ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการคิดกับรูปแบบเทคนิคการช่วยเสริมศักยภาพที่มีต่อระดับทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ในการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิค KWDL บูรณาการกับเทคนิค SSCS สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการคิดกับรูปแบบเทคนิคการช่วยเสริมศักยภาพที่มีต่อระดับทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ในการเรียนแบบ Blended Learning ที่ใช้เทคนิค KWDL บูรณาการกับเทคนิค SSCS ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนที่เรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนไทรแก้ววิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ที่มีรูปแบบการคิดต่างกัน จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคช่วยเสริมศักยภาพ (Scaffolding) ที่เสริมด้วยเทคนิค KWDL บูรณาการกับเทคนิค SSCS จำนวนรูปแบบละ 17 กิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.45) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.281 ถึง 0.719 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.625 และมีค่าความเที่ยงของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.831 แบบทดสอบวัดทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จำนวน 3 ข้อ ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบเขียนตอบ โดยมีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ตรวจ เท่ากับ 0.976 มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.470 ถึง 0.660 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.30 มีค่าความเที่ยงของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.740 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยร้อยละ และสถิติทดสอบสมมติฐาน Two Way ANOVA
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักเรียนที่มีแบบการคิดต่างกัน เมื่อได้รับการฝึกด้วยเทคนิคการช่วยเสริมศักยภาพ ในการเรียนแบบ Blended Learning ที่ใช้เทคนิค KWDL บูรณาการกับเทคนิค SSCS แล้ว มีทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนที่มีรูปแบบการเรียนแบบ Blended Learning ที่ใช้เทคนิค KWDL บูรณาการกับเทคนิค SSCS เมื่อได้รับการฝึกด้วยเทคนิคการช่วยเสริมศักยภาพต่างกัน มีทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ไม่มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนแบบ Blended Learning ด้วยเทคนิค KWDL บูรณาการกับเทคนิค SSCS ที่ใช้เทคนิคการช่วยเสริมศักยภาพที่ต่างกัน ที่ส่งผลต่อทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05