ทิศทางยุทธศาสตร์ความมั่นคงและกำลังอำนาจแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน : กรณีศึกษาคนไทยพลัดถิ่นจังหวัดชุมพร (The Strategy of Security and National Power Involved in Human Rights: A Case Study of Thai Diaspora Chumporn Province)

Authors

  • วิศาล ศรีมหาวโร Suratthni Rajabhat University

Keywords:

ความมั่นคงและกำลังอำนาจแห่งชาติ, สิทธิมนุษยชน คนไทยพลัดถิ่น

Abstract

ทิศ ทางยุทธศาสตร์ความมั่นคงและกำลังอำนาจแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ มนุษยชน : กรณีศึกษาคนไทยพลัดถิ่น จังหวัดชุมพร เป็นงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและบริบทของคนไทยพลัดถิ่นในจังหวัดชุมพร 2) เพื่อศึกษาปัญหาความมั่นคงและกำลังอำนาจแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สิทธิมนุษยชนของคนไทยพลัดถิ่น และ 3) เพื่อค้นหาทิศทางยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความมั่นคงและกำลังอำนาจแห่งชาติใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนของคนไทยพลัดถิ่นจังหวัดชุมพร ประชากรตัวอย่างเป็นคนไทยพลัดถิ่น เจ้าหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ องค์กรพัฒนาเอกชนและผู้นำชุมชน เลือกตัวอย่างโดยวิธีการเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือการวิจัยเป็นการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) สนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ควบคู่ไปกับแผนที่ความคิด (Mind Maps) การวิเคราะห์ SWOT Analysis ผ่านกระบวนการ World Caf? และการรับฟังสาธารณะ (Public Hearing) ผลการวิจัยพบว่า คนไทยพลัดถิ่นเป็นกลุ่มบุคคลที่เข้าไปอยู่อาศัยและประกอบอาชีพในพื้นที่ของ ประเทศเมียนม่าร์ปัจจุบัน คือ เมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี ซึ่งอดีตเป็นของไทยที่ถูกขอพื้นที่โดยเจ้าอาณานิคมอังกฤษและคืนให้พม่าเมื่อ ปี พ.ศ. 2491 การปกครองแบบสังคมนิยมเผด็จการทหารพม่า ทำให้คนไทยเหล่านั้นต้องอพยพกลับไทย “พม่าบอกว่าเป็นคนไทย” เมื่อกลับเข้าประเทศไทย “ไทยบอกว่าเป็นคนพม่า” เพราะมีสถานภาพเชื้อชาติไทย แต่สัญชาติพม่า ขาดสภาพความเป็นพลเมืองไทยมีปัญหากระทบต่อความมั่นคงและกำลังอำนาจแห่งชาติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่สามารถทำนิติกรรมและติดต่อราชการในฐานะพลเมืองไทยได้ ไม่มีสิทธิรับการศึกษาที่รับรองคุณวุฒิและการสมัครงาน สิทธิการรักษาพยาบาลและการประกันสังคม การรับบริการพื้นฐานสาธารณะจากรัฐ การเป็นเจ้าของที่ดินทรัพย์สินและสิทธิอื่นๆ ที่พลเมืองไทยควรจะมี คงมีแต่สิทธิทางวัฒนธรรม ซึ่งยังยึดมั่นวัฒนธรรมและประเพณีไทยดั้งเดิมอยู่อย่างเหนียวแน่น ข้อเสนอทิศทางยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความมั่นคงและกำลังอำนาจแห่งชาติได้แก่ การเร่งรัดคืนสภาพความเป็นพลเมืองให้แก่คนไทยพลัดถิ่น การผ่อนปรนสิทธิการเลือกตั้ง สิทธิการรักษาพยาบาลและการประกันสังคม สิทธิการศึกษาที่มีการรับรองคุณวุฒิและการสมัครงาน และสิทธิบริการพื้นฐานสาธารณะ ตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด ทำงานประสานกับระดับชาติและท้องถิ่นอย่างบูรณาการ มีศูนย์ข้อมูลและคณะกรรมการติดตามและพัฒนาฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาคนไทยพลัดถิ่น โดยยุทธศาสตร์หลักเร่งด่วน คือ การเร่งรัด คืนสภาพความเป็นพลเมืองแก่คนไทยพลัดถิ่น เพราะจะสามารถแก้ปัญหาด้านสิทธิอื่นๆ ตามมาได้ และสามารถแก้ปัญหาความมั่นคงและเพิ่มกำลังอำนาจแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับสิทธิมนุษยชนของประเทศได้
The research on the Strategy of Security and National Power: A Case Study of the Thai Diaspora in Chumporn Province aims at: 1) to study background and context of the Thai diaspora in Chumporn Province; 2) to study the problems of security and national power in respect to human rights of Thai diasporas; 3) to search for the strategic direction and solution of security and national power in respect to human rights of the Thai diasporas in Chumporn Province. The sampling method was purposive sampling; the populations were Thai diasporas, the government officials who were involved in the group, local leaders, regional leaders, NGOs and community leaders. The research tools were documentary, in-depth interviews, focus group discussion along with Mind Maps, SWOT Analysis through the World Caf? and Public Hearing. The results were as follows: the Thai diaspora is a group of people who live and work in Myanmar especially in the areas of Mergui, Tavoy and Tanavasi. Previously, these cities had been parts of Thailand which were sought out by the British colonial. Since 2491, these areas had become parts of Burma which were ruling by socialist military dictatorship; as a result these people migrated to Thailand. "Burmese said that they are Thais, on the contrary, Thais said that they are Burmese”. In fact they are Thai by race' and Burmese by nationality. It is, therefore, they cannot have Thai citizenship. The problems affecting the security and national power in case of the human rights that had an Impact on their daily life; they can not commit legal acts as Thai citizens in government office. They have no right to education recognizes and job application, no right to medical care and social security including the basic public services, no right to own any piece of land and property. They have only the right to Thai culture which is adherence to traditional culture and tradition firmly. The suggestion of strategic direction to solve the problems of security and national power is to accelerate the citizenship to the Thai diasporas, relaxing to the rights to election, the right to medical care and social security, the right to education recognizes and job application, and the right to basic public service, establish the Board of committee in the provincial level in order to work integratively between national and local level, establish the information centre and Board of committee to develop and monitor restoration of culture, tradition and wisdom of the Thai diasporas. The main strategy is to accelerate their urgently restore citizenship to the Thai diasporas, because It can solve other rights also, and can resolve security problems including increase the national power and authority in respect of the human rights of nation.

Downloads

Published

2014-11-26

How to Cite

ศรีมหาวโร ว. (2014). ทิศทางยุทธศาสตร์ความมั่นคงและกำลังอำนาจแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน : กรณีศึกษาคนไทยพลัดถิ่นจังหวัดชุมพร (The Strategy of Security and National Power Involved in Human Rights: A Case Study of Thai Diaspora Chumporn Province). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 5(2), 155–182. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/97