กรอบแนวคิดเพื่อการอธิบายการบริหารจัดการเมือง

Authors

  • รงค์ บุญสวยขวัญ

Abstract

       บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะอธิบายถึง กรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเมือง  ในฐานะที่เมืองเป็นฐานทางสังคมมีมาก่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอันเป็นกลไกรัฐบาลที่ทำหน้ารับผิดชอบในการให้การบริการสาธารณะในปัจจุบัน เมืองจึงเป็นฐานที่สำคัญมี ผ่านการสังเคราะห์เชิงตีความจากปรากฏการณ์ในภาคสนามและการทบทวนจากวรรณกรรมด้วยการยกระดับปรากฏการณ์มาสู่หลักการหรือแนวคิดสู่การสร้างเป็นกรอบแนวคิดเพื่อการบริหารจัดการเมือง

       พบว่า การบริหารจัดการเมืองประกอบด้วยแนวคิดที่สำคัญๆ ที่ต้องพินิจพิจารณาเพื่อเมืองอันสัมพันธ์กับบทบาทใหม่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยนั้นมีอย่างน้อย  5  ประเด็น ได้แก่ ประเด็นแรก การบริหารจัดการเป็นทั้งแนวคิดและการปฏิบัติการที่สำคัญมากเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองให้น่าอยู่และก้าวหน้าสอดคล้องกับบริบทต่างๆ ต้องเปลี่ยนแปลงจากการปกครองมาเป็นการบริหารจัดการเมือง เป็นการบริหารจัดการเพื่อการเปลี่ยนแปลงด้วยการบริหารจัดการแบบบูรณาการและการบริหารจัดการแบบเครือข่าย ภายใต้การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันของภาคส่วนต่างๆในเมือง      ประเด็นที่สอง  นักการเมือง เป็นบุคคลและกลุ่มบุคคลที่มาจากการเลือกตั้งทำให้มีอำนาจรัฐในการสร้างคุณภาพชีวิตในสังคมเมือง การใช้อำนาจจึงต้องเปลี่ยนแปลงจากนักการเมืองเป็นนักจัดการเมือง ที่เน้นบริการสาธารณะแบบมืออาชีพ  ประเด็นที่สาม  พลเมือง ประชากรทั้งหมดที่ประกอบขึ้นเป็นสมาชิกของเมืองอันมีส่วนได้เสีย จึงต้องเน้นความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อผู้อื่นในการดำเนินชีวิต จึงอธิบายคุณลักษณะของสมาชิกเมืองที่พึงประสงค์ที่เป็นคุณลักษณะส่วนบุคคลและคุณลักษณะที่ต้องสัมพันธ์กับภาคส่วนอื่น  ประเด็นที่สี่ ความสัมพันธ์กับรัฐบาลกลาง เนื่องจากเมืองมิได้เป็นฐานทางสังคมที่อิสระ  แต่ดำรงอยู่ในความสัมพันธ์ทางอำนาจกับรัฐโดยมีองค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นกลไก เป็นความสัมพันธ์ผ่านกฎหมายจะเป็นเงื่อนไขในความอิสระของเมืองต่อการดำเนินกิจกรรมเพื่อตอบสนองพลเมืองและการเปลี่ยนแปลงเมือง ทั้งนี้มีกระบวนการความสัมพันธ์ประกอบด้วย 1) การกำกับดูแล การควบคุม และการตรวจสอบ 2)การสร้างมาตรฐานการบริการสาธารณะ  3) การบริหารงานบุคคล  และ 4) งบประมาณ     ประเด็นที่ 5 ทุนทางสังคมของเมือง  เป็นเหมือนแก่นแกนภายในหรือศักยภาพภายในของเมืองที่มีพลังอำนาจอยู่จริง ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมของเมือง เป็นเงื่อนไขในการสร้างความเป็นเมืองมาแต่อดีตที่ต้องรื้อฟื้น รื้อสร้างให้เกิดขึ้นมามีบทบาทใหม่ เป็นต้นว่าสถาบันทางสังคม  และระบบคุณค่าของสังคม 

 

 

Downloads

Published

2018-05-01