การสื่อสารในการเผยแพร่ความรู้ทางการเมืองผ่านหนังตะลุง ของนายหนังประเคียง ระฆังทอง; The Communication of Political Information via Shadow Puppets of Shadow Puppet Master Prakieng Rakangtong

Authors

  • ปิยะตา สุนทรปิยะพันธ์
  • วิทยาธร ท่อแก้ว
  • สุภาภรณ์ ศรีดี
  • ชวน เพชรแก้ว

Keywords:

การสื่อสาร การเผยแพร่ความรู้ทางการเมือง หนังตะลุงประเคียง ระฆังทอง, Communication, Dissemination of political information, Shadow puppet, Prakieng Rakangtong

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาระสำคัญของหนังตะลุงประเคียง ระฆังทองในประเด็น 1) คุณลักษณะทางการสื่อสาร 2) เนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอ 3) ปัญหาการสื่อสาร 4) ความต้องการประเด็นเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอของผู้ชมในการเผยแพร่ความรู้ทางการเมือง และ 5) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารในการเผยแพร่ความรู้ทางการเมืองผ่านหนังตะลุง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การอภิปรายกลุ่มย่อย และการสังเกตการณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นายหนังประเคียง ระฆังทอง และกลุ่มผู้ชม จำนวน 24 คน นักวิชาการที่มีผลงานวิชาการเกี่ยวกับหนังตะลุง นายหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงซึ่งได้รับการยอมรับ และนักวิชาการด้านการสื่อสารการเมือง รวมแล้วจำนวน 6 คน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณลักษณะทางการสื่อสาร มีเจตคติที่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เชื่อมั่นในพลังของประชาชนที่เป็นเจ้าของอธิปไตย มีการวิเคราะห์ผู้ชมหนังตะลุงเพื่อให้เลือกสรรประเด็นเนื้อหาได้สอดคล้องกับผู้ชมและพื้นที่ที่ไปแสดง รูปแบบการนำเสนอใช้บทเจรจาในการนำเสนอเรื่องราวในลักษณะการโต้ตอบของตัวละครหรือใช้เทคนิคการโต้วาทีเป็นสำคัญ ทั้งนี้มีการถ่ายทอดเนื้อหาทางการเมืองผสมผสานกับความสนุกสนาน มีความใฝ่รู้ทางการเมืองด้วยตนเอง โดยเรียนรู้จากการติดตามข่าวสารบ้านเมืองและการแลกเปลี่ยนความรู้กับประชานในท้องถิ่น 2) ประเด็นเนื้อหาทางการเมืองมีความสอดคล้องกับปรากฏการณ์ทางการเมืองในแต่ละช่วงเวลา เน้นนโยบายการบริหารประเทศของรัฐบาลที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน พฤติกรรมการบริหารประเทศของชนชั้นปกครอง พฤติกรรมการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น การรักษาและคุ้มครองในสิทธิของประชาชน ความยุติธรรมในสังคม ปัญหาสังคมด้านต่าง ๆ และบทบาทหน้าที่ของประชาชนทางการเมือง ส่วนรูปแบบการนำเสนอใช้ 10 รูปแบบ โดยวิธีการหยิกแกมหยอกและวิจารณ์ข่าวสารเหตุการณ์บ้านเมืองเป็นหลัก 3) ปัญหาการสื่อสารที่สำคัญ คือ ผู้ชมบางส่วนยังขาดความรู้ทางการเมือง ขาดการมีประสบการณ์ร่วมทางการเมืองในช่วงเวลาเดียวกันกับนายหนัง ประเคียง 4) ความต้องการประเด็นเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอของผู้ชม ในส่วนของเนื้อหา เนื้อหาต้องมีความใกล้ตัวกับประชาชน อาทิ นโยบายความมั่นคงและการป้องกันประเทศ การแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชน การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชันของเจ้าหน้าที่ของรัฐและนักการเมืองฯลฯ สำหรับความต้องการด้านรูปแบบการนำเสนอของผู้ชมต้องให้ทั้งความรู้และความสนุกสนานโดยที่สามารถอธิบายรายละเอียดของเนื้อหาทางการเมืองในเรื่องที่ผู้ชมสนใจได้ และ 5) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร ในประเด็นนี้นายหนังตะลุงในฐานะผู้ส่งสารต้องมีอุดมการณ์และมีแบบแผนทางการเมือง เห็นถึงคุณค่าการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ต้องมีการวิเคราะห์ผู้ชมด้านระดับความรู้ ความคิด หรือความเชื่อ ค่านิยมทางการเมือง และวัฒนธรรมทางการเมืองของผู้ชมในแต่ละท้องถิ่น เรียนรู้ในการพัฒนาความสามารถเลือกสรรประเด็นเนื้อหาทางการเมืองในแต่ละช่วงเวลา มีการพัฒนารูปแบบการนำเสนอให้สอดคล้องกับรสนิยมของผู้ชมรุ่นใหม่ พัฒนาเทคนิคการนำเสนอการขับร้องตามบทร้อยกรอง บทเจรจาของตัวละคร มีการเพิ่มตัวละครใหม่ๆ ที่มีความหลากหลายและทันยุคสมัย และมีการใช้ดนตรีสมัยใหม่ผสมกับดนตรีดั้งเดิมของคณะหนังตะลุง This research aims to study: 1) characteristics of communication; 2) content and modes of presentation; 3) problems with the communication; 4) shadow plays. This research is a qualitative research study. Data was analyzed from in-depth interviews, group discussions, and observation. The main contributors were Mr. Prakieng Rakangtong, 24 audience members, and academic people who work with shadow puppets, famous shadow puppet performers, and 6 academic people working in political communication. The findings were as follows. 1) Characteristics of communication were; respect Buddhism, and democracy, believe in the power of the people, considered the audience, chose suitable content and environment, used narrative to present the story as a character interaction or use debating techniques, political content blends with fun, have self-interest in politics, learning to follow the news and exchange knowledge with local people. 2) Content and modes of presentation fit with current political events focused on administrative policies that affected the people’s wellbeing, administrative behavior, social issues and role of population. The presentation format uses 10 formats. Modes of presentation included mocking and satirizing and were mainly about situations in the country. 3) Problems with the communication were lack of audience political knowledge and experience similar to the performer. 4) Audience’s demand about national security and defense policy, economic problems, generating income, reform in politics and government by informative presentation that combines fun through puppets. 5) Approaches for developing communication were; a politically knowledgeable and idealistic puppet master realized about the value of democracy, considered audiences’ knowledge, thinking, or beliefs, political values, and political cultures of audience in the community. Presentation methods should be updated for new generation viewers including poetry and dialogue singing techniques and modern new characters and modern music. Keywords: Communication, Dissemination of political information, Shadow puppet, Prakieng Rakangtong

References

Auntrongjit. (2007). Political Science. Bangkok: Chulalongkorn University

Press.

Boontip, K., (1997). An analysis of the substance from the shadow clown. Master of Communication Arts - Not

Chaikaew, S., (2005). The political role of local media. (In progress, not published). Kasetsart University, Bangkok.

Charus, C., (2005). Local wisdom appeared in the shadow play. Faculty of

Humanities and Social Sciences, 1 (1), 1-25.

Damsri, W., (2005). View Profile to study the culture of the community. Nakhon Si Thammarat Special Issue Month Ten, 1 (1), 48.

John Hasling. (1998). Audience Message Speaker. (6th edition). New York: Foothill College.

Knabkeaw, K., (1998). The study of villagers' folk wisdom in shadow play. Faculty of Humanities and Social Sciences Rajabhat Institute Songkhla.

Knabkeaw, K., (2005). Analysis wisdom to use Southern Thai words, Thai idioms appear in the shadow play of Chin Aonmut. Songkhla: Faculty of Humanities and Social Sciences Songkhla Rajabhat University.

Nakkaray, P., (2005). Guidelines for promotion of shadow play for teenagers in Songkhla Province. (Unpublished Master Thesis). Thammasat University, Bangkok

Narongrat, R., (2005). Media with the modification of folk media shadow play. (Unpublished Master of Communication Arts). Chulalongkorn University, Bangkok.

Posita, C., (2009). Science and art of qualitative research. Bangkok: Amarin Printing & Publishing.

Sumtawanich. (1977). Politics and Administration. Faculty of Political

Science, Chulalongkorn University.

Suppakarn, C., (1997). Describing identity in a virtual community. (Master of Communication Arts Not published). Chulalongkorn University, Bangkok.

Theeravin, L., (2003). The evolution of Thai politics. Bangkok: Thammasat University Press.

Wikipedia. (n.d.). Sovereignty. Retrieved on October 13, 2016 from http://en.wikipedia.org/wiki/vereignty.

Yootong, C., (2009). What will we do?. Thaksin Education Institute, Thaksin University.

Interviews

Asawin Netpokaew (Interviewee) Piyata Soontornpiyaphan (Interviewer). at

the School of Communication Arts National Institute of

Development Administration, Bangkok. On 6th October 2017.

Boontham Therdkiatchart. (Interviewee) Piyata Soontornpiyaphan

(Interviewer). at the library of Nakhon Si Thammarat Rajabhat

University, Nakhonsithammarat. On 10th October 2017.

Jaroon Yootong (Interviewee) Piyata Soontornpiyaphan (Interviewer). at the

Institute for Southern Thai Studies Thaksin University, Songkha. On

th September 2017.

Khajorn Faites. (Interviewee) Piyata Soontornpiyaphan (Interviewer). at the

School of Communication Arts in Kasetsart University, Bangkok. On

st September 2017.

Kieng Rakangtong (Interviewee) Piyata Soontornpiyaphan (Interviewer). at the

library of Suratthani Rajabhat University, Suratthani. On 15th March

Mitree Juntra. (Interviewee) Piyata Soontornpiyaphan (Interviewer). at the

Graduate School of Nakhon Si Thammarat Rajabhat University,

Nakhonsithammarat. On 25th September 2017.

Pittaya Bussararut. (Interviewee) Piyata Soontornpiyaphan (Interviewer). at

the library of Nakhonsithammarat, Nakhonsithammarat. On 3rd

September 2017.

Downloads

Published

2018-11-07

How to Cite

สุนทรปิยะพันธ์ ป., ท่อแก้ว ว., ศรีดี ส., & เพชรแก้ว ช. (2018). การสื่อสารในการเผยแพร่ความรู้ทางการเมืองผ่านหนังตะลุง ของนายหนังประเคียง ระฆังทอง; The Communication of Political Information via Shadow Puppets of Shadow Puppet Master Prakieng Rakangtong. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 10(3), 233–256. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/970