การจัดทำแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเลเพื่อกิจกรรมการดำน้ำลึก : เรือหลวงสัตกูด เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Authors

  • ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พิสดาร์ รุ่งเรืองทองทวี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กุลวิทย์ ลิ่มจุฬารัตน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

แหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเล, กิจกรรมการดำน้ำลึก, เรือหลวงสัตกูด

Abstract

การจัดทำแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเลเพื่อกิจกรรมการดำน้ำลึก : เรือหลวงสัตกูด เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 The Arrangement of Man Made Dive Site for SCUBA Diving Activity at the EX-HTMS Sattakut, Koh Tao, Surat Thani Province

การศึกษาครั้งนี้จัดทำโดยคณะทำงาน ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการศึกษาเรือหลวงสัตกูดเพื่อจัดทำแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเล และเป็นกิจกรรมการดำน้ำลึกของเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 จนถึง เดือนมกราคม 2557 เป็นระยะเวลา 31 เดือน เพื่อหาเทคนิควิธีการในการจัดตั้งเรือให้เหมาะสม ศึกษาการใช้ประโยชน์ และเพื่อการศึกษากลุ่มสัตว์เกาะติดและปลา ผลการศึกษา กำหนดให้เรือหลวงสัตกูดวางบริเวณทิศตะวันตกของเกาะเต่า ทางทิศใต้ของกองหินขาว ที่ระดับความลึกสูงสุด 27 - 28 เมตร จากผลการศึกษาด้วยแบบสอบถามจำนวน 100 ชุด พบว่า นักดำน้ำและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในบริเวณเกาะเต่า  มีความพึงพอใจมาก มีคนใช้ประโยชน์มากกว่า 100 คนต่อวัน ในส่วนของการศึกษากลุ่มสัตว์เกาะติด พบทั้งหมด 6 ไฟลัม 19 ชนิด มีกลุ่มปะการังเป็นสัตว์เกาะติดชนิดเด่น โดยปะการังดำ (Antipathes sp.) เป็นสัตว์เกาะติดที่มีความสำคัญ บริเวณทั่วทั้งเรือหลวงสัตกูดมีปะการังดำขึ้นมากกว่า 15,000 ต้นกลุ่มของปลามีทั้งหมด 15 ครอบครัว 27 ชนิด โดยแบ่งเป็นปลาผิวน้ำ พบปลากล้วยฟ้าหลังเหลือง (Caesio teres) และปลาหน้าดิน พบปลาสลิดหินเล็กสีเทา(Neopomacentrus cyanomos) เป็นชนิดเด่น ข้อเสนอแนะในการนำเรือมาจัดทำเป็นแหล่งดำน้ำลึก ได้แก่ ไม่ควรทาสีเรือ และให้ความสำคัญกับพื้นผิวในแนวตั้งของเรือ เนื่องจากเป็นบริเวณที่สัตว์เกาะติดมีการลงเกาะอย่างหนาแน่น การศึกษาในเรื่องสัตว์เกาะติดควรเริ่มตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป และทำอย่างต่อเนื่อง ควรมีการศึกษาการใช้ประโยชน์และประเมินความสำเร็จ

Downloads

Published

2016-06-14