การนำหลักสุจริตมาใช้กับการให้ความเห็นทางกฎหมายภาษีอากรของเจ้าหน้าที่รัฐ Applying the Good Faith Principle to the Provision of Legal Advice, Taxation of Government Officials.

Authors

  • สัจจวัตน์ เรืองกาญจน์กุล

Keywords:

หลักสุจริต, กฎหมายภาษีอากร, เจ้าหน้าที่รัฐ Good faith, Taxation, Government officials.

Abstract

การให้ความเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีต่อผู้เสียภาษีอากร หรือการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเสียภาษีอากรมีความสำคัญอย่างยิ่ง ถึงแม้มิใช่เป็นการสั่งการให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องเสียภาษีอากรหรือได้รับสิทธิไม่ต้องเสียภาษีก็ตาม แต่เมื่อประชาชนผู้เสียภาษีอากรได้ขอความเห็น หรือหารือว่าตนเอง หรือกิจการของตนเองต้องเสียภาษีอากรหรือไม่ เจ้าหน้าที่รัฐอาจตอบ หรือให้ความเห็นที่ไม่ถูกต้องชัดเจนจนทำให้ผู้เสียภาษีอากรต้องแบกรับภาระภาษีมากเกินไปเช่นนี้ ผู้เสียภาษีอากรสามารถนำหลักสุจริตมาอ้าง หรือโต้แย้งความเห็น หรือเหตุผลในการประเมินจัดเก็บภาษีอากรของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือปฏิเสธที่จะไม่เสียภาษีอากรได้ หรือไม่โดยการศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการนำเอาหลักสุจริตมาใช้ในทางกฎหมายภาษีอากรของไทยเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศและวิเคราะห์ผลรวมถึงการเสนอแนะแนวทาง หลักเกณฑ์ของการนำหลักสุจริตมาใช้ในการให้ความเห็นทางกฎหมายภาษีอากรของเจ้าหน้าที่รัฐที่เหมาะสม

            จากการศึกษาพบว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมันและฝรั่งเศส โดยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยพบว่ามีความแตกต่างในหลายบางประการ       ซึ่งหลักสุจริตในบริบทประเทศไทยก็ได้ปรากฏในกฎหมายแพ่งเป็นส่วนใหญ่       ดังนั้น การนำหลักสุจริตมาใช้กับการให้ความเห็นของเจ้าหน้าที่ในทางกฎหมายภาษีอากรนั้นจึงสามารถนำมาปรับใช้ได้โดยอาจนำเอากฎหมายว่าด้วยการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐมาบังคับใช้ แต่ก็มีอุปสรรคหลายประการ ซึ่งงานวิจัยเล่มนี้ได้เสนอแนวทางและวิธีการที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย และเป็นธรรมแก่    ผู้เสียภาษีอากรและเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐต่อไป

The opinion of government officials towards the taxpayer of tax advice is essential, although not instructed anyone to lose taxable or non-taxable privileges. However, when the public taxpayer requests a comment or discusses that the self or their own businesses have to pay tax or not, the officials may answer or provide comments that are not clearly valid, making the taxpayer must carry the burden of excessive taxes incorrectly. In this example, the taxpayer can apply the good faith principle or dispute opinions or reasons in the assessment of collecting of the tax officials, or refuse to pay taxes or not.

The study found that in United States, United Kingdom, Germany and France, compared with Thailand to find having some differences which the good faith principle in the context of Thailand had appeared mostly in the civil law. Therefore, applying with the good faith principle to the opinion of the officials in relation to taxation is able to adapt, but there are several obstacles. This research which offers the guidelines and right ways to prevent corrupted and fairly to the taxpayer is beneficial to the practice of the government officials next.

Author Biography

สัจจวัตน์ เรืองกาญจน์กุล

Law SRU

Downloads

Published

2018-04-02