การศึกษาประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กร ของมหาวิทยาลัยมหิดล

Authors

  • นนท์หทัย วรวงศ์ไกรศรี นักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารธุรกิจบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Keywords:

ประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กร, effective internal communication in organization,

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารภายในองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดล 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดลจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ อันได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และตำแหน่งงาน 4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการสื่อสารภายในองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดล 5) หาแนวทางการสื่อสารภายในองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการ ศึกษาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหาร (สายบริหาร) อาจารย์ประจำ (สายวิชาการ) และเจ้าหน้าที่ (สายสนับสนุน) หลังจากนั้นเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรมหาวิทยาลัยมหิดล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร (สายบริหาร) อาจารย์ประจำ (สายวิชาการ) และเจ้าหน้าที่ (สายสนับสนุน) จำนวน 418 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified random sampling) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า

1. พฤติกรรมการเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารภายในองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาจำแนกตามประเภทของสื่อหรือช่องทาง พบว่า กลุ่มตัวอย่างเลือกใช้สื่อบุคคลมากเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสิ่งพิมพ์ตามลำดับ

2. ความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดลในภาพรวม พบว่า ระดับประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ส่งสารมีประสิทธิภาพเป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคือ ข้อมูลข่าวสาร ผู้รับสาร ช่องทางการสื่อสาร และการบริหารงานภายในองค์กรตามลำดับ

3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า

3.1  อายุ ประสบการณ์การทำงาน ตำแหน่งงานที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

3.2  เพศและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดลไม่แตกต่างกัน

4. ปัญหาและอุปสรรคการสื่อสารภายในองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดล แบ่งออกเป็น 2 ปัญหาหลักๆ คือ 1) ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการสื่อสาร 2) ปัญหาที่เกิดจาก การบริหารงานภายในองค์กร โดยผลวิเคราะห์จากข้อมูลเชิงปริมาณพบว่า ปัญหาและอุปสรรคการสื่อสารภายในองค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

5.  แนวทางการสื่อสารภายในองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีประสิทธิภาพ แบ่งออกเป็น 2 แนวทางหลักๆ คือ 1) แนวทางด้านกระบวนการสื่อสาร ได้แก่ ผู้ส่งสารควรพัฒนาทักษะการสื่อสารและจิตสำนึกให้มีใจบริการ ตัวข้อมูลข่าวสารควรปรับให้สารมีความเข้าใจง่ายชัดเจน กระชับ ต้องเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีแหล่งที่มาเชื่อถือได้ สื่อ/ช่องทางควรเพิ่มช่องทางการสื่อสาร เลือกใช้ช่องทางที่เหมาะกับผู้รับสารและควรเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ส่วนตัวผู้รับสารนั้น ควรเปิดใจเพื่อรับรู้ข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้น ควบคู่กับการพัฒนาทักษะการรับสารและการตีความหมายไปด้วย 2) แนวบริหารงานภายในองค์กร ได้แก่ ผู้นำองค์กรควรมีการวางแผนการทำงานด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร และต้องชี้แจงนโยบายให้ชัดเจน นอกจากนี้ยังควรต้องพัฒนาจิตสำนึกรักและภักดีต่อองค์กร ที่สำคัญต้องมีการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานให้มากขึ้นกว่าเดิมและผู้นำองค์กรควรสานต่อนโยบายการบริหารให้มีความต่อเนื่องด้วย

There were five objectives of this study: 1) to study Mahidol University officers’ behaviors in choosing communication channels, 2) to study the effective levels of communication at Mahidol University, 3) to compare opinions of Mahidol University officers towards the effectiveness of communication in the organization with regards to demographics, such as gender, age, educational background, work experiences, and work positions, 4) to study problems and obstacles of communication at Mahidol University, and 5) to determine guidelines for effective communication at Mahidol University. Both qualitative and quantitative methods were used. The qualitative data was collected using in-depth interviews and focus group interviews, with key informants consisting of administrators, lecturers, and academic support staff. The questionnaire was used to survey the sample’s opinions about the effectiveness of communication at Mahidol University. Stratified random sampling was used to select 418 samples, which were comprised of administrators, lecturers, and academic support staff. The results of this research were as follows:

  1. The overall behaviors of Mahidol University officers in choosing communication channels were at a moderate level. Considering types of communication channels, the sample mostly selected personal media.
  2. The overall opinions towards effective levels of communication at Mahidol University were at a moderate level. Considering the communication process and internal administration, the sender was the most effective.
  3. The comparisons of Mahidol University officers about the effectiveness of communication with regards to demographics showed the following:

3.1 People with differences in age, work position, and level of experience showed differences in opinions about the effectiveness of communication at Mahidol University at a significance level of .05.

3.2 People with differences in gender and educational background did not show differences in opinions about the effectiveness of communication at Mahidol University at a significant level.

  1. The problems and obstacles of communication at Mahidol University were classified into two types of problems: communication process and internal administration. The results of quantitative data analysis revealed that the overall level of problems and obstacles of communication in the organization was at a moderate level.
  2. The guidelines for effective communication at Mahidol University related to communication process and internal administration. Concerning communication process, it was determined senders should develop communication skills and service minds; messages should be clear, concise, easy to understand, and reliable; communication channels should be increased and appropriately selected; and receivers should be ready to perceive information and develop message receiving and interpreting skills. Regarding internal administration, it was determined organization leaders should plan about public relations and communication; administrators should communicate policies to the staff and encourage them to be loyal to the organization; and internal communication should be increased and the administrators should continue working on the stated policy.

Published

2015-04-05