จักรวรรดินิยมกับอธิปไตยของชาติไทย: กรณีศึกษาเหตุการณ์ ร.ศ. 112

Authors

  • อมร วาณิชวิวัฒน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

จักรวรรดินิยม, อานาจอธิปไตย, ชาติไทย

Abstract

 

จักรวรรดินิยมกับอธิปไตยของชาติไทย : กรณีศึกษาเหตุการณ์ ร.ศ. 112

Imperialism and Thailand's Sovereignty Case Study of the Paknam Incident 1893

 

 

 

ในช่วงเวลาสองร้อยปีก่อนที่ชาติมหาอานาจตะวันตกได้เข้ามารุกรานประเทศที่ด้อยกว่าด้วยกาลังทหาร ทาให้รัฐชาติที่ด้อยกว่าต้องยอมให้มีการเจรจาที่ไม่เป็นธรรม เกิดการลิดรอนอานาจอธิปไตยและการยึดครองประเทศในภูมิภาคต่างๆ ของโลกเป็นอาณานิคม ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่จงใจไม่ใช่เหตุบังเอิญ หรือเพราะผลพวงจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และเหตุอื่นใด แต่เกิดจากความย่ามใจและเชื่อมั่นว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอานาจทางการทหาร จะเป็นเครื่องนาพาความยิ่งใหญ่และความมั่งคั่งมาสู่ชาติของตน และเชื่อในแนวคิดของชาร์ลส์ ดาร์วิน ว่าด้วยการอยู่รอดของผู้ที่แข็งแรงกว่า พระมหากษัตริย์ไทยนับแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาต่างทรงตระหนักถึงภัยอันเกิดจากจักรวรรดินิยมเหล่านี้ ตั้งแต่จีนแพ้สงครามฝิ่นและต้องทาสนธิสัญญาที่เสียเปรียบอังกฤษนานัปการ ญี่ปุุนถูกสหรัฐอเมริกาบังคับให้เปิดประเทศ พม่า อินเดีย กลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ขณะที่เวียดนาม เขมร ลาว เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ส่วนประเทศไทยก็มีปัญหาความสัมพันธ์

กับฝรั่งเศสที่อ้างสิทธิการครอบครองทั้งเรื่องของเขมร สิบสองจุไทย และดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้าโขง นาไปสู่วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 เหตุผลที่ไทยต้องยอมตามคาขาดของฝรั่งเศสอย่างเกือบสิ้นเชิง ก็เพราะอังกฤษปฏิเสธที่จะให้ความช่วยเหลือเพราะต้องการให้ไทยเป็นรัฐกันชนของตนกับฝรั่งเศส จึงไม่ต้องการบาดหมางกับฝรั่งเศส กุศโลบายของชาติไทยเพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติ จึงเริ่มขึ้นตั้งแต่การเตรียมการฝึกฝนผู้นาให้เรียนรู้และเข้าใจถึงแนวทางวิถีชีวิตของสังคมตะวันตก การจัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงหรือการส่งพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จไปศึกษาต่อยังประเทศมหาอานาจต่างๆ เพื่อกลับมาวางรากฐานการปฏิรูปการปกครองของประเทศ ก่อนหน้านั้นรัชกาลที่ 4 ได้ทรงส่งราชทูตไปเจริญราชไมตรีกับประเทศอังกฤษ และรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสประเทศต่างๆ ในยุโรปเพื่อแสวงหามิตรใหม่และทาให้มหาอานาจต่างๆ ยอมรับประเทศไทยในฐานะประเทศเอกราชมีอานาจอธิปไตยเท่าเทียมกับสังคมนานาชาติ และผลจากการที่รัชกาลที่ 6 ทรงเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทาให้ไทยได้เรียกร้องให้ประเทศตะวันตกทบทวนแก้ไขสนธิสัญญาที่ผูกมัดไทยทั้งในด้านอานาจศาลกงศุลและภาษีศุลกากร โดยเริ่มจากสหรัฐอเมริกาที่สัญญาว่าจะร่วมมือกับไทยในการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตโดยไม่เรียกร้องข้อตอบแทนใดๆ นาไปสู่การเจรจากับประเทศอื่นๆ นับสิบประเทศให้ไทยได้มีอิสรภาพในเรื่องอานาจทางการศาลและการภาษีอากรอย่างสมบูรณ์ในที่สุด

 

ปัจจุบันภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยมก็ยังไม่หมดไป แต่มาในรูปของการครอบงาทางเศรษฐกิจ การเอารัดเอาเปรียบด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งด้วยการกาหนดพิกัดอัตราภาษีหรือการวางมาตรฐานในรูปแบบและเงื่อนไขต่างๆ เช่น ไม่ค้าขายกับประเทศที่มีปัญหาการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานสตรีและเด็ก การปิดกั้นเสรีภาพของประชาชน หรือประเทศที่ได้อานาจรัฐ มาด้วยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามทานองคลองธรรม ปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถแก้ด้วยการใช้กาลังทหารหรือการทูต ดังที่เคยใช้ในกรณี ร.ศ. 112 แต่ต้องอาศัยการจัดระเบียบภายในประเทศ การสร้างความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจของคนในชาติ และพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าทัน ที่มาจากการครอบงาทางเทคโนโลยีและการสื่อสารที่ส่งผ่านลัทธิความเชื่อและวัฒนธรรม ปะปนมาในรูปการให้ความช่วยเหลือ การแลกเปลี่ยน และข้อตกลงหรือความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐหรือระหว่างรัฐในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

 

 

Downloads

Published

2016-06-14