การพัฒนาชุดฝึกอบรมการใช้ประโยชน์จากแมลงในท้องถิ่นของเกษตรกร
Keywords:
การใช้ประโยชน์จากแมลงในท้องถิ่น, การพัฒนาชุดฝึกอบรมAbstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแมลงในท้องถิ่นของเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่องการใช้ประโยชน์จากแมลงในท้องถิ่นของเกษตรกรศึกษาผลการทดลองใช้ชุดฝึกอบรมและผลการดำเนินการฝึกอบรมศึกษาการใช้ประโยชน์จากแมลงโดยสัมภาษณ์เกษตรกร 70 คน ศึกษาความรู้ความเข้าใจเรื่องแมลง โดยจัดการสนทนากลุ่มเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง 10 คนเพื่อกำหนดแนวทางการสร้างชุดฝึกอบรมเรื่องการใช้ประโยชน์จากแมลงในท้องถิ่นของเกษตรกร และทดลองใช้ชุดฝึกอบรมโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอ่างง่าย เป็นเกษตรกรผู้ทำการเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ 33 คน
ผลพบว่า 1) เกษตรกรใช้แมลงเป็นอาหาร 13 ชนิดคือ ด้วงงวงมะพร้าว ด้วงรำข้าวสาลี แมลงนูนหลวง จักจั่น มดแดง ต่อ ผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ผึ้งหลวง ชันโรง แมลงเม่า หนอนผีเสื้อต้นตาตุ่ม จิ้งหรีด และ นำมดแดง ต่อหัวเสือ ผึ้งพันธุ์ และชันโรงช่วยเพิ่มผลผลิตเกษตร 2) เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของแมลงในท้องถิ่นต้องการฝึกอบรมเรื่องเกี่ยวกับแมลงในท้องถิ่น 3) ชุดฝึกอบรมที่สร้างขึ้นมีเนื้อหา 5 เรื่องคือ ความรู้เกี่ยวกับ
แมลงในท้องถิ่น การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี กับดักแมลงการเลี้ยงชันโรง การเลี้ยงหนอนด้วงรำข้าวสาลี แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจมีค่าความยาก 0.39 - 0.76 ค่าอำนาจจำแนก 0.22 - 0.46 ค่าความเชื่อมั่น 0.89 ชุดฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ 83.46/ 84.60ตามเกณฑ์ 80/ 80 4) ผลการทดลองใช้ชุดฝึกอบรมพบว่าเกษตรกรมีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังฝึกอบรม 14.12, 26.52 ตามลำดับ เปรียบเทียบคะแนนพบว่ามีความแตกต่างกันที่ระดับ .05 และเกษตรกรมีความคิดเห็นว่าการดำเนินการอบรมเหมาะสมในระดับมาก ( =4.32) ทั้งด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต