กแนวทางการสืบทอดภูมิปัญญาการประกอบอาชีพของชุมชนบ้านนิคม ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (Occupational Folk Wisdom Transfering of Ban Nikom Community, KhunThale Sub-district, Muang District, Suratthani Province)

Authors

  • พงศ์เทพ แก้วเสถียร Suratthani Rajabhat University

Keywords:

การสืบทอดภูมิปัญญา, การประกอบอาชีพ, ประมงพื้นบ้าน, เกษตรกรรมชุมชนบ้านนิคม, Folk wisdom Inheritance, Occupation, Small-scale fisheries, Agricultures, Ban Nikom Community

Abstract

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาบริบทชุมชนบ้านนิคม ภูมิปัญญาการประกอบอาชีพของชุมชนบ้านนิคม และแนวทางการสืบทอดภูมิปัญญาการประกอบอาชีพของชุมชน บ้านนิคม ใช้วิธีการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และเก็บข้อมูล จากภาคสนาม (Field Study) ด้วยวิธีการการสัมภาษณ์ การพูดคุยอย่างเป็นทางการและ ไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การจัดเวทีและสนทนากลุ่ม รวมทั้งการสำรวจวิถีชีวิตและภูมิปัญญาการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านและเกษตรกรรมของคนในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า ชาวบ้านในชุมชนนี้ส่วนมากย้ายถิ่นมาจากภาคกลางและภาคตะวันตก จากจังหวัดนครปฐม เพชรบูรณ์ นนทบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และกาญจนบุรี โดยมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมบึงขุนทะเล ขณะที่ชาวบ้านที่อยู่ดั้งเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณพื้นที่บนดอน (ที่สูง) ชาวบ้านทั้งสองกลุ่มประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านและเกษตรกรรมด้วยการสืบทอดมาประมาณเกือบ 100 ปี ภูมิปัญญา การทำประมงพื้นบ้านเริ่มจากการใช้การม้วนหร่าย (สาหร่าย) และต่อมานำภูมิปัญญาเครื่องมือต่าง ๆ เช่น อวน แห เบ็ด ลอบ ฯลฯ ภูมิปัญญาเกี่ยวกับความเชื่อ ภูมิปัญญาเกี่ยวกับน้ำ และภูมิปัญญาเกี่ยวกับสัตว์เข้ามาใช้แบบผสมผสาน ส่วนภูมิปัญญาการทำเกษตรกรรม ชาวบ้านเริ่มด้วยการทำสวนมะพร้าวกับสวนชมพู่ ต่อมาขยายเพิ่มขึ้นด้วยการการปลูกกล้วย และผลไม้ โดยใช้ภูมิปัญญาการทำเกษตรแบบหลากหลาย การทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยว และการทำเกษตรแบบยกร่อง การสืบทอดภูมิปัญญาดังกล่าวยังคงรักษารูปแบบการทำประมงพื้นบ้านและการทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมเอาไว้ และขณะเดียวกัน มีแนวทางการสืบทอดภูมิปัญญา 4 แนวทาง คือ 1) แนวทางการรักษาภูมิปัญญา 2) การเผยแพร่ภูมิปัญญา 3) การถ่ายทอดภูมิปัญญา และ 4) การสร้างรูปแบบการอนุรักษ์ที่เหมาะสม แนวทางการสืบทอดภูมิปัญญาดังกล่าวเป็นแนวทางที่สามารถสร้างการพึ่งตนเองของชุมชน รวมทั้งสร้างความยั่งยืนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชุมชน และเป็นแนวทางในการป้องกันผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบัน This article aims to study the context of Ban Nikom community, occupational folk wisdom and guidance of transferring the occupational folk wisdom. The data were collected from field study methods including interview, formal and informal discussion and in - depth interview, participanting and non - participant observation, meeting and focus group, and survey their living, and occupational folk wisdom. The study found that most people immigrated from Nakhon Pathom, Ratchaburi, Phetchabun, Prachuap Khiri Khan, Nonthaburi and Kanchanaburi provinces. They located by KhunThale swamp while local Surat Thani people lived in highland. Both groups performed small - scale fisheries and agricultures which were inherited 100 years ago. In the past, people did fisheries with the tool called Saray and later on they used fishnet, cast net, fishhook, and fish - trap. In terms of agricultures, they first grew coconut and guava then rose apple, banana and many well-known southern fruits. In order to conserve the folk wisdom, the traditional small-scale fisheries and agricultures patterns have been preserved and transferred to outsiders and nearby communities. People in the communities have been motivated to conserve soil, water and forest resources which they believed that it resulted in stable occupation and community living in the midst of social change.

References

Aekawit Na Talang. (1997). Folk wisdom in Four Regions: Life style and Learning Process of Thai People. Bangkok: Kittimethi Project, Department of Education, Sukhothai Thammathirat Open University. (In Thai)

Anan Ganjanapan. (2001B). Community Dimension: Local Thinking on

Right, Power and Resource Management. Bangkok: Thailand

Research Fund. (In Thai)

Kanchana Kaewthep. (1995). Community Culture Development. Bangkok. Catholic Council of Thailand for Development. (In Thai)

Witoon Panyakoon. (2004). Fish lost? Causes and effects of over - fishing. Bangkok: Earth Net Foundation. (In Thai)

Interviews

Kesini Ruabkuab (Interviewee) Pongtep Keawsatean (Interviewer). at Ban Nikom, Moo 1, Khun Thale sub-district, Mueang district, Suratthani province. On 13th September 2016.

Peangtawan Saipopu (Interviewee) Pongtep Keawsatean (Interviewer). at Ban Nikom, Moo 1, Khun Thale sub-district, Mueang district, Suratthani province. On 15th September 2016.

Samreng Toonyodphan (Interviewee) Pongtep Keawsatean (Interviewer). at Ban Nikom, Moo 1, Khun Thale sub-district, Mueang district, Suratthani province. On 18th September 2016.

Samrit Ruabkuab (Interviewee) Pongtep Keawsatean (Interviewer). at Ban Nikom, Moo 1, Khun Thale sub-district, Mueang district, Suratthani province. On 15th September 2016.

Sa-ngeam Panchan (Interviewee) Pongtep Keawsatean (Interviewer). at Ban Nikom, Moo 1, Khun Thale sub-district, Mueang district, Suratthani province. On 13th September 2016.

Downloads

Published

2018-08-23

How to Cite

แก้วเสถียร พ. (2018). กแนวทางการสืบทอดภูมิปัญญาการประกอบอาชีพของชุมชนบ้านนิคม ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (Occupational Folk Wisdom Transfering of Ban Nikom Community, KhunThale Sub-district, Muang District, Suratthani Province). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 10(2), 285–316. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/927