ความคิดเชิงวิพากษ์ของปรัชญาศิลปะหลังสมัยใหม่กับปรัชญาศิลปะของ ท่านพุทธทาสภิกขุ : ทางเลือกของการแสดงออกทางศิลปะในปัจจุบัน
Keywords:
ความคิดเชิงวิพากษ์ ปรัชญาศิลปะหลังสมัยใหม่ พุทธทาสภิกขุAbstract
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะแสดงให้เห็นว่า ท่ามกลางกระแสสังคมที่กล่าวถึงการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ในแวดวงวิชาการทางศิลปะ ได้มีกระแสของการปฏิรูปขึ้นสองกระแส กระแสแรกคือการปรากฏตัวของปรัชญาศิลปะ หลังสมัยใหม่ และกระแสที่สองคือปรัชญาศิลปะของท่านพุทธทาสภิกขุ ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปทางศิลปะดังกล่าว เกิดขึ้นอย่างเหมาะเจาะกับช่วงเวลาที่วิชาการทางศิลปะต้องการทางเลือกใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม สาระสำคัญของการปฏิรูป คือการอธิบายว่าสิ่งที่เรียกว่า “ศิลปะ” ย่อมไม่มีข้อจำกัดที่เป็นมาตรฐานตายตัวอีกต่อไป ความหลากหลาย ความเท่าเทียม การไม่มีข้อสรุป และการไม่ยึดถือสิ่งต่าง ๆ กลายเป็นข้อเสนอเพื่อรื้อถอนความเชื่อเดิมทางศิลปะ ข้อเสนอดังกล่าวเป็นการเชื่อมโยงบทบาทของศิลปะกับการดำเนินชีวิตโดยตรง คือศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถใคร่ครวญ พัฒนา และให้ความหมายด้วยตนเองได้ การให้ทรรศนะทางศิลปะเช่นนี้ จึงเชื่อมโยงกับการพัฒนาชีวิตและสังคมได้อย่างกว้างขว้าง หรือเรียกว่าเปิดกว้างให้ตีความคำว่าศิลปะเสียใหม่ เพื่อทำให้มีคุณค่ามากกว่าเดิม ซึ่งความเห็นของปรัชญาศิลปะทั้งสองกระแสนี้มีความเห็นที่ตรงกันหลายประการ และความเห็นดังกล่าวยังสอดคล้องกับการปฏิรูปความรู้ด้านต่าง ๆ ในปัจจุบัน