การปรับปรุงนโยบายมาตรฐานการครองชีพของประเทศไทย ด้วยปัจจัยด้านความพึงพอใจทางสังคม

Authors

  • ถวิลวดี บุรีกุล สถาบันพระปกเกล้า
  • สติธร ธนานิธิโชติ สถาบันพระปกเกล้า
  • รัชวดี แสงมหะหมัด สถาบันพระปกเกล้า

Keywords:

นโยบายทางสังคม, พลเมือง, ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ

Abstract

นโยบายทางสังคมมีผลโดยตรงต่อการอยู่ดีมีสุขของประชาชนและตัวระบบที่จะใช้พัฒนาสภาพความเป็นอยู่ ทั้งนี้ มีหลายหลากประเด็นที่มีผลกระทบต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในสังคม บทความฉบับนี้ได้นำเสนอผลจากการสำรวจคุณภาพทางสังคมในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากแบบสอบถามของ ACSQ หรือ Asian Consortium for Social Quality ซึ่งทำการสำรวจโดยสถาบันพระปกเกล้าในช่วงปลายปี 2552 และปี 2555 เพื่ออธิบายถึงปัจจัยสำคัญที่ผลกระทบต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อมาตรฐานการครองชีพในประเทศไทยและเพื่อศึกษาว่านโยบายทางสังคมใดที่ควรกำหนดขึ้นมาเพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่ของคนไทยให้ดีขึ้น เนื่องจากรัฐบาล (น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ได้มุ่งเน้นที่นโยบายประชานิยม ซึ่งแตกต่างจากนโยบายสวัสดิการ และก่อให้เกิดความขัดแย้งกันอย่างมากในสังคมไทย เม็ดเงินจำนวนได้ถูกใช้เพื่อสนับสนุนความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบทและกลุ่มคนยากจน จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าที่อยู่อาศัย การมีงานทำ สถานะทางการเงิน และชีวิตครอบครัวมีผลกระทบทางบวกต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อมาตรฐานการครองชีพทั้งในปี 2552 และ 2555 ในขณะที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบที่ไม่ได้ทำกันทั่วไปมีผลกระทบทางลบ ในปี 2555 ดังนั้น นโยบายทางสังคมที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทยควรจะมีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจซึ่งเกี่ยวพันกับปัจจัยที่ได้กล่าวมาข้างต้น

Downloads

Published

2017-01-16