การบริหารจัดการการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Authors

  • จันทิมา องอาจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Keywords:

การบริหารจัดการ, การบริการวิชาการ

Abstract

การวิจัยเรื่องการบริหารจัดการการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการและเพื่อสร้างแนวทาง การบริหารจัดการการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เก็บข้อมูลจากบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีที่ปฏิบัติงาน ประจำปีการศึกษา 2559 จำนวน 257 คน โดยการสุ่ม ตัวอย่างแบบบังเอิญใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากคณะกรรมการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 24 คน โดยใช้การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม

ภายนอกในการพัฒนาชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย 2) การกำหนดชุมชนหรือองค์การเป้าหมายของการให้บริการทางวิชาการ 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแผนบริการวิชาการแก่สังคมของอาจารย์ทุกคณะในมหาวิทยาลัย 4) การจัดทำแผนการบริการวิชาการ โดยการมีส่วนร่วมจากชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย 5) ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายได้รับการพัฒนาและมีความเข้มแข็งมีหลักฐานปรากฏชัดเจน 6) การดำเนินการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องของชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย ส่วนสภาพปัญหาในการบริหารจัดการการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้แก่ ปัญหาด้านโครงสร้างการบริหารงานและการดำเนินงานของหน่วยงานกลาง คณะกรรมการบางส่วนยังไม่เข้าใจระเบียบและแนวปฏิบัติด้านการเบิกจ่ายงบประมาณ  การให้ความสำคัญในพันธกิจการให้บริการวิชาการของหน่วยงานในสังกัดและการคิดภาระงานให้กับอาจารย์ที่รับผิดชอบโครงการ รวมทั้งด้านการบริหารจัดการโครงการและการประสานงานกับพื้นที่เป้าหมาย และปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนพื้นที่เป้าหมายของการให้บริการวิชาการ 

            ผลการสร้างแนวทางการบริหารจัดการการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พบดังนี้ ควรจัดตั้งหน่วยงานกลางโดยกำหนดโครงสร้างการบริหารงานและบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน กำหนดชุมชน/องค์กรพื้นที่เป้าหมายในการให้บริการแล้วร่วมกันศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนา แต่งตั้งคณะกรรมการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญรับผิดชอบตามโครงสร้าง จัดทำแผนงานโครงการบริการวิชาการให้สอดคล้องกับพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน บริหารจัดการโครงการตามแผนโดยบูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานทั้งหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กำหนดกรอบการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการแก่สังคมให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์และสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินทุกมิติ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์กับชุมชนท้องถิ่น องค์การเป้าหมาย นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ สรุปผลการดำเนินงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการเพื่อวางแผนการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานครั้งต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Downloads

Published

2018-05-01