ระบบเวลาสมัยใหม่ทศวรรษ 2460 ในฐานะกลไกควบคุม ระบบราชการ - การคมนาคมขนส่งของรัฐสยาม (The Modern Time System as an Apparatus to Control Bureaucratic Organization and Public Transportation of Siam's State in 1920s)

Authors

  • ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

Keywords:

ระบบเวลาสมัยใหม่, รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์, การคมนาคมขนส่ง, ระบบราชการ, Modern time system, Absolute monarchy state, Transportation, Bureaucratic organization

Abstract

การเปลี่ยนแปลงจากการใช้ศักราชจากรัตนโกสินทร์ศกมาเป็นพุทธศักราช
อาจนับเป็นปฐมบทของความเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับเวลา หลังจากนั้นอีกครึ่ง
ทศวรรษต่อมา ความเปลี่ยนแปลงเรื่องเวลาได้นำไปสู่ระบบเวลามาตรฐานที่อิงกับสากล
ทั้งนี้ระบบเวลาแบบใหม่มีความสัมพันธ์กับระบบราชการและการคมนาคมขนส่งที่ขยาย
ตัวอย่างเต็มที่ในทศวรรษ 2460 โดยเฉพาะเมื่อถูกเชื่อมโยงด้วยระบบคมนาคมอันทันสมัย
อย่างรถไฟ แต่กระนั้นรัฐสยามยังถือว่าไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างพื้นที่ทางกายภาพ
ในระดับประเทศนัก เนื่องจากปัญหาข้อจำกัดของงบประมาณและเทคโนโลยีซึ่งจะเป็น
ภารกิจในอนาคตที่รัฐสยามจะบรรลุถึงในอีกเกือบครึ่งศตวรรษต่อมา

The change from Rattanakosin Era to Buddhist Era might be the
beginning of the shift of the concept about time. About half a decade later, the
Siam's time system has depended on the International system. The new time
system inextricably linked to bureaucratic organization and public
transportation which largely expanded in 1920s. Obviously, the railway system
connected Bangkok to the major cities in many regions. However, Siam could
not achieve the mission of physical space construction at nationwide level
because of the limit of budget and technology. This will be the mission that
might be reached by the state in the next half century.

Downloads

Published

2017-08-15

How to Cite

พจนะลาวัณย์ ภ. (2017). ระบบเวลาสมัยใหม่ทศวรรษ 2460 ในฐานะกลไกควบคุม ระบบราชการ - การคมนาคมขนส่งของรัฐสยาม (The Modern Time System as an Apparatus to Control Bureaucratic Organization and Public Transportation of Siam’s State in 1920s). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 9(2), 199. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/678