การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชน : กรณีศึกษา ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Authors

  • อรัญยา ปฐมสกุล Suratthani Rajabhat University

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทชุมชนปัญหาและความต้องการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชน ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะจังหวัดสุราษฏร์ธานี ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ ผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้ประกอบการที่พักและผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนส่วนราชการ และประชาชนในชุมชน จำนวน 50 คน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis

ผลการศึกษาพบว่า บริบทชุมชนตำบลท่าชนะ เป็นประตูสู่จังหวัดสุราษฏร์ธานี       มีลักษณะเป็นสังคมชนบท มีวิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ ประกอบชีพเกษตรกรรม ทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน และประมงชายฝั่ง มีถนนติดต่อกับตัวอำเภอและจังหวัด ระบบการคมนาคม ระบบสาธารณูปโภคมีความสมบูรณ์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม บางส่วนเป็นภูเขา และมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย มีชายหาดเหมาะกับกิจกรรมการท่องเที่ยว คือ หาดสำเร็จ หาดปากน้ำท่ากระจาย หาดนางลอย และถ้ำเขาประสงค์ ปัญหาด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ขาดความร่วมมือ และขาดผู้นำความคิดด้านกิจกรรมที่สอดคล้องกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ความต้องการพัฒนาการท่องเที่ยวจากภาครัฐในด้านงบประมาณที่สนับสนุน เพื่อปรับปรุงกิจกรรมการท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ แผนผังป้ายบอกสถานที่ การให้ความรู้อบรมมักคุเทศน์ท้องถิ่น รวมทั้งแหล่งจำหน่ายสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลการศึกษาเพื่อสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชน          ได้ยุทธศาสตร์ 4 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์เชิงรุก ได้แก่ การพัฒนาการท่องเที่ยว ส่งเสริม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย การสร้างความเชื่อมั่น และส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว พัฒนาผลิตภัณฑ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน คือเพื่อการพัฒนาฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน 3) ยุทธศาสตร์เชิงแก้ไขคือ เสริมสร้างองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมกิจการการท่องเที่ยว 4) ยุทธศาสตร์เชิงวิกฤต คือ การพัฒนาโครงการพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยว

Downloads

Published

2017-01-16