ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นสากล

Authors

  • อุไรวรรณ พูลสมบัติ Suratthani Rajabhat University

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ กำหนดตัวชี้วัดคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นสากล และเสนอยุทธศาสตร์และตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพสู่ความเป็นสากลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การกำหนดตัวชี้วัดและการตรวจสอบความเหมาะสมของตัวชี้วัดคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นสากลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดเป็นตัวชี้วัดคุณภาพผู้เรียน ตรวจสอบความเหมาะสมของตัวชี้วัดโดยใช้แบบคัดกรองและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน กำหนดองค์ประกอบหลักคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นสากลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ระยะที่ 2 การเสนอยุทธศาสตร์และตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นสากลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยวิธีการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นสากลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความเหมาะสม 53 ตัวชี้วัด 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรู้ด้านวิชาการ 2) ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3) ทักษะการสื่อสาร 4) ทักษะการคิด 5) ทักษะการแก้ปัญหา 6) ทักษะชีวิต 7) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยค่าสถิติวัดความสอดคล้องขององค์ประกอบเชิงยืนยันมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นสากลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมี 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ 2) การพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะ 3) การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นพลโลก ซึ่งมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมและรายยุทธศาสตร์ในระดับมาก

Downloads

Published

2017-01-16