ปัญหาทางกฎหมายของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 37/2560

Authors

  • สิทธิกร ศักดิ์แสง

Abstract

ปัญหาทางกฎหมายของคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๗/๒๕๖๐ พบอยู่ ๓ ประเด็น คือ ประเด็นสถานะทางกฎหมายของคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๗/๒๕๖๐ นั้นมีฐานะเป็น “กฎหมาย”ที่มีผลเป็นการยกเว้น เปลี่ยนแปลง ระงับใช้กฎหมายหรือเป็นการสร้างกลไกขึ้นมาคู่ขนานกับกลไกที่มีอยู่แล้วตามกฎหมาย (พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗) ดังนั้น คำสั่ง หัวหน้า คสช.ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ต้องการให้ปลดระยะเวลาการรักษาราชการแทนอธิการบดีไม่เกิน ๑๘๐ วัน เป็นไม่มีระยะเวลา      ในระหว่างการดำเนินการสรรหาหรือดำเนินการเพื่อแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันประกาศ คำสั่งดังกล่าว คือ วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ และพบว่าคำสั่งดังกล่าวยังมีความสับสนและไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการยกเว้นพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ว่าบุคคลที่เกษียณอายุราชการ ถือเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนหรือพนักงานมหาวิทยาลัยสามารถดำรงตำแหน่งอธิการบดีได้หรือไม่นั้น ผู้เขียนเห็นพ้องด้วยกับศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองนครราชสีมา) ที่ได้มีคำพิพากษาถึงการดำรงตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยที่อยู่ภายใต้การบังคับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗    ต้องมีอายุไม่เกิน ๖๐ ปี

Author Biography

สิทธิกร ศักดิ์แสง

Law SRU

Downloads

Published

2018-07-27