ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจ การทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคใต้

Authors

  • ณฐกร รักษ์ธรรม นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • นิคม จารุมณี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์ รองศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Keywords:

ปัจจัยเชิงสาเหตุ, รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น, การเสริมสร้างพลังอำนาจครู, causal factors affecting, linear structure relationship model, teachers’ empowerment

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวม ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู กลุ่มตัวอย่างจำนวน 359 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (path analysis) โดยใช้โปรแกรมประยุกต์ 2) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในสถานศึกษา โดยผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครู จำนวน 6 คน เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูได้รับอิทธิพลทางตรงจากการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน การสร้างภาวะผู้นำครู และการสร้างบรรยากาศองค์การ ตามลำดับ ส่วนอิทธิพลทางอ้อมที่ส่งผ่านการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ได้แก่ การสร้างภาวะผู้นำครู และการสร้างบรรยากาศองค์การ ส่วนอิทธิพลรวม ได้แก่ การสร้างภาวะผู้นำครู การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และการสร้างบรรยากาศองค์การ 2) แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในสถานศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นสอดคล้องกันว่าควรนำไปใช้เป็นแนวทางในสถานศึกษาดังนี้ 1) ปัจจัยการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ควรนำไปใช้ในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2) ปัจจัยการสร้างภาวะผู้นำครู ควรนำไปใช้ในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูในการบริหารสถานศึกษา และ 3) การสร้างบรรยากาศองค์การ ควรนำไปใช้ในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา

 

The purposes of this research were to 1) construct a linear structural relationship model, to study direct, indirect, and total effects of a linear structural relationship model of causal factors affecting the teachers’ empowerment. The sample of 359 teachers in basic school in the south. The instrument was a questionnaire. The methods of data analysis were percentage, mean, standard deviation, and path analysis by applied program. 2) to study guidelines for the teachers’ empowerment working in schools. The experts are school administrators, educational supervisors, and teachers. The instrument was a semi-structured interview. Data were analyzed by content analysis. The research results were as follows: 1. A linear structural relationship model has index of the goodness of fit with the empirical data, and teachers’ empowerment directly influenced the motivation for work, the teacher leadership and the organizational climate, and indirectly through the motivation for work such as the teacher leadership and the organizational climate, the total effects such as the teacher leadership, the motivation for work and the organizational climate 2. Guidelines for the teachers’ empowerment working in schools. It indicated that mentioned above three interviewed agreed with the findings of three aspects : the motivation for work Should be used to enhance the performance of teachers in the teaching and learning activities. The teacher leadership should be used to enhance the performance of teachers to school administrators. And the organizational climate should be used to enhance the performance of teacher supervision in the field of education.

Published

2015-04-05