ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีการกำกับตนเองและระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนโมบายเลิร์นนิ่ง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการสร้างสื่อการสอนมัลติมีเดียของนักศึกษาครู
Keywords:
self-regulated, self-efficacy, multimedia productionAbstract
งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีการกำกับตนเองและระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนโมบายเลิร์นนิ่ง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการสร้างสื่อการสอนมัลติมีเดียของนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาครูที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา1032502 การสร้างสื่อการเรียนการสอน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 3 จำนวนทั้งสิ้น 211 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสถิติทดสอบสมมติฐาน Two Way ANOVA
ผลการวิจัย พบว่า
1. กลุ่มผู้เรียนที่มีระดับการรับรู้ความสารถของตนเองสูงที่มีรูปแบบการกำกับตนเองด้านสิ่งแวดล้อม มีคะแนนเฉลี่ยของระดับประสิทธิภาพในการสร้างสื่อการสอนมัลติมีเดียทั้ง 7 ด้าน
ที่ระดับ 23.06 (ร้อยละ 79.51) ซึ่งสูงกว่าผู้เรียนที่มีรูปแบบการกำกับตนเองด้านภายในบุคคล 22.27 (ร้อยละ 76.79) และด้านพฤติกรรม 21.21 (ร้อยละ 73.13)
2. กลุ่มผู้เรียนที่มีรูปแบบการกำกับตนเองด้านพฤติกรรมที่มีการรับรู้ความสามารถของตนเองระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ยของประสิทธิภาพในการสร้างสื่อการสอนมัลติมีเดียทั้ง 7 ด้านที่ระดับ 21.72 (ร้อยละ 74.89) ซึ่งสูงกว่าผู้เรียนที่มีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองสูง 21.21 (ร้อยละ 73.13) และต่ำ 20.20 (ร้อยละ 69.65)
3. การศึกษาปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างรูปแบบการกำกับตนเองและระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองที่ส่งผลต่อทักษะการสร้างสื่อการสอนมัลติมีเดียของนักศึกษาครู พบว่า รูปแบบการกำกับตนเองและระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่อทักษะการสร้างสื่อการสอนมัลติมีเดีย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05