กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสถาบันอุดมศึกษา เขตภูมิศาสตร์ภาคใต้

Authors

  • ศิริวรรณ จุลทับ นักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารธุรกิจบริการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • จินตนา ตันสุวรรณนนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารธุรกิจบริการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Keywords:

การประชาสัมพันธ์, กลยุทธ์เชิงรุก, สถาบันอุดมศึกษา

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกและปัจจัยความสำเร็จของการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสถาบันอุดมศึกษาเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้ 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและ การสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้บริหารงานระดับสูง 2) กลุ่มหัวหน้าประชาสัมพันธ์ 3) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายประชาสัมพันธ์ และ 4) กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา จำแนก แยกแยะ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล และถอดประเด็นเนื้อหาสำคัญเพื่อนำไปสู่การสร้างข้อสรุปในการตอบคำถาม และวัตถุประสงค์วิจัย
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
1. กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกของทั้ง 3 มหาวิทยาลัย คือ 1) มีนโยบาย การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจน 2) มีกิจกรรมและวิธีการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย ตามเป้าหมายและวัฒนธรรมองค์กร 3) มีเครื่องมือและช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายและทันสมัย 4) มีการสร้างเครือข่ายในการติดต่อประสานงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และ 5) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใช้เทคนิควิธีการประชาสัมพันธ์ที่แตกต่างและโดดเด่น
2. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของมหาวิทยาลัยทั้ง 3 แห่ง มีลักษณะที่สอดคล้องกันประกอบด้วย 1) การมีนโยบาย เป้าหมายที่ชัดเจนนำสู่การปฏิบัติ และวิสัยทัศน์ของผู้นำ 2) ความพร้อมขององค์กร และบุคลากรที่มีความรู้ตรงสายงาน 3) การสร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากร 4) การมีส่วนร่วมของผู้นำและบุคลากร 5) การใช้ช่องทางที่หลากหลายและทันสมัยและ 6) การจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์ สร้างสัมพันธ์กับสื่อมวลชน
This research aimed to study proactive public relations strategies and key success factors of the three southern higher education institutions namely Prince of Songkla University, Suratthani Rajabhat University and Hat Yai University. Key informants were 1) senior administrators, 2) heads of public relations divisions, 3) staff in public relations divisions, and 4) stakeholders. Qualitative research methods of in-depth interview and focus group along with guided questions from researcher - made interview guidelines were used to collect data. Data obtained from in - depth interview and focus group was transcribed and documents were analyzed. Subsequently, descriptive analysis was used to categorize the data into themes and sub - themes according to research questions. Finally, all the themes and sub-themes were organized into finding chapter.
The results revealed that five main strategies were required to achieve the proactive public relations including 1) clear policies on proactive public relations, 2) variety of activities and methods of proactive public relations to achieve each goal and contribute to organizational culture, 3) various and modern communication tools and channels, 4) creation of networks to coordinate outreach communication, and 5) initiative techniques to promote different and distinctive public relations.
The findings also indicated six salient key success factors as follows : 1) a clear policy along with leaders’ practical visions to put the policy into practice 2) availability of organizations and experienced personnel with particular expertise, 3) concerns on raising moraie and encouragement to personnel, 4) participations of leaders and staff, 5) diverse and modern communication channels, and 6) building strong relationships with other mass media.

Downloads

Published

2016-02-07