อำนาจชอบธรรมของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในเมืองสุราษฎร์ธานี Legitimate Power of Vietnamese Thais in Suratthani Town

Authors

  • Krishna Thongkaew

Keywords:

อำนาจชอบธรรม, ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม, สุราษฎร์ธานี legitimate power, Vietnamese Thais, Suratthani Town

Abstract

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจชอบธรรมของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในเมืองสุราษฎร์ธานี ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 9 กรณีศึกษา สัมภาษณ์กลุ่ม1ครั้ง ภายใต้ข้อถกเถียงที่ว่าแม้สุราษฎร์ธานีจะเป็นเมืองใหม่และไกลจากริมแม่น้ำโขงชาวไทยเชื้อสายเวียดนามก็มีศักยภาพในการสถาปนาอำนาจชอบธรรมได้

          การวิจัยพบว่า ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามได้สถาปนาอำนาจชอบธรรมขึ้นในเมืองสุราษฎร์ธานี ผ่านสิทธิอำนาจ 3รูปแบบ อันได้แก่ รูปแบบแรกคือสิทธิอำนาจบุญบารมีที่มีการประกอบอาชีพด้วยความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน จนได้รับการยอมรับในการประกอบอาชีพเครื่องทำความเย็นกว่า 40 ปี ร้านตัดเย็บเสื้อผ้ากว่า 20 ปีและการรักษาผู้คนจนได้รับความไว้วางใจในฐานะหมอญวน รูปแบบที่สอง คือ สิทธิอำนาจประเพณีที่นำเอาอาหารซึ่งเป็นวัฒนธรรมและประเพณีของชาวเวียดนามมาเผยแพร่ในเมืองสุราษฎร์ธานีจนได้รับการยอมรับและมีผู้ทำหน้าที่สืบสานภาษาเวียดนามในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและในเมืองสุราษฎร์ธานีที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากรัฐบาลสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และรูปแบบสุดท้ายคือสิทธิอำนาจตามกฎหมายที่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลไทยในฐานะผู้แทนชาวเวียดนามเพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานราชการกับชาวเวียดนาม การได้รับการยอมรับจากโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีในการเข้าไปทำประโยชน์ให้สังคมในบทบาทของจิตอาสา และได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่อาสาสมัครคุมประพฤติในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

          กรณีดังกล่าว อำนาจชอบธรรม จึงเปรียบเสมือนแบบอย่างในการพัฒนาเยาวชน และบุคคลในสังคมให้ก้าวเดินไปได้อย่างถูกต้องดีงาม เกิดความชอบธรรมต่อไป

Abstract

         This paper aims to investigate the legitimate powerof the Vietnamese Thais people in Suratthani Town. Qualitative methodologywas implemented in the studywith the documentary researches,in-depth interviews of 9 case studies and 1 group interview under the discussion topic of although Suratthani Town is a new town and far away from Mekong River, the Vietnamese Thais still has potentially established the legitimate power by themselves.

         The results found that the legitimate power of the Vietnamese Thais was identified into three types. The first type was charismatic authority which was formed through Vietnamese’s working behaviors includingdiligence,providence, honesty and tolerance. The Vietnamese-Thai have conducted occupations such as refrigerator mechanicfor over 40 years, tailors for over 20 years, and traditional treatment as a Vietnamese physician, until they received acceptance from local people. The second type was traditional authority which was established through culture of Vietnamese foods and the preservation of Vietnamese language. In Suratthani, there was a person who received the decoration from Vietnamese government due to his effortto preserve the traditional language. The last type is rationality legal authority which was given by Thai government as a representative of Vietnamese people in Thailand in order to coordinate between government agencies and the Vietnamese. For instance, some Vietnamese Thais had chance to work in the provincial hospital as the volunteer, while some of them worked as the probation volunteer at the Suratthani Probation Office.

          According to such case, the rationality legal authoritycould be compared to the ideal for developing youths and peoples in societyso that they could follow the right path and maintain their legitimacy.

Author Biography

Krishna Thongkaew

อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ

สุราษฎร์ธานี

Lecturer in Social Studies, Faculty of Education, Suratthani Rajabhat University

References

เอกสารอ้างอิง

กฤษณะ ทองแก้วและคณะ. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). เหวียตเกี่ยว: ครอบครัวเลื่อนชั้นเพราะหิ้งบูชาแผ่นดิน. มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี. 6(2).

. (2557, กันยายน-ธันวาคม).อำนาจชอบธรรมและสิทธิอำนาจของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในการเลื่อนชั้นทางสังคม. สังคมลุ่มน้ำโขง.10(3).

โคเซอร์ลิวอิส เอ. (2547). นักปราชญ์ระดับโลก. กรุงเทพฯ: สถาบันวิถีทรรศน์.

จตุพร ดอนโสม. (2555).การสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของคนไทยเชื้อสายเวียดนามบ้านนาจอก.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เจษฎา ทองรุ่งโรจน์. (2560). พจนานุกรมอังกฤษ-ไทยสังคมวิทยา.กรุงเทพฯ: แสงดาว.

ธัญญาทิพย์ ศรีพนา และTrinhDieuThin.(2548).เหวียตเกี่ยวในประเทศไทยกับความสัมพันธ์ไทยเวียดนาม.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักนิคมสร้างตนเองขุนทะเล. ม.ป.ป. นิคมสร้างตนเองขุนทะเล.สุราษฎร์ธานี: ม.ป.พ.

รัตนาโตสกุล.(2548).มโนทัศน์เรื่องอำนาจ. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

วิภู ชัยฤทธิ์. (2553).ความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระหว่างชาวเวียดนามอพยพกับชาวไทยท้องถิ่นในจังหวัดพัทลุง.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Poole. (1970). The Vietnamese in ThailandA Historical Perspective. Inthaca and London: Cornell University.

Thongkaew.KandOthers.(2016,November)ConditionsAffectingSocialMobility of the VietnameseFamily in Thai Society.TheSocial Sciences. 11(3).

บุคลานุกรม

สัมภาษณ์กวี พานวัน.29 เมษายน 2560.

สัมภาษณ์ขนิษฐา เจนกำธร. 6 พฤษภาคม 2560.

สัมภาษณ์พายอน เลวัน. 6 พฤษภาคม2560.

สัมภาษณ์ติ่ง ดั้งกวง. 1 พฤษภาคม 2560.

สัมภาษณ์ธรรม เลเวียด. 1พฤษภาคม2560.

สัมภาษณ์อุทัย โตง๊อก. 1 พฤษภาคม 2560.

สัมภาษณ์เอี่ยน เหงี่ยนถิ. 6 พฤษภาคม 2560.

สัมภาษณ์กลุ่มเอี่ยน เหงี่ยนถิ ขนิษฐา เจนกำจร และแจ่ เวียนวัน. 7 พฤษภาคม 2560.

. 7 พฤษภาคม 2560.

References

Chairith,W.(2010).TheSocio-economicandpoliticalrelationshipbetween Vietnamese immigrants and the local Thais in Phatthalung.Master Thesis, Graduate School.Chaing Mai:Chiang Mai University.

Coser, L. A..(2004). Masters of Sociological Thoughts. Bangkok:Vithitath Publisher.

Donsom, J.(2008).The ethnic identity construction of the Vietnamese Thai inBanNaJok.KhonKaen: KhonKaen University.

Khuntalay Self-help Community Office.Khuntalay Self-help Community. Document.Suratthani.

Sripana Trinh Dieu Thin. (2005).Viet Kieu in ThailandinThai-Vietnamese relationship.Bangkok: Chulalongkorn University.

Thongkaew,KandOthers.(2014, July). Viet kieu: Family mobility based on themotherland shrine. Journal of Humanities and Social SciencesSuratthaniRajabhat University. 6(2).

. (2014, September).Legitimate Power and Authority in Social Mobility of Vietnamese Thai.Journal of Mekong Societies.10(3).

Thongrungroj, J. (2017). English-Thai Dictionary of Sociology. Bangkok: Saengdown.

TosakulR. (2005). Concept of Power. Bangkok: National Research Council of Thailand.

List of interviewees

Interview Ting Dung Kwuang.1 May 2017.

InterviewEianNguyenThi. 6 May 2016.

InterviewEianNguyenThi, KanittaJanekamthorn, jaeWeewan.7 May 2016.

.7 May 2016.

InterviewUthaiTokong.6May2017.

InterviewKanittaJanekamthorn.6 May2017.

InterviewPayonLewan.6 May 2017.

InterviewKaweePanwan.29 April 2017.

InterviewThamLeviet.1 May2017.

Downloads

Published

2018-12-21