About the Journal
คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์วารสารวิชาการระดับชาติ จัดพิมพ์เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจ ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ตลอดจนเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาการ ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม) แต่ละฉบับจะตีพิมพ์บทความ 10 - 20 บทความ โดยบทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะผ่านการกลั่นกรองคุณภาพจากกองบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 คน โดยไม่เปิดเผยชื่อทั้งสองทาง (Double - blind Peer review) ผลการพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นที่สุด ทั้งนี้เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นของผู้เขียนแต่ละคน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องคิดเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
เกี่ยวกับผลงานที่จะรับ
- 1. เป็นบทความในกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภาษาและวรรณกรรม กฎหมาย ศิลปะการแสดง ดนตรี นาฏศิลป์ ทัศนศิลป์ จิตรกรรม มานุษยวิทยา สังคมวิทยา คติชนวิทยา โบราณคดี รัฐศาสตร์ จิตวิทยา อาชญาวิทยา ปรัชญา ศาสนา และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- 2. บทความที่จะส่งเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ (ถ้าได้รับการตอบรับที่จะให้ลง) หรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสาร รายงาน การประชุมทางวิชาการ หรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน
- 3. รับพิจารณาบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยบทความภาษาไทยต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนบทความภาษาอังกฤษต้องมีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใส่บทคัดย่อภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ
- 4. หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์
- 5. ต้นฉบับต้องได้รับการกลั่นกรองจากกองบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน โดยผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double - blind Peer review)
- 6. กองบรรณาธิการจะไม่คืนต้นฉบับให้เจ้าของบทความ
ประเภทของผลงานที่รับพิจารณา
- 1. บทความวิชาการ (Article)
- 2. บทความวิจัย (Research Article)
- 3. บทความปริทัศน์ (Review Article)
- 4. วิจารณ์หนังสือ (Book Review)
- 5. จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to the Editor) เพื่อแสดงความคิดเห็นสนับสนุนหรือโต้แย้งความเห็นของนักวิจัยอื่น ๆ ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจ
การจัดเตรียมต้นฉบับ
- 1. บทความทุกเรื่องต้องมีชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนไม่เกิน 3 คน หากเกินให้ใช้คำว่า และคณะ
- 2. บทความทุกเรื่องต้องมีบทคัดย่อและคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อมีความยาวไม่เกิน 250 คำ คำสำคัญ (Keywords) ของเรื่อง ไม่เกิน 5 คำ
- 3. ต้นฉบับที่จัดส่ง ต้องพิมพ์บนกระดาษขนาด A4 เว้นระยะขอบ 1.5 x 1.5 นิ้วใส่เลขกำกับมุมบนขวาทุกหน้า ยกเว้นหน้าแรก ใช้แบบอักษร TH Sarabun PSK ขนาดตัวอักษร 16 Point
- 4. ชื่อเรื่องและชื่อผู้เขียนจัดกึ่งกลางหน้ากระดาษใช้ตัวอักษรตัวหนา โดยบรรทัดแรกเป็นชื่อเรื่องขนาดตัวอักษร 20 Point บรรทัดต่อมาเป็นชื่อผู้เขียนขนาดตัวอักษร 18 Point หากมีผู้เขียนหลายคน ใส่เครื่องหมายจุลภาค (Comma) และเชิงอรรถระบุ ตำแหน่งทางวิชา สังกัดผู้เขียน และ E-mail ขนาดตัวอักษร 12 Point
- 5. เอกสารอ้างอิง บรรณานุกรมเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย ใช้การอ้างอิงตามแนวเอพีเอ (APA - American Psychological Association: APA 6th Edition) เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือหรือแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตก็ได้ ทั้งนี้ผู้เขียนเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมดในการตีพิมพ์บทความ บทความที่มีการอ้างอิงไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับการส่งต่อเพื่อพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจนกว่าการอ้างอิงเอกสาร
จะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง - 6. หากมีภาพ กราฟ หรือตาราง ที่ใส่ประกอบไว้ในเนื้อเรื่อง ต้องมีชื่อ คำอธิบาย ที่มา และเลขกำกับ ตัวอักษรที่ใช้ TH Sarabun PSK ขนาดตัวอักษร 12 Point ชื่อภาพใส่ไว้ใต้ภาพ ชิดขอบซ้ายของภาพ และชื่อตารางใส่ด้านบน ชิดขอบซ้าย
- 7. ความยาวของบทความ ภาพ ตาราง และเอกสารอ้างอิง ไม่ควรเกิน 15 หน้า กระดาษ A4
- 8. บทความทุกเรื่องต้องส่งในรูปแบบ Word และ PDF ผ่านระบบ Thaijo (https://www.tcithaijo.org/index.php/jhsc/login)
รูปแบบของบทความ
บทความวิชาการ/ บทความปริทัศน์/บทวิจารณ์หนังสือ
- 1. ชื่อเรื่อง (Title)
- 2. บทคัดย่อ (Abstract)
- 3. คำสำคัญ (Keywords)
- 4. บทนำ (Introduction)
- 5. เนื้อหา (Substance)
- 6. บทสรุป (Conclusion)
- 7. เอกสารอ้างอิง (Reference)
บทความวิจัย
- 1. ชื่อเรื่อง (Title)
- 2. บทคัดย่อ (Abstract)
- 3. คำสำคัญ (Keywords)
- 4. บทนำ (Introduction)
- 5. วัตถุประสงค์ (Research Objectives)
- 6. วิธีการวิจัย (Research Methodology)
- 7. ผลการวิจัย (Results)
- 8. อภิปรายผลการวิจัย (Discussion)
- 9. บทสรุป (Conclusion)
- 10. เอกสารอ้างอิง (Reference)
เอกสารอื่นที่ต้องแนบมาพร้อมกับต้นฉบับ
แบบเสนอผลงานเพื่อลงพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งผู้เขียนและผู้เขียนร่วมทุกท่านต้องลงนามยืนยัน
จัดส่งมายัง :
www.tci-thaijo.org
Search: Journal of Humanities and Social Sciences Suratthani Rajabhat University
การอ้างอิงเอกสาร
รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อเรื่อง
ในกรณีที่ต้องการระบุแหล่งที่มาของข้อมูล ให้ใช้วิธีการอ้างอิงแทรกในเนื้อเรื่อง ดังนี้
- 1. อเนก นาคะบุตร /(2545,/น./9 - 12) กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นพลังแห่งการพัฒนา เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่เป็นความรู้อย่างบูรณาการ...
Prawase W. (1998,/p./9 - 12)
...มีการออกกฎหมายห้ามกินพลู สั่งตัดต้นหมากทิ้งเพื่อปฏิรูปประเทศให้เป็นอารยชน (Wutthichai K.,/2015,/p./49)
- 2. …ขณะที่หมากแห้งส่งไปยัง เกาหลี แคนาดา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นผู้รับซื้อรายใหญ่ของไทย (เว็บเตอร์,/1999)
(Agricultural Product Promotion and Management Office,/year)
- 3. ...ซึ่งลูกหลานสายโนราได้ตั้งหิ้งบรรพบุรุษไว้บูชาระลึกถึงสืบต่อกันมา ดังคำบอกเล่าของ (นาถนรัตน์/นามเอก,/สัมภาษณ์:/22/พฤษภาคม/2562)
(Ploy/T.,/Interview:/15th/February/2017)
รูปแบบบรรณานุกรม/เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ
- 1. หนังสือ
ชื่อนามสกุลผู้เขียน.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์.
ไพศาล เหล่าสุวรรณ.//(2535).//หลักพันธุ์ศาสตร์.//กรุงเทพฯ:/ไทยวัฒนาพานิช.
Buckley,/R.C.//(1993).//Rural Development Participation.//Ithaca:/Cornell
University.
- 2. บทความ
ชื่อนามสกุลผู้เขียน.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร.//ปีที่พิมพ์(ฉบับ),/เลขหน้า.
สุนี/รักษาเกียรติศักดิ์.//(2538).//คอมพิวเตอร์กับงานวิจัย.//
วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา.//8(2),/62-65.
Clayton,/S.N.//(2015).//Buddhadasa Bhikkhu’s Viewpoints
on Dealing with Teenagers.//Journal of Humanities and Social
sciences.//23(43),/85-104.
- 3. วิทยานิพนธ์
ชื่อนามสกุลผู้เขียนวิทยานิพนธ์.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์.//ระดับของวิทยานิพนธ์/
ชื่อปริญญา.//สถานที่พิมพ์:/ชื่อสถานศึกษา.
ไพโรจน์/นาคโรจน์.//(2555).//การสอนภาษาอังกฤษ.//วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต/สาขาวิชาภาษาอังกฤษ.//
กรุงเทพฯ:/มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
Kanlata/Kulsuwan.//(2010).//Buddhadasa Bhikkhu’s Discourses and Teachings.//Thesis of Master of Arts,
Program in Philosophy.//Chiang Mai:/Chiang Mai University.
- 4. สิ่งพิมพ์จากอินเทอร์เน็ต
ชื่อนามสกุลผู้เขียนบทความ.//(ปี,/เดือน/วันที่โพสต์ข้อความ).//ชื่อบทความ.//
[ออนไลน์].//เข้าถึงได้จาก/http://www…/[ปี,/เดือน/วันที่เข้าถึงบทความ].
เสน่ห์/จามริก.//(2542,/มีนาคม/6).//นโยบายกลวิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน.//[ออนไลน์].//เข้าถึงได้จาก/http://www.songpak16.com./[2559,/เมษายน/12].
Baroto/Tavip,/Indrojarwo Sabar and Ellya Zulaikha.//(n.d.).//Visual design study of city branding of Surabaya as a national creative industry center with MDS method.//[Online].//Retrieved form http://personal.its.ac.id/files/pub/3234./[2017, May 4].
- 5. บทความจากหนังสือพิมพ์
ชื่อนามสกุลผู้เขียนบทความ.//(ปี,/เดือน/วันที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อหนังสือพิมพ์.//
เลขหน้า.
ดวงกมล/เกรียงไกร.//(2538,/มกราคม/8).//การเมือง.//โพสทูเดย์.//น./8-9
Schwartz,/J.//(1993, September 30).//Obesity affects economic social status.
The Washington Post.//pp. A1-A5.
- 6. บุคลานุกรม
ชื่อนามสกุลผู้ให้สัมภาษณ์/(ผู้ให้สัมภาษณ์)/ชื่อนามสกุลผู้สัมภาษณ์/(ผู้สัมภาษณ์).//ณ/
ชื่อหมู่บ้าน/หมู่ที่/ตำบล/อำเภอ/จังหวัด.//เมื่อวันที่/วัน/เดือน/ปีที่สัมภาษณ์.
ฤทัยทิพย์/ศรีแสง/(ผู้ให้สัมภาษณ์)/รัชนีกร/มากธรรม/(ผู้สัมภาษณ์).//
ณ/บ้านสวย/หมู่/2/ตำบลบัวทอง/อำเภอเมือง/
จังหวัดเชียงใหม่.//เมื่อวันที่/9/กันยายน/2556.
Kaew/Kamdee/(Interviewee/Udee/Meesuk/(Interviewer).//
At/Ban/Thongkam,/Moo/11,/Sawan/sub - district,/Muang/district,
Suratthani/province.//On/9th/July/2016.
หมายเหตุ / หมายถึงระยะเว้นวรรค 1 ครั้ง
// หมายถึงระยะเว้นวรรค 2 ครั้ง
จัดส่ง 1. ต้นฉบับบทความ
- แบบฟอร์มอมผู้เขียนหลัก
- แบบฟอร์มอมผู้เขียนร่วม
มายัง : 1. https://www.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/index
- E-mail : jhs.sru@gmail.com
สำนักงานกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
272 หมู่ 9 ต.ขุนทะเล อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี 84100
เบอร์โทรติดต่อ 0 - 7791- 3386
จริยธรรมการตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
จริยธรรมการตีพิมพ์ทางวิชาการของผู้เกี่ยวข้องในส่วนต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการรักษามาตรฐานทางวิชาการ ผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ในส่วนต่าง ๆ จึงต้องมีความรับผิดชอบตามหน้าที่ของตนเอง เพื่อทำให้วารสารมีคุณภาพและมีมาตรฐานทางวิชาการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จึงกำหนดจริยธรรมการตีพิมพ์ ดังนี้
จริยธรรมของผู้เขียน
- 1. ผลงานที่ส่งให้พิจารณาในวารสารต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการอื่นๆ
- 2. ไม่มีส่วนใดของผลงานวิชาการที่คัดลอกงานวิชาการ (plagiarism) ของตนเองและผู้อื่น และมีการอ้างอิงทางวิชาการอย่างถูกต้องตามที่วารสารกำหนด
- 3. ไม่สร้างข้อมูลเท็จในผลงานทางวิชาการ
- 4. ผู้เขียนทุกชื่อที่ปรากฏในบทความเป็นผู้มีส่วนสำคัญในผลงานวิชาการ และไม่ได้ตัดชื่อบุคคลใดที่มีส่วนกัับผลงานวิชาการออกจากบทความ
- 5. ผู้เขียนทุกคนต้องเห็นชอบกับต้นฉบับของบทความ และเห็นชอบให้ส่งต้นฉบับให้วารสารพิจารณาตีพิมพ์ โดยส่งหลักฐานแสดงความเห็นชอบมาพร้อมต้นฉบับ
- 6. บทความจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสัตว์ทดลอง กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์รับพิจารณาเฉพาะงานวิจัยที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ทดลองเท่านั้น
- 7. ผู้เขียนต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
- 8. ผู้เขียนต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
จริยธรรมของบรรณาธิการวารสาร
- 1. แนะนำการจัดเตรียมต้นฉบับ และรายละเอียดที่จำเป็นอื่น ๆ ที่ผู้เขียนต้องปฎิบัติตามให้รับทราบโดยทั่วกัน
- 2. มีประกาศเกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราการเก็บค่าธรรมเนียมให้ผู้เขียนรับทราบอย่างชัดเจน
- 3. พิจารณาคุณภาพของบทความวิชาการอย่างเป็นธรรม ไม่ล่าช้า และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร
- 4. ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น
- 5. ไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาแล้ว
- 6. ไม่ปฎิเสธการตีพิมพ์บทความเพียงเพราะสงสัยว่ามีการกระทำความผิดจริยธรรม ควรตรวจสอบหลักฐานให้ชัดเจนก่อน และแจ้งให้ผู้เขียนชี้แจงก่อนปฎิเสธบทความ
- 7. ไม่มีการแสดงเจตนาให้มีการอ้างอิงผลงานจากวารสารเพื่อเพิ่มจำนวนการอ้างอิงของวารสาร
- 8. ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน ผู้ประเมินบทความ และผู้บริหาร
- 9. หากพบข้อมูลว่าบทความฉบับใดมีการคัดลอก ให้ผู้เขียนชี้แจงเพื่อประกอบการพิจารณา เมื่อตรวจสอบว่ามีการคัดลอกจริงต้องยุติกระบวนการพิจารณาทันที
- 10. ต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการประเมินและการตีพิมพ์บทความที่ตนเป็นผู้เขียนหรือมีประโยชน์เกี่ยวข้อง
จริยธรรมของผู้ประเมิน
- 1. ไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ตนเป็นผู้ประเมิน
- 2. หากพบว่าตนเองมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบทความที่ประเมิน ให้ปฎิเสธการประเมิน
- 3. ประเมินบทความด้วยความเป็นธรรม ปราศจากอคติ รอบคอบ และให้ข้อเสนอแนะที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์
- 4. ส่งผลการประเมินตามเวลาที่กำหนด
บรรณานุกรม
ศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย (TCI). (2562). ประกาศศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
(TCI) เรื่อง การประเมินด้านจริยธรรม/จรรยาบรรณวารสารวิชาการไทยในฐาน
ข้อมูล TCI. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://tci-thailand.org/?p=2966.
[2563, มิถุนายน 13].
สำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). จริยธรรมการตีพิมพ์. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก https://www.research.chula.ac.th. [2563, ,มิถุนายน 13].
วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2015). จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงาน
วิจัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.
php/swurd/Publication_Ethics. [2563, มิถุนายน 13].
วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2015).
จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics).
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/abc/
about. [2563, มิถุนายน 13].
- การสมัครเป็นสมาชิกวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เพื่อลงตีพิมพ์เป็นผลงานทางวิชาการ
- เล่มละ 150 บาท
- สมาชิกประเภทรายปี 250 บาท (จำนวน 2 เล่ม/ปี)
- สมาชิกราย 3 ปี 700 บาท (จำนวน 2 เล่ม/ปี)
- การขอสมัครเป็นสมาชิกวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เพื่อตีพิมพ์ขอสำเร็จการศึกษา จำนวน 2,500 บาท