ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในฐานะทรัพย์สินทางปัญญา: กระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลง (Traditional Knowledge as Intellectual Property:A Changed Paradigm)

Authors

  • สุกัญญา สุจฉายา Suratthni Rajabhat University

Keywords:

กระบวนทัศน์, คติชน, ความเป็นเจ้าขอ, ทรัพย์สินทางปัญญา, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

Abstract

แนว คิดว่าคติชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ควรดูแลและจัดการ โดยรัฐเพื่อป้องกันการฉกฉวยและการอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของโดยปัจเจกบุคคล หรือชาวต่างชาติ เป็นผลมาจากระบบทุนนิยมและกระแสโลกาภิวัตน์ที่ครอบคลุมการเมืองและเศรษฐกิจ ทั่วโลก ซึ่งส่งผลให้เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการปกป้องคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นโดย เฉพาะเรื่องความเป็นเจ้าของผลงาน
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นแนวคิดและค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป ต่อผลงานคติชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นในโลกไร้พรมแดน เพื่อนักวัฒนธรรมจะได้เข้าใจความจำเป็นในการสร้างระบบการคุ้มครองภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ความพยายามแก้ปัญหาด้วยการออกกฎหมายคุ้มครองภูมิปัญญาเป็นเพราะกระบวนทัศน์ ที่เปลี่ยนแปลงไปของโลกทุนนิยม ที่มองภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นทุนวัฒนธรรม เป็นสินค้าที่สามารถสร้างมูลค่า จึงทำให้เกิดความต้องการเป็นเจ้าของสิทธิ์แต่ผู้เดียว ในขณะที่ในอดีตคติชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นวิถีชีวิต เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในสังคมและทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน สังคมไทยให้คุณค่ากับศิลปินและผู้ประกอบพิธีกรรมในฐานะ “ครู” ผู้รักษาและผู้สืบทอดภูมิปัญญา แต่มิใช่เจ้าของภูมิปัญญา คนไทยจึงสนใจปัญหาการขาดผู้สืบทอดและการนำภูมิปัญญาไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะ สมมากกว่าการแบ่งปันผลประโยชน์ จากสิทธิในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
The idea about folklore and traditional knowledge being the intellectual property that should be administered and managed by the state in order to prevent the abuse and claim of ownership over them by an individual or a foreigner is a result of capitalism and globalization that have been governing politics and economy of the world. This results in the occurrence of a new paradigm of the protection for traditional knowledge, especially in the matter of its ownership.
The main objective of this article is to demonstrate the changed idea and values of the folklore and the traditional knowledge in the borderless world so that all experts and those interested in culture-related matters will understand the necessity of the formation of a traditional knowledge protection system.
The attempt to solve the aforementioned problems by legislating laws to protect traditional knowledge is the changed paradigm of the materialist world in which traditional knowledge is viewed as cultural capital which is a valuable product. Hence, there are needs to claim the sole ownership over the rights to traditional knowledge. On the contrary, in the conventional paradigm, folklore and traditional knowledge have been viewed as parts of the traditional way of life. They have social values, and all members in the society own them together. Thai society regards artists and rite officiators as “Teachers” or “Maestros” who preserve and transmit traditional knowledge, not its owners. Therefore, Thai people have not been interested in sharing the benefits from the implementation of their traditional knowledge. This leads to the problems concerning the lack of people in latter generations to inherit traditional knowledge and the inappropriate use of this cultural capital.

Downloads

Published

2014-11-26

How to Cite

สุจฉายา ส. (2014). ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในฐานะทรัพย์สินทางปัญญา: กระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลง (Traditional Knowledge as Intellectual Property:A Changed Paradigm). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 5(2), 1–20. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/90