กรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน : โอกาส และความท้าทาย

Authors

  • ศุภชัย ยาวะประภาษ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้อำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network) อดีตผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการศึกษาและการพัฒนา(SEAMEO RIHED)

Keywords:

กรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ, ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ, การนำนโยบายไปปฏิบัติ

Abstract

การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ทำให้ต่อไปอาเซียนจะกลายเป็น “ตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน” การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือในอาเซียนจะสะดวกขึ้น บัณฑิตที่จบการศึกษาในประเทศหนึ่งมีโอกาสที่จะไปทำงานในประเทศอื่นในอาเซียน ปัจจุบันผู้รับผิดชอบระดับสูงด้านเศรษฐกิจและด้านการศึกษาของประเทศต่างๆ ในอาเซียนได้ร่วมมือกันพัฒนากรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียนขึ้นมาเพื่อเป็นสะพาน “เชื่อม” กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติตามระดับการศึกษาต่างๆ เข้าด้วยกัน อันจะเป็นการเชื่อมระบบการศึกษาของประเทศต่างๆ ในอาเซียนเข้าด้วยกัน แต่กรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน เป็นเพียงกรอบมหภาคเท่านั้น กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติตามระดับการศึกษาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอาชีวะศึกษาแห่งชาติซึ่งเป็นระดับคุณวุฒิที่จะเปิดไปสู่ตลาดแรงงานจะเป็นบททดสอบที่ท้าทายระบบการศึกษาของทุกประเทศในอาเซียน บทเรียนจากการนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของประเทศไทยไปปฏิบัติอาจเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียนให้ประสบความสำเร็จในอนาคต

 

            Transforming ASEAN into ASEAN Economic Community in 2015 shall make ASEAN become a “single market and production base”. This will ease the movement of skilled labors within the region. Graduates will have opportunities to seek jobs not only in their own countries but also in other ASEAN countries. At present, those high-level-officers responsible for economics and education in ASEAN have developed the so-called “ASEAN Reference Qualification Framework”. This framework is aimed to connect the National Qualification Framework and Higher Education Qualification Framework of every ASEAN country. Nevertheless, this ASEAN Reference Qualification Framework is only a macro - framework. The National Higher Education Qualification Framework and the National Vocational Education Qualification Framework of each ASEAN country, which serve as tools for opening a gateway to labor markets, will be the real tests for every ASEAN country. Lessons learned from applying Thailand’s Higher Education Qualification Framework into practice should be beneficial for bringing ASEAN Reference Qualification Framework into life.

Downloads

Published

2016-02-07