พระภิกษุยักยอกทรัพย์ : ศึกษาความรับผิดทางอาญา และอาบัติตามพระวินัย(Embezzlement of Monks: Study of Criminal Liability and an ecclesiastical offense According to Discipline)

Authors

  • สุชาดา ศรีใหม่
  • ฉัตตมาศ วิเศษสินธุ์

Keywords:

พระภิกษุ, ยักยอกทรัพย์, รับผิดทางอาญา, อาบัติ, พระวินัย, Monk, Misappropriation, Criminal Liability, An Ecclesiastical Offense, Discipline

Abstract

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สังคมไทยส่วนใหญ่นับถือ และสืบทอด
กันมาเป็นเวลาช้านาน การอุปสมบทเป็นพระภิกษุถือได้ว่าเป็นการสืบทอดอายุ
พระพุทธศาสนาที่สำคัญยิ่ง ด้วยการยอมรับนับถือเอาศีลจำนวน 227 ข้อ มาเป็น
ข้อวัตรปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามความพระประสงค์ของพระพุทธองค์ที่ท่านทรง
บัญญัติพระวินัยเอาไว้ ซึ่งมีบทลงโทษที่เรียกว่า “อาบัติ” และการต้องโทษ คือ
การต้องอาบัติ นั่นเอง คำว่า “ปาราชิก” เป็นอาบัติที่หนักที่สุด เมื่อพระภิกษุรูป
ใดต้องเข้าแล้ว ย่อมขาดจากความเป็นพระภิกษุ ซึ่งต่อจากนี้ไปจะขอกล่าวเฉพาะ
อาบัติในข้อทุติยปาราชิก คือ “ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ได้ราคา 5 มาสก
ต้องปาราชิก” ขึ้นมาอ้าง สืบเนื่องจากว่ามี พระภิกษุรูปหนึ่งนำเงินของวัดไปซื้อ
ที่ดินและโอนเป็นชื่อตนเอง เป็นผลให้ที่ดินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของตนทันที ต่อ
มาได้ถูกฟ้องต่อศาลและตกเป็นจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ จึงยินยอมโอนที่ดิน
คืนกลับให้แก่วัดและพนักงานอัยการโจทก์ขอถอนฟ้องคดีก่อนจะมีคำพิพากษา
ของศาล พระภิกษุรูปนั้นจึงหลุดพ้นจากโทษอาญา เนื่องจากเป็นความผิด

อันยอมความได้ กลา่ วคือ ความผดิ นี้ผ้เู สียหายได้รบั ความเดอื ดรอ้ นโดยตรง แต่
บุคคลอื่นในสังคมหาได้รับผลกระทบจากการกระทำผิดนั้นด้วยไม่ ผู้เสียหายจึง
มีสิทธิยุติคดีเมื่อใดก็ได้
ประเด็นปัญหาก็ยังคงค้างอยู่ต่อไปว่า พระภิกษุรูปนั้นจะต้องอาบัติ
ปาราชิกตามพระวินัยหรือไม่ เรื่องนี้ได้มีมติโดยกรรมการมหาเถรสมาคมวินิจฉัย
ชี้ขาดว่า พระภิกษุผู้ก่อเหตุไม่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะว่าคดียักยอกเงินและ
ที่ดินดังกล่าวนั้น เรื่องได้ยุติที่ศาลชั้นต้นแล้ว รวมทั้งไม่มีการยื่นอุทธรณ์อีกต่อ
ไป คดีจึงเป็นอันสิ้นสุดลง ทำให้ชาวพุทธมองว่าเป็นการใช้ข้อตัดสินโดยอาศัย
พื้นฐานทางกฎหมายอาญาเพียงประการเดียว และไม่ได้ยืนอยู่บนพื้นฐานทาง
พระวินัยแม้แต่ประการใด ซึ่งแท้จริงแล้ว การที่พระภิกษุจะต้องอาบัติปาราชิก
และรู้แน่แก่ใจตนแล้ว ย่อมเป็นการขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที โดยไม่
จำต้องผูกพันกับคำวินิจฉัยของกรรมการมหาเถรสมาคมแม้แต่อย่างใด จึงขอ
นำเรื่องดังกล่าวนี้มาพินิจพิจารณาหาเหตุผล ด้วยหวังให้ชาวพุทธทั้งหลายได้
คลายวิจิกิจฉา ร่วมกันแก้ปัญหาด้วยสติปัญญาและป้องกันไม่ให้บุคคลใดมาบ่อน
ทำลายพุทธศาสนาได้ ด้วยการมีศรัทธาต่อพระภิกษุผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ที่
ยึดมั่นในพระธรรมวินัย เพื่อช่วยกันค้ำจุนให้พระพุทธศาสนาสถิตสถาพรสืบไป

Buddhism is a religion that most Thai society respects and
inherited for a long time. The monk ordination is regarded as the
successor to the age of Buddhism. By accepting the 227 precepts to
practice. To intend of the Buddha that he prescribed the discipline.
There are penalties called “An ecclesiastical offense” and the
punishment is also an ecclesiastical offense. The word “Defrock”
is the heaviest punishment when a monk break the discipline. It is 

absent from the monk. Henceforward I will only say an ecclesiastical
offense in defrock : The monk steal other things must be punished
(Defrock) Because of that. One monk led the monastery’s money
to buy the land and transfer it to his own name. As a result, the
land is immediately owned. Later, it was filed in court and became
a defendant for misappropriation. Therefore, he agreed to transfer
the land back to the temple and the plaintiff’s prosecutor to
withdraw the lawsuit before the judgment of the court. The monk
was released from criminal punishment. Because it is compoundable
offences, namely, this offense directly affected the victim. But other
people in society are not affected by the offense. The victim is
entitled to end the case at any time
The issue is the monk will have to sue an ecclesiastical
offense according to the discipline or not. This has been resolved
by the High Commissioner of the Association. The monk who
committed the crime does not have to be an ecclesiastical offense.
Because the misappropriation of money and land that has ended
at the Court of First Instance and no further appeal so the case
ended. So, the Buddhists view it is using the judgments only on
the basis of criminal law and not use on the basis of any discipline.
Therefore, let’s take this problem to consider the reason for the
Buddhists do not doubt and have faith in the monk who intend to
the discipline.

Author Biography

สุชาดา ศรีใหม่

Law SRU

Downloads

Published

2018-03-09