การพัฒนาบทเรียนท้องถิ่นสาระสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ป่าต้นน้ำเขาประ – บางคราม อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่

Authors

  • มานะ ถูวะการ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • สุรพล เนาวรัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ธงชัย เครือหงษ์ รองศาสตราจารย์ ดร. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของพื้นที่ป่าต้นน้ำเขาประ – บางครามพัฒนาบทเรียนท้องถิ่นสาระสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ป่าต้นน้ำเขาประ – บางครามเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความตระหนักของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการใช้บทเรียนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย บทเรียนท้องถิ่น เรื่อง ป่าต้นน้ำเขาประ – บางครามแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีความยาก 0.35 - 0.75 ค่าอำนาจจำแนก 0.30 - 0.70 และค่าความเชื่อมั่น 0.74 และแบบวัดความตระหนักทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีค่าอำนาจจำแนก 0.21 - 0.87 และค่าความเชื่อมั่น 0.71 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า ป่าต้นน้ำเขาประ – บางคราม ตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลทุ่งไทรทอง ตำบลลำทับอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ปี พ.ศ. 2536 มีพื้นที่ประมาณ 97,700 ไร่ เดิมสภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์คนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากผืนป่าในการผลิตปัจจัยพื้นฐาน เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร จากการบุกรุกทำลายผืนป่าที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบให้ปัจจัยดังกล่าวลดลงรวมทั้งเกิดปัญหาน้ำไหลบ่า และปัญหาดินสไลด์ในบางพื้นที่ การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำของคนในชุมชนยังขาดความชัดเจนในเชิงนโยบายและการปฏิบัติ บทเรียนท้องถิ่น เรื่อง ป่าต้นน้ำเขาประ – บางคราม มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.79/81.75 ดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.66 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้บทเรียนท้องถิ่นสูงกว่า ก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักเรียนมีความตระหนักด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลังใช้บทเรียนท้องถิ่นสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

The purposes of this research were to study the context of Khaopra – Bangkram Watershed, to develop the local lessons on Life and Environment Strand : Khaopra – Bangkram Watershed, and to compare the students’ achievement and awareness between pretest and protest. The sample in this research was 40 Matthayomsuksa 4 students of Lamthubprachanukhrao School, Lamthub District, Krabi Province. The instruments used for data collection were the local lesson on Khaopra – Bangkram Watershed, the achievement test with the difficulty index value between 0.35 and 0.75 , the discrimination value of 0.21 - 0.87 and the reliability of 0.71. Mean percentage, standard deviation and t-test were used for data analysis.
The findings revealed that Khaopra – Bangkram Watershed is located in Thungtraithong and Lamthub sub-district, Lamthub District, Krabi Province. It was declared as a wildlife sanctuary in 1993, covering an area of 97,700 rai. In the past, the forest was plentiful and local people could take the use of it for basic factors. In addition, it was also the upstream sources. However, the increasing of deforestation causes the runoff and sliding soil problems. Meanwhile, local people lack the clarity in policies and practices of the watershed conservation.
The efficiency of the local lesson was 82.79/81.75 and the effective index was 0.66. The students’ achievement after taking the local lesson was significantly higher at the level of 0.05 as well as the awareness toward the environmental conservation which was also significantly higher at the level of 0.05.

Downloads

Published

2016-02-07