การจัดการศึกษาแบบยึดพื้นที่เป็นฐาน : แนวคิด แนวทางและกรณีศึกษา
Keywords:
การจัดการศึกษาแบบยึดพื้นที่เป็นฐาน, ทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการ, การจัดหลักสูตรAbstract
การจัดการศึกษาแบบยึดพื้นที่เป็นฐานเป็นนวัตกรรมการบริหารการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการที่ให้ความสำคัญกับแบบแผนการจัดหลักสูตรและประสบการณ์การเรียนรู้ ที่สร้างโอกาสให้นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สามารถพัฒนาตนเองเข้าสู่เส้นทางการประกอบอาชีพ ตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจ สนับสนุนการสร้างอาชีพและการสร้างรายได้ ที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ โดยสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา สถาบันอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกันกำหนดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา สถาบันอุดมศึกษาและโรงเรียนจัดทำโครงสร้างรายวิชา พัฒนาหลักสูตรและโปรแกรมการเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน จัดทำคู่มือการสอน จัดเตรียมห้องปฏิบัติการ เตรียมสื่อ จัดอบรมครูผู้สอน ร่วมกัน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน และประสบการณ์การเรียนรู้แก่นักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นถึงตอนปลายของโรงเรียน ตามวัตถุประสงค์ของแต่ละหลักสูตร กรณีโรงเรียนสูงเม่นชนูปถัมภ์ เป็นโรงเรียนต้นแบบของโรงเรียนมัธยมศึกษาอีกจำนวน 30 โรงเรียน ในการจัดการศึกษาแบบยึดพื้นที่เป็นฐาน ในกลุ่มจัดหวัดแพร่ น่าน พะเยา และเชียงราย ที่ขยายผลในช่วงปีการศึกษา 2555 - 2556 โดยโรงเรียนสูงเม่นขนูปถัมภ์ ด้ดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรดังกล่าวจำนวน 6 หลักสูตร ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา 6 สถาบัน มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 จนถึงปัจจุบัน คือ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 มีข้อค้นพบจากการสนทนากับนักเรียนชั้น ม.6 ของโรงเรียน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ มีบุคลิกภาพดี มีความเป็นผู้ใหญ่ มีความสามารถในการสื่อสาร กล้าแสดงความคิดเห็น มีความมั่นใจในตนเอง สามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ทั่วๆ ไป วิเคราะห์ปัญหาการเรียน เข้าใจจุดหมายปลายทางของชีวิต หลายคนเข้าศึกษาต่อกับมหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการแล้ว หลายคน มีสัญญากับบริษัทเอกชนในการศึกษาต่อเมื่อเรียนสำเร็จชั้น ม.6 และมีหลักประกันการมีงานทำในอนาคต อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการดำเนินงานตามโครงการนี้ ในอนาคตน่าจะขึ้นอยู่กับความคงอยู่ของนโยบายและการได้รับการส่งเสริมสนับสนุน จากรัฐบาล ความเข้มแข็งและความเอาจริงเอาจังในความร่วมมือของมหาวิทยาลัยกับโรงเรียนมัธยมศึกษา ความตั้งใจจริงของผู้รับผิดชอบหลักสูตรจากคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัย และการได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากผู้นำฝ่ายต่างๆ ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง สำหรับนักเรียน คุณครู ผู้บริหารโรงเรียน และชุมชนนั้น เห็นคุณค่าและได้รับประโยชน์โดยตรงจากโครงการนี้
The area - based educational management is an innovation of educational management for the integrated human resource management. It emphasizes on the pattern of the curriculum management and learning experience that creates the opportunity for secondary school students and enabling self -development for the career paths that meet the requirements of the business and enterprising. It supports the acquisition of professions and incomes that relevant to the community and local potentials. The basic - education secondary schools, the higher education institutions and the Office of the Basic Education Commission are to cooperate in the structures of integrated curriculum. The higher education institutions and the secondary schools have produced learning courses for lower and upper secondary students, developed school curriculum and learning programs that meets the school needs. They also created handbooks for teaching, prepared operational classrooms and educational Medias, trained school teachers, set the program instructions and learning experiences for students from lower secondary school level until upper secondary school level in accordance with each curricular objective. The case of Soongmen Chanupatham School is an Area - based School Management Model that be extended the model by the other 30 secondary schools in Phrae, Nan, Phayao and Chaing Rai provinces. Those 30 secondary schools initiated and launched their area-based projects during 2012 - 2013 academic years. The Soongmen Chanupathum School has conducted this program for six courses together with six higher education institutions since 2010 until now which it is the second semester of 2014 academic year. It is found from the interview with Mathayom 6 of Soongmen students that most of the students have good personality, be mature, be well communicate, be assertive, be confident, be able to analyze the general situations, learning and their job problems and understanding the goals of their lives. Many of them were admitted to the universities with joined the program and many of them have the works contracts with private company to pursue their higher education after graduating from Mathayom 6 and have the guarantee for future employment. However, the success and the failure of this project in the future is likely to depend on the persistence of the policy and the support of the government; the force and the seriousness in the cooperation between the universities and the schools ; the determination of the persons from the university faculties who are responsible for the program; and the continual enhancement and support from the community leaders. For the students, the teachers, the school administrators and communities, they have already appreciated in the project value and have gained the advantages of this project.