การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ : เทคนิคการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ (CORI) ร่วมกับกลวิธีอาร์ อี เอ พี (Critical Reading: Concept - Oriented Reading Instruction (CORI) Techniques with REAP Strategies)

Authors

  • สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Keywords:

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ, เทคนิคการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ (CORI), กลวิธีอาร์ อี เอ พี, Critical reading, Concept - Oriented Reading Instruction (CORI) Techniques, REAP Strategie

Abstract

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นการอ่านระดับสูงที่ต้องใช้สติปัญญาใคร่ครวญพิจารณาสิ่งที่อ่านอย่างรอบคอบ สรุปสาระสำคัญ ทั้งเข้าใจความหมายโดยนัยของถ้อยคำ อารมณ์ จุดประสงค์ของผู้เขียน สามารถแยกข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น เพื่อตัดสินประเมินค่าสิ่งที่อ่านได้อย่างถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ทักษะดังกล่าวจึงจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนและพัฒนา ทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสามารถพัฒนาได้ด้วยเทคนิคการอ่านแบบเน้น มโนทัศน์ (CORI) ร่วมกับกลวิธีอาร์ อี เอ พี ที่เป็นการจัดการเรียนการสอนซึ่งเน้นการฝึกทักษะการอ่านอย่างพินิจพิจารณาใคร่ครวญ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ และประเมินค่า อีกทั้งพัฒนาทักษะการคิดมีการเขียนไปพร้อมกัน โดยการประสานความคิด ประสบการณ์เดิม ประสบการณ์ใหม่ที่เรียนรู้ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความคิด กับกลุ่มเพื่อนจากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในเรื่องมาประสานให้มีความสอดคล้องกัน
สามารถอธิบายถ่ายทอดออกมาเป็นความคิดรวบยอด โดยมีขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 สังเกตและสำรวจตนเอง ขั้นที่ 2 ค้นคว้า ขั้นที่ 3 ทำความเข้าใจและวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นที่ 4 นำเสนอผลการอ่านในรูปแบบต่าง ๆ ขั้นที่ 5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขั้นที่ 6 คิดพิจารณาผลการอ่าน ซึ่งในแต่ละขั้นเป็นการเชื่อมโยงตั้งแต่การสรุปธรรมดาไปจนถึงการโต้ตอบอย่างมีวิจารณญาณและวิพากษ์วิจารณ์ในระดับสูง ส่งผลลัพธ์ให้เกิดความรู้ด้านข้อมูลอันเต็มเปี่ยมในขณะเดียวกันผู้อ่านจะได้มีการพัฒนาด้านการอ่าน การพัฒนาด้านการเขียน พัฒนาด้านการคิดที่มากขึ้น และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ดีขึ้น

Critical reading is a high level reading skill associated with the wisdom to analyze, summarize, and comprehend inferred words, emotions, objectives of an author. It enables readers to identify facts and opinions to give evaluation towards reading accurately. As a result, critical reading needs to be developed and this can be done through concept-oriented reading instruction (CORI) with REAP strategies. Both concepts promote teaching and learning management focusing on analyzing, synthesizing, interpreting, and evaluating together with developing writing skills. They allow integrative thinking, past as well as new experience, knowledge exchange, and thinking within groups of colleagues. Then, all information will be integrated and transferred. There are 6 stages in learning and teaching management which are: Stage 1: Observation and self-exploration, Stage 2: Investigation, Stage 3: Comprehension and content analysis, Stage 4: Presentation of reading in various forms, Stage 5: Knowledge sharing, and Stage 6: Analyzing reading. Each stage will be linked and connected from simple conclusion to critical debates and critics which allow complete information. At the same time, readers will be able to develop reading, writing, and thinking skills including interrelationship skills.

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). เทคนิคการใช้คำถามพัฒนาการคิด. นนทบุรี :

สหมิตรพริ้นติ้งแอนพับลิสซิ่ง.

ตวงรัตน์ คูหเจริญ. (2542, พฤษภาคม - สิงหาคม). ทัศนะของอาจารย์ภาษาไทยต่อ

การสอนวิชาภาษาไทยพื้นฐานระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย

หอการค้าไทย. 19(2), 102 - 110.

ว.วชิรเมธี. (2552). สั่งให้อ่านหรือสร้างแรงบันดาลใจให้รักการอ่าน. เนชั่นสุด

สัปดาห์. 18(905), 56-57.

สุจิตรา จรจิตร. (2557, มกราคม - เมษายน). ปัจจัยที่มีผลต่อการอ่านของนักศึกษาใน

สถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ของไทย. วารสารสงขลานครินทร์. 9(1), 45.

สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์. (2557). การพัฒนาการสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์

(CORI) ร่วมกับกลวิธีอาร์ อี เอ พี เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่าน

ภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัย

ราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

พันธุ์ทิพย์ เกื้อเพชรแก้ว. (2545 มิถุนายน). ปัญหาการสอนย่อความในระดับ

อุดมศึกษา. วารสารวิชาการ 5(6), 51- 58.

ณันท์ขจร กันชาติ. (2550). ผลของการสอนอ่านแบบ SQ3R ที่มีต่อความสามารถใน

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณและความสนใจในการอ่านภาษาไทยของ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร

มหาบัณทิต สาขาหลักสูตรและการสอน. กำแพงเพชร : บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

อังคณา ชัยมณี. (2540). การใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อ

ความเข้าใจโดยใช้กระบวนการ เรียนแบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคการแข่งขัน

ระหว่างกลุ่มเกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประถมศึกษา จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

เอมอร เนียมน้อย. (2551). พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ. กรุงเทพฯ :

สุวีริยาสาส์น.

อุบลวรรณ ปรุงวณิชพงษ์. (2551). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดย

ใช้กิจกรรมการอ่าน ให้คล่องสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

โรงเรียนราชินีบูรณะ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษา

ศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะ

ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Education Objectives :

The Classification of Education Gaols. New York : David Mckay.

Graves. M.F. and Graves, B.B. (2003). Scaffolding reading

experiences : designs for student success. 2 nd ed.

Massachusetts : Christopher- Gordon.

Harris, L.A. and Smith, C.B. (1986) .Reading Instruction. New York :

McMillan Publishing Company.

Wood, N.V. (1997). Collegs Reading instruction as reflected by

current textbooks. Journal of Collegs Reading and Learning.

(3), 79 - 95

Roe, B.D, Stood, B.D, and Burn, P.C. (2001). Secondary School

Literacy Instruction: The Content Areas. Boston:

Houghton Mifflin Charter of 1908: a textual-historical analysis.

LanguagePolicy. 1449–65.

Downloads

Published

2018-04-30

How to Cite

อักษรกาญจน์ ส. (2018). การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ : เทคนิคการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ (CORI) ร่วมกับกลวิธีอาร์ อี เอ พี (Critical Reading: Concept - Oriented Reading Instruction (CORI) Techniques with REAP Strategies). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 10(1), 91–114. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/851