รูปแบบการบริหารจัดการความร่วมมือภาคสาธารณะในการป้องกันอุทกภัย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Keywords:
อุทกภัย ความร่วมมือ การบริหารจัดการความร่วมมือภาคสาธารณะ และรูปแบบความร่วมมือภาคสาธารณะในการป้องกันอุทกภัย, Flood, collaborative, collaborative public management, A Model of Collaborative Public ManagementAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการณ์ในการบริหารจัดการความร่วมมือภาคสาธารณะในการป้องกันอุทกภัย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี (2) ศึกษากระบวนการความร่วมมือและปัจจัยที่ทำให้ความร่วมมือภาคสาธารณะประสบความสำเร็จต่อการป้องกันอุทกภัย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ(3) ค้นหารูปแบบการบริหารจัดการความร่วมมือภาคสาธารณะที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันอุทกภัย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 25 คน คือ ตัวแทนผู้นำทั้งจากองค์กรภาครัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องถิ่น
1นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
1 Student of the Doctor Degree of Philosophy in Public Administration Faculty of Humanities and Social Science, Khon Kaen University, Thailand
*2คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
*2 Faculty of Humanities and Social Science, Khon Kaen University, Thailand
และภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ คือ 1)แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2)แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง3)แบบสังเกตุแบบไม่มีส่วนร่วม4)แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารจัดการความร่วมมือภาคสาธารณะในการป้องกันอุทกภัยในสมุยในปัจจุบันมีการใช้กรอบการบริหารจัดการภายใต้ 3 ด้าน คือ โดยสรุปแต่ละภาคส่วนได้ ดังนี้ คือ 1) ภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สรุปองค์ประกอบที่สำคัญในการบริหารความร่วมมือที่เป็นจุดเด่น ส่วนภูมิภาค คือ มีงบประมาณ มีเครื่องมือ มีพลังในการขับเคลื่อน และมีความรู้ วิธีการบริการจัดการ และจุดอ่อน คือ ไม่มีการจัดเก็บข้อมูลที่อัปเดท มีการรอข้อมูลจากการสั่งการกว่าจะขับเคลื่อนแต่ละครั้งต้องใช้เวลา และขาดการสื่อสารที่ชัดเจน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ เทศบาลนครเกาะสมุย มีพลังในการขับเคลื่อน มีการจัดการ มีอุปกรณ์ งบประมาณช่วยเหลือ และการสร้างภาคีเครือข่าย และจุดอ่อน คือ รอคำสั่งจากส่วนภูมิภาค ขาดบุคลากรที่เข้ามาช่วยเหลือ และขาดการสื่อสารที่ทั่วถึงประชาชน 2) ภาคประชาชน สรุปองค์ประกอบองค์ประกอบที่สำคัญในการบริหารความร่วมมือที่เป็นจุดเด่น คือ มีความร่วมมือเกิดพลังขับเคลื่อน และมีเครือข่ายในการขอความช่วยเหลือ และจุดอ่อน คือ ขาดอุปกรณ์ ไม่มีงบประมาณ ไม่มีการช่วยเหลือในการพึ่งพาตนเอง รอภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือเนื่องจากขาดความรู้ ไม่มีการจัดเก็บข้อมูล และไม่มีข้อมูลหรือความพร้อมในการสื่อสาร และ 3) ภาคประชาสังคม สรุปองค์ประกอบองค์ประกอบที่สำคัญในการบริหารความร่วมมือที่เป็นจุดเด่น คือ มีบุคลากร เครือข่ายที่เน้นแฟ้น มีเครื่องมือที่ทันสมัย จัดตั้งงบประมาณด้วยตนเอง มีระบบการจัดเก็บข้อมูลด้วยตนเอง มีความรู้สามารถสร้างพลังแรงจูงใจและ ข่าวสารที่น่าเชื่อถือ มีการบริหารการจัดการ มีความสม่ำเสมอ และมีงบประมาณของตนเอง และจุดอ่อน คือ ไม่มีกำลังคนที่เพียงพอในการทำงาน
(2) กระบวนการความร่วมมือและปัจจัยที่ทำให้ความร่วมมือภาคสาธารณะประสบความสำเร็จต่อการป้องกันอุทกภัย มีทั้งหมด 7 กระบวนการ คือ 1) การกระตุ้นส่งเสริมความร่วมมือ 2) การกำหนดกรอบความร่วมมือ 3) การระดมความร่วมมือ 4) การสนธิความร่วมมือ 5) การเจรจา 6) การตกลงยอมรับ และ 7)การดำเนินการร่วม และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความร่วมมือ มีทั้งหมด 5 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม 2) ปัจจัยด้านการดำเนินงาน 3) ปัจจัยด้านความร่วมมือ 4) ปัจจัยด้านการสนับสนุน และ5) ปัจจัยด้านทรัพยากร
(3) รูปแบบการบริหารจัดการความร่วมมือภาคสาธารณะที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันอุทกภัยที่ได้สังเคราะห์และพัฒนาขึ้นในเบื้องต้นนั้น ประกอบด้วย กระบวนการความร่วมมือ 4 กระบวนการ ได้แก่ 1) การกระตุ้นส่งเสริมความร่วมมือ 2) การกำหนดกรอบความร่วมมือ 3) การระดมความร่วมมือ และ 4) การสนธิความร่วมมือ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความร่วมมือ มีทั้งหมด 5 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยสภาพแวดล้อม 2) ปัจจัยการดำเนินงาน และ 3) ปัจจัยด้านความร่วมมือ และรูปแบบความร่วมมือภาคสาธารณะ มีทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการบริหารจัดการบนฐานแห่งขอบเขตภาระหน้าที่ (Jurisdiction-Based Management Model) 2) รูปแบบบริหารจัดการความร่วมมือแนวดิ่ง (Top-Down Model) 3) รูปแบบบริหารจัดการความร่วมมือแบบผู้ให้และผู้รับ (Donor-Recipient Model) และ4) รูปแบบบริหารจัดการความร่วมมือตามความพอใจ (Contented Model) และได้มีการนำเข้าสู่กระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จึงได้รูปแบบของการบริหารจัดการความร่วมมือภาคสาธารณะให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และได้มีการเสนอความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นสำคัญอีก 2 ปัจจัย คือ 1) กระบวนการความร่วมมือเพิ่มขึ้น 3 กระบวนการ และ 2) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความร่วมมือ
คำสำคัญ: อุทกภัย ความร่วมมือ การบริหารจัดการความร่วมมือภาคสาธารณะ และรูปแบบความร่วมมือภาคสาธารณะในการป้องกันอุทกภัย
Abstract
The purposes of this study were : 1) to explore situation of A Model of Collaborative Public Management for Flood Preventive in Koh Samui SuratThani 2) to examine factors of collaborative public how successfully of flood preventative at Kho SamuiSurat Thani,and 3) to find out effective plan of collaborative public management for flood preventative at Kho Samui SuratThani. This study was a qualitative research The simples of this study were 25 key informants with government organization, local government, and Civil society.The research instruments utilized in this study were 1) structured interview2) unstructured interview 3) non-participatory observation and 4) focus group record.
The results of the study were as follows: The study of a model of collaborative public management for flood preventive in Koh Samui found that 3 main management. The results of these analyses showed that 1) According to part of central government strength was budget, equipment, motivate and knowledge to managed these situation, and then the weakness point were late of information up date that effected to pool communication, it took a long time to start solve flood protection. On the other hand, Samui local government strength was motivate network, good management, equipment, budget and associate found, and then weakness was necessary to waiting for policies from central government, shortage of human sources, lack of communication to local peoples. 2) On one hand, local peoples part summarize key elements in collaborative management about strength point that powerful cooperation and powerful to help each other. On the other hand, weakness points were lake of equipment, no budget, no self reliance, they need to wait government assistance because they lack of knowledge, no data record and information support, lack of communication. 3) Civil Society part summarize key elements in collaborative management about strength point that good quality personals, network stably, modern equipment, enough budget, storage system, ability to motivate people, credible information, good management and consistently system. On weakness point found that limit of human resources.
2) Cooperation process and factor that made the collaborative public management for flood preventative at KhoSamui successful, it was found 7 processes 1) stimulating cooperation 2) determining collaborative 3) integrating cooperation 4) collaborative junction 5) negotiation 6) agreement 7) joint action and 5 factors of cooperation revealed that environment factor 2) operations factor 3) cooperation factor 4) encouragement factor 5) resources factor
3) Analyze qualitative content and data synthetic of collaborative public management in basic included with 4 processes such as 1) stimulating cooperation 2) determining collaborative 3) integrating cooperation 4) collaborative junction and factor of cooperation found 3 factors that 1) environment factor 2) operations factor 3) cooperation factor. Analyze qualitative content suggested that 1) Jurisdiction-Based Management Model 2) Top-Down Model 3) Donor-Recipient Model 4) Contented Model
Finally, a model of collaborative public management for flood preventive introduced into the group discussion process, workshop with expertise, board and 3 representatives from the contributor to participate observation strongly recommended by synthesis based on research results to find out perfectly public corporation management and the study suggest 2 factors that 1) increased 3 more cooperation process and the last 2) Factors contributing to cooperation increased the potential of the work and the preparation of collaborative public management for flood preventive to more efficient and effective.References
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2545). การจัดทำยุทธศาสตร์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.การ ประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2545, ณ สถาบันฝึกอบรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บางพูน จังหวัดปทุมธานี.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2544). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จทางการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ซัคเซส มีเดีย.
มนตรี ศิริจันทร์ชื่น. (2540). ภาวะความเป็นผู้นำในงานพัฒนาชุมชน. โปรแกรมพัฒนาชุมชน ภาควิชา สังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฎเชียงใหม่.
ศูนย์ป้องกันวิกฤตน้ำ. (2555). เอกสารการกำหนดพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากในภาคใต้. กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ.
Benjamin, C. E., Brechin, S.R., & Thoms, C. A. (2011). Special issue on networking nature: Newtwork forms of organization in environment governance. Journal of Natural Resources policy research, 3(3),211-340
Coppola, D.P. (2007). Introduction to International Disaster Management. Burlington: Butterworth
Heinemann.
Cook, A. H. (2009). Toward an emergency response report card: Evacuating the response to the 35W bridge collapse. Journal of Homeland Security and Emergency Management, 6(1), p.154- 177.
Harshada, P., Michael, P., & Wilson, R. J. (2011). Factor of collaborative working: A framework for a collaboration model. Applied Ergonomics, 43(2012), p.1-26.
International Institute for Sustainable Development, (2011). A daily report of the third session of the global platform for disaster risk reduction, 141(1). Retrieved from http://www.IISD. CA/YMD/GPDRR/2011/
Jha, A. K., Bloch, R., &Lamond, J., (2012). Cities and flooding: A guide to intergraded urban flood risk management for the 21st century. Washington, DC: The World Bank Publication.
Kiesler, S., & Cummings, J. N. (2002). What do we know about proximity and distance in work groups? A legacy of research. In Hinds, P., Kiesler, S. (Eds.), Distributed Work (pp.57- 80). Cambridge, Eng: MIT Press.
McGuire, M. and Schneck, D. 2010. What if Hurricane Katrina Hit in 2020? The Need for Strategic Management of Disasters. Public Administration Review. p.201-207
Parker, S. K., & Wall, T. D. (1996). Job design and modern manufacturing. In Warr, P. (Ed.), psychology at work (pp.333-358). London: Penguin Books.
Petak, W. J. & Atkisson, A. A. (1982). Natural hazard risk assessment and public policy. New York: Springer-Verlag.
Ring, Peter Smith and Van de Ven, Andrew H. (1994). Cite in Thomson, Ann Marie. 2006. “Collaboration Processes : Inside the Black Box.” Public Administration Review. (December 2006) Special Issue: 20-32.
Robert Agranoff & Michael McGuire, (2003), Collaborative Public Management. Washington, D.C.
Georgetown University Press.