“ธรรมะกับการเมือง” "Dharma and Politics"

Authors

  • ดร.พิชัย สุขวุ่น Suratthani Rajabhat University

Abstract

บทนำ

ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยเพิ่งผ่านการเลือกตั้งและมีรัฐบาลบริหารประเทศ โดยมีการแถลงนโยบายเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 แม้มีรัฐบาลบริหารประเทศแล้ว แต่คนส่วนใหญ่ยังเป็นกังวลว่า  ในภาวะที่จำนวนเสียงของรัฐบาลมากกว่าฝ่ายค้านเพียงเล็กน้อย การที่รัฐบาลจะบริหารประเทศได้อย่างราบรื่นจึงเป็นไปได้ยาก ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นรัฐบาลผสมจึงมีปัญหาการต่อรองเพื่อให้ได้เปรียบทางการเมือง ภาวะทางการเมืองเช่นนี้ส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง แต่ไม่ว่าการเมืองของประเทศจะเป็นอย่างไร การดำรงชีวิตก็ต้องเป็นไป ทุกชีวิตจึงต้องค่อย ๆ แก้ปัญหาด้วยตนเอง

ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้เขียนเห็นว่าควรนำเนื้อหาของหนังสือเรื่อง “ธรรมะกับการเมือง” ของท่านพุทธทาสภิกขุมานำเสนอ ด้วยหวังว่าเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ จะช่วยชี้ทางให้แก่การเมืองในประเทศไทย  ให้มีคุณภาพมากกว่าเดิม และเป็นการเมืองที่แท้จริง เพื่อให้สังคมเกิดสันติภาพได้

       

 

References

Buddhadasa Bhikkhu. (2006). Dharma and politics. Bangkok: Sukapamjai. (In Thai)

Downloads

Published

2019-08-16

How to Cite

สุขวุ่น ด. (2019). “ธรรมะกับการเมือง” "Dharma and Politics". วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 11(2), 273–288. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/1022