100 ปี ทุนวัฒนธรรมทางการเมืองแถบลุ่มทะเลสาบสงขลา (A Century of Cultural Base on Politics of Songkhla Lake Basin)

Authors

  • สารูป ฤทธิ์ชู Suratthni Rajabhat University

Keywords:

ทุนวัฒนธรรมทางการเมือง, ลุ่มทะเลสาบ 100 ปี

Abstract

การ ศึกษาเรื่อง “การเมืองท้องถิ่นบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา พ.ศ. 2439-2534” (The Local Politics of Songkhla Lake Basin Economy 1896 - 1991) เป็นความพยายามที่จะทำการศึกษาและทำความเข้าใจถึงวิวัฒนาการทางการเมืองท้อง ถิ่นบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาในช่วงสมัยใหม่ ตั้งแต่รัฐไทยจัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้นใน พ.ศ. 2439 จนถึง พ.ศ. 2534 เมื่อผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ภาคใต้ ประกาศยุติการต่อสู้ด้วยอาวุธอย่างเป็นทางการที่จังหวัดพัทลุง เบื้องหลังทางการเมือง และผลกระทบจาก การเมืองท้องถิ่นบริเวณดังกล่าว ที่มีต่อชุมชนท้องถิ่น อันจะนำไปสู่ความเข้าใจวิถีชีวิตของประชาชนได้ว่าอดีตที่ผ่านมานั้นเป็น เงื่อนไขหรือเป็นตัวกำหนดปรากฏการณ์ในปัจจุบันอย่างไร อีกทั้งมุ่งส่งเสริมและสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมในการทำความเข้าใจชุมชน ท้องถิ่นของตนเองในมิติประวัติศาสตร์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ อิงวิธีการเชิงสังคมมานุษยวิทยา และสังคมวิทยา ด้วยชุมชนกรณีศึกษา ชุมชนอื่นๆ เวทีเสวนาชาวบ้าน การประชุมทางวิชาการ และการวิจัยเอกสาร แล้วจัดทำรายงานการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์
เนื้อหาแบ่งเป็นห้าบท โดยแยกบทนำและบทส่งท้ายไว้ต่างหาก
บทนำ ว่าด้วยโจทย์วิจัย ตั้งแต่ความเป็นมาและความสำคัญของงานวิจัย วัตถุประสงค์ของโครงการ คำถามหลักของการวิจัย กรอบแนวคิดและขอบเขตของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ระยะเวลาวิจัย ผลที่คาดว่าจะได้รับ และที่ปรึกษาโครงการ
บทที่ 1 ศึกษาการเมืองท้องถิ่นบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาก่อน พ.ศ.2439 โดยพิจารณาถึงภูมิศาสตร์พลวัตบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา โครงสร้างทางเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม และการเมืองพลวัตของบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาก่อน พ.ศ.2439
บทที่ 2 ถึงบทที่ 5 ศึกษาการเมืองของชุมชนกรณีศึกษาสี่ชุมชน โดยพิจารณาถึงทำเลที่ตั้ง โครงสร้างทางเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2439 ถึง ปัจจุบัน เนื่องจากเรื่องราวเหล่านี้เกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด
บทที่ 2 ศึกษาการเมืองชุมชนเขตริมทะเลในบริบทลุ่มทะเลสาบสงขลา พ.ศ.2439 – 2534
กรณีศึกษา : ชุมชนบ้านในบ้าน จังหวัดสงขลา
บทที่ 3 ศึกษาการเมืองของชุมชนเขตเมืองในบริบทลุ่มทะเลสาบสงขลา พ.ศ.2439 – 2534
กรณีศึกษา : ตลาดสี่กั๊ก จังหวัดพัทลุง
บทที่ 4 ศึกษาการเมืองชุมชนเขตเขาควนในบริบทลุ่มทะเลสาบสงขลา พ.ศ.2439 – 2534
กรณีศึกษา : ชุมชนบ้านชะรัด จังหวัดพัทลุง
บทที่ 5 ศึกษาการเมืองของชุมชนเขตทุ่งราบในบริบทลุ่มทะเลสาบสงขลา พ.ศ.2439 – 2534
กรณีศึกษา : ชุมชนบ้านไม้เสียบ จังหวัดนครศรีธรรมราช
บทส่งท้าย กล่าวถึงสาระทั้งหมดในลักษณะตอบโจทย์วิจัย
ผลการศึกษา เป็นประวัติศาสตร์จากภายในของชุมชนท้องถิ่นมากกว่าของผู้วิจัย โดยเป็น การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสมัยใหม่ในรูปแบบของขบวนการชาวนา ในนามของโจร ชุมโจร และ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์การไม่ยอมคนในสมัยปัจจุบัน แต่ก็มีข้อแตกต่างกัน ในรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลา ตั้งแต่ปลายน้ำ กลางน้ำ ขึ้นไปจนถึงเขตต้นน้ำแถบ เชิงเขาบรรทัด

 

The purpose of this research entitled “The Local politics of Songkhla Lake Basin Economy 1896-1991” was to make a historical study of the evolution of the local politics of Songkhla lake basin economy at modern times, dating from 1896 when Thai state established Nakornsithammarat county to 1991 when the representative of Communist Party in the South declared the surrender in
Phatthalung with respect to the political background as well as impacts on local communities, which led to the understandings of the inhabitants’ lifestyles and the key answers to how past events conditioned present phenomena. Historically, the study was also to promote and create participatory atmosphere in understanding
local communities. The method of study employed was a historical one based on socio-anthropological and sociological approaches, involving selected communities for case studies as well as broad communities, villagers’ conferences, academic discussions and seminars, and documentary research. Finally, a research report in
the manner of analytical description was compiled.

The contents are divided into five chapters, excluding the introduction andconclusion.

The introduction includes research questions, the rationale and principles, objectives, key questions, view-point and scope of study, procedural method, reporting stages, potential findings, duration of work, and advisors.

Chapter 1 is the study of the politics of Songkhla lake basin economy before 1896 concerning geographical dynamics, economical and socio-cultural structures, and political dynamics of the lake basin before 1896.

Chapter 2 to 5 consist of case studies of four communities, bringing up location, economical and socio-cultural structures, together with political changes since 1896 in that all of these are closely connected.

Chapter 2 refers to political study of communities situated ashore inn context of Songkhla lake basin 1896-1991. Case study: Ban Nai Ban Community, Songkhla.

Chapter 3 includes political study of urban communities in context of Songkhla lake basin 1896-1991. Case study: Si Kak Market, Phatthalung.

Chapter 4 includes political study of communities in high lands in context of Songkhla lake basin 1896-1991. Case study: Ban Charat Community, Phatthalung.

Chapter 5 irefers to political study of communities in low lands in context of Songkhla lake basin 1896-1991. Case study: Ban Mai Seab Community, Nakornsithammarat.

The conclusion deals with all key points in the manner of answering research questions.

The findings obtained the history from local communities rather than from the researcher. Modern political changes exist through farmers’ process in the name of thieves, a thief gang, and the Communist Party of Thailand. This influenced the inhabitants’ images of inflexibility at present times. The characteristics, however,
differ from place to place- from the water end upto the water source ast the foot of Bantat range.

 

Downloads

Published

2014-11-26

How to Cite

ฤทธิ์ชู ส. (2014). 100 ปี ทุนวัฒนธรรมทางการเมืองแถบลุ่มทะเลสาบสงขลา (A Century of Cultural Base on Politics of Songkhla Lake Basin). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 3(1), 25–50. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/76