nao and Ban Haad Sompaen were in the moderate level while Ban Sai Daeng was at the ameliorate level.
      3. The analysis of the potential of saving group for production credit found that the strengths were a good vision of the committee, strong willingness to work, dare to make decision, responsibility, honesty and transparency. A member had a unity and participated in all activities, responsibility and virtue. The committee and member adhered to 5 virtues of the saving group for production credit. They had many different kinds of successful activities and spent some of net profit for member and community welfare.The weaknesses were the committee, members, establishment and management. The opportunity for development, all of the groups had supported from the outsider officers in budgeting and technical matters such as trainings and study visits. The threat came from economic conditions, local politics and all vices inside and outside the community.

       4. The empowerment strategy to develop the sustainable development

and self-reliance for the saving group for production credit was classified into
four categories:1) developing the potential of committee and members; 2)
strengthening of economy and environment for the community to be self-reliance in sufficient economy philosophy; 3) strengthening local politics; and 4) strengthening knowledge management, technical matter and technology.
      5. There are six steps in the empowerment pattern to build the
sustainable development and self-reliance for the saving group for production
credit: 1) analyzing the community and the saving group for production credit
context with Focus Group method; 2) analyzing the potential of the saving group for production credit with SWOT Analysis method; 3) stipulating the vision and strategy; 4) arranging training course and study visit, arrange civil forum for making the action plan, implementation and evaluate in each vision and strategy; 5) sharing the experiences among themselves after the activity had been finished; and 6) exchanging the knowledge and experiences with the saving group for production credit network.

Downloads

Published

2014-11-26

How to Cite

สุธรรม ภ. (2014). การเสริมสร้างพลังทุนของชุมชนสู่ความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ :กรณีศึกษากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน (The Empowerment’s Pattern of the Saving Group for Production Credit for Sustainable Development of the Community in Upper Southern Region in. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 4(1), 101–124. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/78