คนในนิทาน : อุปลักษณ์สัตว์ตามมุมมองการวิจารณ์เชิงนิเวศ Humans in the story: Anthropomorphism with Regard to Ecocriticism Perspective
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อุปลักษณ์สัตว์ตามมุมมองการวิจารณ์เชิงนิเวศ ในนวนิยายเรื่องคนในนิทาน ของ กร ศิริวัฒโณ ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า การอุปลักษณ์สัตว์ มี 2 ลักษณะ คือ 1) อุปลักษณ์สัตว์ในการสร้างอำนาจในครอบครัว มีการแย่งชิงอำนาจ ข่มขู่ ต่อรองผลประโยชน์เพื่อแย่งชิงการเป็นผู้นำ สัตว์ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องต่อรองอำนาจโดยมนุษย์ยัดเยียดความเป็นสัตว์ให้ผ่านการกระทำ การเปรียบเปรย การย่ำยี แสดงให้เห็นความอยุติธรรมที่มนุษย์มีต่อสัตว์ 2) อำนาจในสังคมส่งผลต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ในฐานะสัตว์สังคม อุปลักษณ์มนุษย์ในสังคมเป็นสัตว์ที่อยู่ในฝูง วัฒนธรรมเป็นเครื่องแสดงความเจริญงอกงามของมนุษย์ เมื่อไร้วัฒนธรรมแล้วมนุษย์กับสัตว์ล้วนมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน
คำสำคัญ : คนในนิทาน อุปลักษณ์สัตว์ การวิจารณ์เชิงนิเวศ
สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
E-mail : nkhwanchanok@hotmail.com
Abstract
The aim of this article was to analyze anthropomorphism with regard to ecocriticism perspective from Humans in the story of Korn Siriwattano. The research was conducted by using quantitative methods. The result showed that there were two anthropomorphic ways to express 1) Anthropomorphizing in amplifying family power represented animals. In the same family who took power over family members, threatened them, and negotiated benefits of increasing power as a leader. Moreover, humans are represented as animals in negotiating power, identifying the conditions in the bodily expression of animals, differentiating between humans and animals, and threatening showed that animals were treated unfairly 2) Humans as social beings were affected by the authority in society. Anthropomorphism revealed that we as humans were social animals and lived in groups. Culture was considered as a symbol of human prosperity. Therefore without culture, humans and animals became one.
Keyword : Humans in the story, Anthropomorphism, Ecocriticism