การพัฒนากลยุทธ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังชายในเรือนจำ เขต 8 (The Development of Strategic of Prevention and Diminish the Problem of Prisoner’s Recidivism the Provincial Prison Region 8)

Authors

  • อัคคกร ไชยพงษ์ Suratthni Rajabhat University

Keywords:

การกระทำผิดซ้ำผู้ต้องขังชายในเรือนจำเขต 8, การพัฒนากลยุทธ์, The Development of Strategic, Prisoner’s Recidivism The Provincial Prison Region 8

Abstract

งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสาเหตุการกระทำผิดซ้ำและเพื่อศึกษามาตรการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังชายในเรือนจำเขต 8 รวมทั้งเพื่อเสนอการพัฒนากลยุทธ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเรื่องการพัฒนากลยุทธ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังชายในเรือนจำเขต 8 ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ การสนทนากลุ่ม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังชายในเรือนจำเขต 8 มาจากขาดการขัดเกลา และขาดความอบอุ่นจากครอบครัว ความคึกคะนอง กลุ่มเพื่อน ไม่ได้รับความไว้วางใจจากสังคม อาศัยอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรม และยาเสพติด รายได้ของครอบครัวต่ำ พื้นที่ในเรือนจำคับแคบและการศึกษาต่ำ สำหรับมาตรการและการแก้ไขปัญหา ครอบครัวต้องแก้ไข โดยให้อภัย ดูแลให้คำปรึกษา เป็นแบบอย่างที่ดี องค์กรทางสังคมต้องร่วมมือกันแก้ไข ให้การยอมรับ และร่วมมือกันกำจัดอบายมุข จัดหาอาชีพและจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือ ให้กำลังใจ ไม่ตำหนิ ยกย่องการทำความดี มีกฎหมาย ล้างมลทิน เรือนจำต้องปรับปรุงด้านพื้นที่ สวัสดิการ และการให้การศึกษา สำหรับการพัฒนากลยุทธ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำดำเนินการด้วยกลยุทธ์ดังนี้ กลยุทธ์ด้านครอบครัว ครอบครัวต้องมีความใกล้ชิดกับผู้ต้องขัง มีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ต้องขังทั้งในระหว่างที่ต้องขัง และเมื่อพ้นโทษกลับสู่ครอบครัวแล้ว ครอบครัวต้องให้อภัยและให้โอกาสผู้กระทำผิดในการกลับตัว ส่งเสริมให้ผู้พ้นโทษทำความดีและประกอบอาชีพโดยสุจริต ยอมรับผู้พ้นโทษที่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดี กลยุทธ์ด้านสังคม หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต้องให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือดูแลผู้ต้องขังหลังพ้นโทษ ให้กลับตัว ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสังคม กลยุทธ์ด้านสภาพแวดล้อม ชุมชนต้องช่วยเหลือ บำบัดฟื้นฟูผู้ต้องขังภายหลังพ้นโทษ หน่วยงานในชุมชนต้องจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีภายในชุมชน โดยกำจัดสิ่งที่เป็นอบายมุขและยาเสพติดในชุมชน นำระบบยุติธรรมชุมชนมาใช้ในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดซ้ำ ชุมชนต้องยอมรับ ให้อภัย และให้กำลังใจในการประกอบอาชีพของผู้ต้องขังหลังพ้นโทษ กลยุทธ์ด้านเศรษฐกิจ จัดตั้งกองทุนให้ผู้ต้องขังที่พ้นโทษได้กู้ยืมเงินไปประกอบอาชีพหรือการจัดตั้งสหกรณ์เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องขังหลังพ้นโทษ ให้ความรู้และสนับสนุนเครื่องมือ สถานที่ในการประกอบอาชีพภายหลังพ้นโทษ กลยุทธ์ด้านแรงจูงใจ ควรมีกฎหมายล้างประวัติผู้ต้องขังที่พ้นโทษ ซึ่งไม่ได้กระทำผิดซ้ำอีก ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้เป็นผู้บริสุทธิ์ สร้างแรงจูงใจผนวกกับโปรแกรมต่างๆ ด้วยการให้รางวัลเมื่อกระทำความดี การลดโทษ การเลื่อนชั้นผู้ต้องขัง การให้อภัยโทษ และการให้เยี่ยมญาติโดยใช้สิทธิพิเศษ กลยุทธ์ด้านการแก้ไขฟื้นฟูในเรือนจำ ปรับปรุงสภาพพื้นที่และสวัสดิการในเรือนจำให้ได้มาตรฐานสากลโดยให้หน่วยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วม และเน้นที่การแก้ไขฟื้นฟูมากกว่าการลงโทษ

     This research was aimed at studying the causes and prevention of the
problem of prisoner’s recidivism in order to find out the proposal of the strategic prevention and diminish the problem of prisoner’s recidivism. The research methodology was mix method; the implementation for collecting data was questionnaire which had the reliability at 0.96. The statistics used for data analyze were percentage, average, deviance standard, t-test ANOVA analysis and the pair comparison Schaffer’s multiple contrast method.

      The research found that: The causes of recidivism of men imprisoned in
the region jail 8 are: lack of socialization and closely family relationship,
impetuously, influenced from a group of friend, retain from the community, living in slum and drugs addict, families low-income and illiteracy. For the
measurement and diminish the problems are as: their families have to give a
good collaboration by furnish them forgiveness, care consultation and confirm
them good examples. Social organizations have to accept them, offer them good collaboration, and eliminate smacking in society. Facilitating them by
establishment of fund and providing a professional support, encourage them to
be good persons in society and do not blame their pass experiences. Enact law
to clear legal stigma. The prisons have to improve the areas, welfare and
education for them. For the Strategic Development to prevent and diminish the
problems of recidivism are as follows. Family strategies: families must have a
closely relationship to the prisoners during their imprisonment until return to their own family, forgive them, offer opportunity for them to practice as a good
persons. Social strategies: the public and private sectors must support those
prisoners after released from the imprisonment in order to facilitate them the
morality, ethics and promote the Sufficiency Economy Philosophy. The Environmental Strategy: the community must promote to rehabilitate prisoners after releasing from imprisonment by organize a good environment, provide a community justice system, and motivate them to do an honest career in community. The Economic Strategy: establishment of fund and co-operative for them after releasing from imprisonment. The Motivation Strategy: enact law to get rid of crime bibliography for the released prisoner who practiced as a good person within the fixed time by the law as a clean man. The motivation is to be done along with programs such as give them awards when they do the good things by reduction an imprisonment, upgrading a prisoner class, royal pardon and allow their relatives to visit them by offering the special rights. The Rehabilitation Strategy: improvement of areas and offer proper welfare to the prisoners as a standard level, the outside sectors are able to participate and emphasize on rehabilitation more serious than a punishment.


Downloads

Published

2014-11-26

How to Cite

ไชยพงษ์ อ. (2014). การพัฒนากลยุทธ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังชายในเรือนจำ เขต 8 (The Development of Strategic of Prevention and Diminish the Problem of Prisoner’s Recidivism the Provincial Prison Region 8). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 4(1), 125–148. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/81