มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมเนื่องจากคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ

Authors

  • ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ
  • สุรวุฒิ รังไสย์

Keywords:

การคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมProtection of Crime Victims' Rights Caused

Abstract

บทความวิจัยนี้มุ่งคดีอาญาที่รัฐเป็นโจทก์ กรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ไม่สามารถคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมได้อย่างเหมาะสมเพราะมีความล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพ และกฎหมายไม่บัญญัติให้ชัดเจนที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมสามารถขอให้องค์กรอัยการทบทวนคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับการหาพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง

ผลการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาพ.ศ.2544 พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการพ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรมพ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมเนื่องจากคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการมีเนื้อหาไม่ครอบคลุม ครบถ้วน ทำให้การคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและในหลายประเทศ

ผู้วิจัยเห็นว่าเห็นว่าควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าว และประเทศไทยจะต้องมีมาตรการทางกฎหมายในรูปแบบ “คณะกรรมการการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมอันเนื่องจากรัฐยุติการดำเนินคดีอาญาผู้ต้องหา”เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงระบบการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมเนื่องจากคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการให้มีความเหมาะสมเพื่อจะช่วยยกระดับในการพัฒนาระบบการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและเทียบเท่ามาตรฐานสากล

In Thailand, if a public prosecutor issues a non-prosecution order to any criminal cases filed by the state, it seems that the Criminal Procedure Code has no any appropriate measures to protect crime victim’s rights. In addition to the delay and inefficiency of official responses to victims, vague legislation on the review of non-prosecution orders and no any proper government agencies being in charge of discovering new evidence are causes to deteriorate victims’ right and opportunity.

Although the Act on the Compensation for Injured Persons and Expenses of and Compensation for the Accused in Criminal Cases B.E.2544 (2001), the Act on Protection of Witnesses in Criminal Cases B.E.2546 (2003), the Official Information Act B.E.2540 (1997), and the Justice Fund Act B.E.2558 (2015) have contained some clauses regarding the protection of crime victims’ rights caused by non-prosecution order of public prosecutor, it is still insufficient as international standards, and as other accountable law enforcement countries.

Thus, it is essential to Thailand in establishing “the Committee on Protection of Crime Victims’ Rights Caused by Termination of Public Prosecution against Defendant”. The working functions of the mentioned Committee is expected to solve aforementioned problems. It is also expected to efficiently enhance Thailand’s legal system on the protection of crime victim’s right caused by non-prosecution order of public prosecutor to meet international standards.

 

 

Author Biography

ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ

Law SRU

Downloads

Published

2018-07-27