บทบรรณาธิการ
Keywords:
บทบรรณาธิการAbstract
ท่ามกลางความสลับซับซ้อนทางสังคมที่มีการเชื่อมโยงกันมากยิ่งขึ้นในขณะเดียวกัน สังคมก็คาดหวังที่จะก้าวไปข้างหน้ายิ่งกว่าพร้อมด้วยการเพิ่มความซับซ้อนลงไปด้วย จึงต้องพัฒนาศักยภาพทางปัญญาเพื่อเพิ่มความเข้าใจรับรู้และรู้ทันด้วยความรอบคอบ ยอมรับความหลากหลายกันได้และมากยิ่งขึ้นและความพยายามที่จะขจัดปัญหาสร้างสรรค์ การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปนักวิชาการและผู้สนใจจึงได้ช่วยกันศึกษาค้นคว้าวิจัยสร้างสรรค์ บทความเพื่อใช้ประโยชน์ด้วยการตีพิมพ์เผยแพร่ซึ่งจะส่งผลต่อการขับเคลื่อนสังคมอย่างที่คาดหวัง
วารสารฉบับนี้ได้คัดสรรบทความทั้งจากภายในและภายนอกซึ่งประกอบด้วยบทความเรื่อง“บทเรียนจากการปฏิรูประบบบริหารราชการเพื่อเตรียมความพร้อม สู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”ได้ทบทวนวรรณกรรมเพื่อเปิดมุมมองหนึ่งด้วยการพิจารณาการปฏิรูประบบราชการของประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ ทำให้เห็นว่าใน แต่ละประเทศได้มีการพัฒนาปรับปรุงระบบราชการกันเป็นไปอย่างจริงจังมากเพียงใด ภายใต้ข้อจำกัดและอัตลักษณ์ของแต่ละประเทศที่มีเงื่อนไขทางสังคมไม่เหมือนกันและส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและบทความนี้น่าจะเปิดประเด็นให้หยิบยกประเด็นอื่นมาอภิปรายประกอบเพื่อให้เกิดการเติมเต็มและก่อให้เกิดความรอบคอบต่อการพัฒนาภูมิภาคนี้บทความเรื่อง “การวิจัยเชิงปฏิบัติการ” เป็นบทความที่ต้องการให้เกิดการทบทวนตรวจสอบทั้งความเชื่อเชิงปรัชญาแนวคิดรวมทั้งเจตนารมณ์ที่จะนำผลการศึกษาไปปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในองค์การหน่วยงานหรือบุคคลให้ทันต่อเหตุการณ์สอดคล้องกับสภาพปัญหารวมทั้งกลมกลืนกับโครงสร้างการบริหารและบริบทอื่นๆกระบวนการดังกล่าวควรดำรงอยู่และพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง
ในทุกระดับบทความ “TQFกับการเป็นอาจารย์มืออาชีพ” เป็นหลักเกณฑ์และรายละเอียดภาคปฏิบัติสำหรับอาจารย์ที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ที่ได้ประกาศใช้และได้ดำเนินการล่วงมาแล้วด้านหนึ่งเพื่อประโยชน์ในการทบทวนที่ให้สอดคล้องตรงกันอีกด้านหนึ่งควรได้พิจารณาผลการปฏิบัติในองค์การทั้งภาพรวมและส่วนย่อยไปถึงรายบุคคลเพื่อนำข้อมูลนั้นมาสะท้อนผลและเปิดรับฟังความเห็นเพื่อนำไปสู่ประสิทธิผลของการเป็นอาจารย์มืออาชีพต่อไป
สำหรับบทความวิจัยที่ประกอบด้วยงานด้านบริหารการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ ด้านหลักสูตรและการสอนที่เป็นผลงานของบุคคลภายในและภายนอกที่ได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้วเมื่อประมวลเข้าด้วยกันจากรูปธรรมของปัญหาและข้อเสนอที่ได้รับจากผลการวิจัยที่ผู้วิจัยได้พัฒนานวัตกรรมขึ้นทำให้เห็นภาพรวมของความพยายามที่จะชี้จุดสำคัญต่อการบริหารจัดการเช่นบทความเรื่อง“การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำ การเรียนการสอนของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11” ได้เสนอให้นำผลการวิจัยไปกำหนดนโยบายในการพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้ และบทความเรื่อง“ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ของแรงงานไทยในภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปกรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี” ได้พบว่าแรงงานไทยในภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปยังมีความรู้ความเข้าใจ ค่อนข้างน้อยในด้านประกันสังคมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานซึ่งทำให้เห็นช่องว่างระหว่างนายจ้างแรงงานและหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบตัวอย่างเหล่านี้ที่เป็นจิกซอขององคาพยพ“ ทั่วทั้งประเทศ”ที่ต้องการเรียนรู้เพื่อต่อจิกซอตัวถัดไป
นอกจากนี้ยังมีบทวิจารณ์หนังสือ “ธัมมิกสังคม” ที่เป็นผลงานของท่านพุทธทาสภิกขุที่ได้บรรยายไว้เมื่อ 40 ปีที่แล้วและได้รวบรวมพิมพ์อีกครั้งในปี 2548 ท่านได้เสนอทฤษฎีการเมืองที่กล่าวได้ว่ากลับด้านกับความต้องการของโลกปัจจุบันโดยเสนอการเมืองที่ถูกต้องที่สุดในการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับกฎธรรมชาติและเป็นหนังสือที่ควรได้อ่านอย่างยิ่งอย่างน้อยจะได้ตรวจสอบความเชื่อความคิดของตนดังที่ท่านพุทธทาสกล่าวว่า “เข้าใจเฉพาะภาษาคนไม่สามารถเข้าใจภาษาธรรมะได้” บทความที่นำเสนอในวารสารฉบับนี้เป็นเรื่องราวของส่วนย่อย ๆ ที่สะท้อนภาพ เพื่อการเข้าให้ถึงความซับซ้อนที่ต้องการความกระจ่างและความเข้าใจซึ่งคาดหวังว่าจะก่อให้เกิดผลดีในทางวิชาการและเกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมสำหรับฉบับถัดไปได้ กำหนดแนวคิดหลักว่า“บทบาทของชุมชนบนเส้นทางการเรียนรู้”