ความฉลาดทางอารมณ์และความเครียดของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Authors

  • กมลชนก ทองเอียด
  • เดือนนภา ไชยพรหม

Abstract

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด ระดับความฉลาดทางอารมณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความเครียดของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (สำหรับผู้ใหญ่อายุ 18-60 ปี) ที่มีค่าความเชื่อมั่น = 0.90 และแบบประเมินวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง ที่มีค่าความเชื่อมั่น = 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และหาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความเครียด โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ส่วนใหญ่มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในภาวะปกติ และมีระดับความเครียดปกติ/ไม่เครียด 2) จากผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความเครียด พบว่า ความฉลาดทางอารมณ์โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กับความเครียดในระดับต่ำ โดยมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้าม (ความสัมพันธ์ทางลบ) r = -0.143* อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยความฉลาดทางอารมณ์ด้านความรับผิดชอบ การตัดสินใจแก้ปัญหา และด้านความภาคภูมิใจของนักศึกษาพยาบาล มีความสัมพันธ์ ทำให้เกิดความเครียดในเกณฑ์ปกติ/ไม่เครียด

Downloads

Published

2018-11-02