พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม ศึกษาจากแนวคิดและชีวิตของ ติช นัท ฮันห์ (Socially Engaged Buddhism : from Principles and Life of Thich Nhat Hanh)

Authors

  • หิมพรรณ รักแต่งาม Suratthni Rajabhat University

Abstract

บท ความ “พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม ศึกษาจากแนวคิดและชีวิตของ ติช นัท ฮันห์” สะท้อนให้เห็นว่าประสบการณ์ชีวิตและบริบททางสังคมที่ ติช นัท ฮันห์ เผชิญล้วนมีผลต่อแนวคิด “พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม” ของท่านเป็นอันมาก เป็นต้นว่า การถือกำเนิดภายใต้อาณานิคม สงครามเวียดนาม การลี้ภัย ฐานคิดที่สำคัญของพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมคือการไม่อาจแบ่งแยกได้ระหว่าง ปัจเจก (individual) กับสังคมส่วนรวม (Society as Collective) ดังนี้แล้ว ในช่วงการลี้ภัยอันยาวนานของ ติช นัท ฮันห์ นับได้ว่าเป็นโอกาสในการบ่มเพาะพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมอย่างสำคัญในสองระดับ คือในระดับปัจเจก และในระดับการปรากฏเป็นรูปธรรมต่อสาธารณะ เพื่อปลุกจิตสำนึกของปัจเจกต่อส่วนรวม โดยในระดับที่สองนี้มีการนำเสนอในสามรูปแบบ ประกอบด้วย ๑)การนำเสนอแนวทางของพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมต่อองค์กรระหว่างประเทศ ตลอดจนนำเสนอแนวทางผ่านสื่อ ๒) การรวมกลุ่มของผู้ปฏิบัติหรือผู้เห็นด้วยกับการปฏิบัติตามแนวทางนี้เพื่อ แสดงเจตนารมณ์บางอย่าง เช่น การเดินเพื่อสันติภาพ (Peace Walk) และ ๓) การสอนการเจริญสติแก่ผู้มีอำนาจในการบริหารบ้านเมือง อย่างไรก็ตาม เส้นทางพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมตามแนวทางของ ติช นัท ฮันห์ ยังคงเผชิญหน้ากับความท้าทายแม้ในปัจจุบัน เช่น เหตุการณ์การบุกรุกวัดปรัชญา อันเป็นสาขาหนึ่งของหมู่บ้านพลัมที่ประเทศเวียดนาม ภิกษุภิกษุณีได้รับบาดเจ็บ และวัดต้องเป็นตัวลง เป็นต้น

The article “Socially Engaged Buddhism : from Principles and Life of
Thich Nhat Hanh” reflects that life experiences and social context, such as being born under French colonization, the Vietnam War, his exile, tremendously influenced the principles of Thich Nhat Hanh’s Socially Engaged Buddhism (SEM). The crucial foundation of SEM the undividedness between individuality and society as collective. Therefore, Thich Nhat Hanh’s long-time exile may be considered as an opportunity to nurture SEM in 2 different levels, the level of
individuality and the level of actions appeared to public which could awaken individual’s consciousness to public. There are 3 ways for actions taken in the second level; 1) to present SEM to international organizations and through publications, 2) the gathering together of SEM practitioners or those who agreed
upon the principles of SEM, such as peace walks and 3) the mindfulness teachings to those who are powerful in administration. However, the practices of SEM are, irrefutably, facing challenges even now. The situation when one of Plum Village temple in Vietnam, Bat Nha Temple, was trespassed, monks and nuns were injured, and the temple was forced close, was the sample of difficulties SEM has faced recently.

Downloads

Published

2014-11-26

How to Cite

รักแต่งาม ห. (2014). พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม ศึกษาจากแนวคิดและชีวิตของ ติช นัท ฮันห์ (Socially Engaged Buddhism : from Principles and Life of Thich Nhat Hanh). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 5(1), 39–88. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/94