ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กับการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11

Authors

  • ปฐมา ชุมศรี นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • บรรจง เจริญสุข ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • สมคิด นาคขวัญ ดร. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Keywords:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การจัดการความรู้, transformational leadership, knowledge management, school administrators,

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ระดับการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูปฏิบัติหน้าที่สอนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 320 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเชื่อมั่น ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยที่การกระตุ้นทางปัญญา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ระดับการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยที่ด้านการแสวงหาความรู้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The purposes of this research were to study the transformational leadership level the knowledge management level of educational administrators and the relationship between the transformational leadership level and knowledge management level of educational administrators in the Secondary Educational Service Area Office 11. Three hundred and twenty teaching teachers in Surat Thani were included as the sample size of this study. The respond rate of data collection questionnaire was used as the data instrument. Percentage, mean, standard deviation and correlation analysis was used to the statistical analysis, Pearson’s test. The results of this study showed that the overall level of the transformational leadership in the Secondary Educational Service Area Office 11 had high level. Regarding each areas of the transformational leadership showed that all areas of the transformational leadership had high level. The sort average levels of transformational leadership areas were the intellectual stimulation. For the knowledge management level showed that the overall level of knowledge management level had high level. Concerning each areas of the knowledge management level for educational administrators showed that all areas of the knowledge management levels had high level. The sort average levels of the knowledge management areas were the knowledge Acquisition. The positive relationship between the transformational leadership level and knowledge management level of educational administrators in The Secondary Educational Service Area Office 11 was statistically significant level of .05.

Published

2015-04-05