ลิเกป่า : ก่อนสิ้นเสียงรำมะนา (Likey Pa : Before the End of Rebana ’ s Sound)

Authors

  • กลิ่น คงเหมือนเพชร Suratthni Rajabhat University

Abstract

การ ศึกษาเรื่อง “ลิเกป่า: ก่อนสิ้นเสียงรำมะนา” มีจุดประสงค์เพื่อเรียนรู้ความเป็นมาของการเล่นลิเกป่าในภาคใต้ของประเทศไทย ว่ามีกระบวนการและขนบนิยมอย่างไร ในอดีตการเล่นลิเกป่าเป็นหนึ่งในการสื่อสารมวลชนชาวบ้าน ทำนองเดียวกับหนังตะลุง มโนราห์ และอื่นๆ
ลิเกป่านอกจากเสนอความสนุกสนานในเชิงบันเทิงแล้วยังทำหน้าที่สื่อสารสิ่งที่ ต้องการสื่อให้ชาวบ้านเข้าใจได้ง่าย เมื่อศิลปินเหล่านี้เดินโรงจึงเปรียบเสมือนเป็นศูนย์การเรียนรู้เคลื่อนที่ แบบชาวบ้าน เท่ากับว่าได้ช่วยทำหน้าที่ขัดเกลาพฤติกรรมทางสังคมได้แบบหนึ่ง ปัจจุบันลิเกป่าเสื่อมความนิยมลง เพราะไม่อาจต่อต้านกระแสหลักความเจริญของโลกาภิวัตน์ได้ คนรุ่นใหม่เริ่มห่างไกลจากรากเหง้าของตนไปทุกที ขณะเดียวกันกับคนรุ่นก่อนล้วนสูงอายุ วัฒนธรรมบางประการไม่ได้รับการถ่ายทอด รอวันสูญสิ้นไปกับกาลเวลา
การสอดส่องไปดูลิเกป่าครั้งนี้ เผื่อจะบอกความนัยว่าการเล่นลิเกป่ากำลังถึงทางตันและจะสูญสิ้นในไม่ช้านี้ มีองค์กรใดบ้างที่จะหันกลับมามองการละเล่นของชาวบ้านบ้างหรือจะปล่อยให้ล้ม หายตายจากไป เหมือนหลายๆอย่างที่ผ่านมา
The study of “Likey Pa: Before the End of the Rebana’s Sound
(folk tambourine sound) ” aimed to learn about the process and cultural popularity as well as the background of Likey Pa in the South of Thailand. In the past, Likey Pa became a part of the mass communication among the villagers as well as the “Nang Talung” (shadow play), “Nora” (folk dance), and other folk performances.
In addition, the Likey Pa entertained the audience and became a channel of communications needed among villagers through the concise characters, poems, songs and local dialect. It is like a mobile learning center of culture in the traditional way of life, and also acts as a refined social behavior.
Currently, the Likey Pa is Likey to decrease in popularity due to the tide of change of globalization. The new generation is beginning to distance themselves from the cultural roots of traditional ways of life. Meanwhile, the older generation grew older. Some cultures are not inherited and will be lost with the changes that occur.
The insight study of Likey Pa is to explain a significant show that ends in stalemate and will be lost soon. Is there any organization that can support and help conserve the Likey Pa as well as other folk culture performances which has been lost?

Downloads

Published

2014-11-26

How to Cite

คงเหมือนเพชร ก. (2014). ลิเกป่า : ก่อนสิ้นเสียงรำมะนา (Likey Pa : Before the End of Rebana ’ s Sound). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 5(2), 63–92. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/87